การออกแบบและก่อสร้างอาคารแต่ละประเภทล้วนต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยและพำนักอยู่ในอาคารนั้น ๆ ยิ่งอาคารขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่การจอดรถหรือมีเส้นทางไว้ให้รถยนต์สัญจรก็ยิ่งถูกควบคุมโดยกฎหมายอย่างรัดกุม ทั้งนี้เพื่อสร้างความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้ขับขี่ยานพาหนะชนิดต่าง ๆ และผู้คนที่ต้องเดินทางสัญจรภายในอาคารด้วย ซึ่งทางร้านไทยจราจรขอนำเสนอกฎหมายที่ควบคุมให้อาคารประเภทต่าง ๆ จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์การจราจรเอาไว้ดังต่อไปนี้
1.พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกใช้ควบคุมอาคารทุกประเภทที่ถูกก่อสร้างขึ้นมาแล้ว หรือกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ เพราะจะต้องมีการยื่นเรื่องขออนุญาตกับหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเสียก่อนจึงจะสามารถก่อสร้างอาคารขึ้นมาได้ ซึ่งรายละเอียดของกฎหมายจะครอบคลุมทั้งโครงสร้างอาคารที่ต้องแข็งแรง ปลอดภัย การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างระบบน้ำ แสงไฟ ห้องน้ำ และทางหนีไฟให้เพียงพอกับการใช้งานของผู้ที่พักอาศัยอยู่ภายในอาคาร รวมทั้งการอำนวยความสะดวกให้กับระบบการจราจรภายในอาคารด้วย ดังนั้นภายในอาคารจึงควรติดตั้งป้ายจราจรที่เพียงพอกับการควบคุมให้การจราจรภายในอาคารมีความคล่องตัวและถูกต้องได้
2.ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เนื่องจากกรุงเทพมหานครถือเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ จึงได้มีการอออกพระราชบัญญัติเพื่อจัดระเบียบการปกครอง และเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยในรายละเอียดกฎหมายจะระบุถึงวิธีและแนวทางในการก่อสร้างอาคารให้ตรงตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ซึ่งรวมไปถึงการดำเนินการในกรณีที่ต้องการต่อเติมหรือซ่อมแซมโครงสร้างอาคารด้วย ทั้งนี้ภายในข้อบัญญัติยังระบุระยะห่างของอาคารกับถนนสาธารณะ การเว้นช่องว่างระหว่างอาคาร รวมถึงการการควบคุมอาคารจอดรถ ที่กลับรถ หรือทางเข้าออกของอาคารด้วย ทางอาคารจึงควรทาสีจราจรลงบนถนนในอาคารอย่างเหมาะสม เพื่อให้มีการแบ่งเลนและทำลูกศรแจ้งทิศทางการขับเคลื่อนรถให้ผู้ที่พักอาศัยภายในอาคารทราบ
3.พระราชบัญญัติการจราจรทางบก เป็นกฎหมายที่ออกเพื่อควบคุมการสัญจรทางบกไม่ว่าด้วยยานพาหนะใดก็ตามอย่างปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญกับผู้ร่วมสัญจรบนท้องถนน แต่อำนาจควบคุมการจราจรในกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้กล่าวเฉพาะการจราจรในทางหลวงหรือทางสาธารณะเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงทางเข้าออกของอาคารที่จะส่งผลถึงการจราจรบนทางสาธารณะด้วย อย่างการห้ามจอดรถในบริเวณพื้นที่เข้าออกอาคาร จึงจำเป็นต้องติดป้ายห้ามจอดเอาไว้เพื่อแจ้งและป้องกันการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
4.กฎกระทรวงฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2537) เป็นกฎหมายลูกของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร โดยรายละเอียดของกฎหมายจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมสถานที่จอดรถ ตั้งแต่การกำหนดแนวให้รถสามารถจอดได้โดยไม่กีดขวางการสัญจรของผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ รวมถึงความสูงของอาคารจอดรถที่เหมาะสมอีกด้วย ซึ่งการกำหนดแนวการจอดรถให้ถูกต้องตามกฎหมายสามารถแสดงให้ผู้จอดรถเห็นได้ชัดเจนด้วยสีสำหรับทำสัญลักษณ์บนพื้นผิวถนนสำหรับจอดรถได้
5.กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา เป็นกฎหมายที่ออกเพื่อให้อาคารสถานที่ต่าง ๆ ต้องจัดเตรียมทางเดินหรือสิ่งอำนวยความสะดวกลักษณะเฉพาะให้กับผู้พิการซึ่งไม่สามารถเดินเหินได้สะดวกเหมือนคนทั่วไปได้ โดยเฉพาะสถานที่จอดรถที่ควรจัดเตรียมสำหรับผู้พิการไว้โดยเฉพาะ ด้วยการติดตั้งป้ายช่องจอดรถคนพิการที่เห็นได้ชัดเจนเอาไว้
6.กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ทั้งระยะห่างของพื้นที่ว่างที่ต้องเว้นให้รถผ่านสัญจร มาตรฐานกรณีที่มีการสร้างสะพานสำหรับรถยนต์ภายในบริเวณพื้นที่ของอาคาร ซึ่งการแบ่งเลนให้มีขนาดเหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนดสามารถควบคุมได้ด้วยแผงกั้นจราจร
7.กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) เป็นกฎหมายที่ควบคุมการใช้พื้นที่ว่างเพื่อการจอดรถภายในอาคารประเภทต่างๆ ซึ่งหากอยู่ภายในอาคารปิดควรมีการติดตั้งระบบระบายอากาศที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายกับผู้เข้าไปจอดรถได้และต้องทำงานได้ตลอดเวลาด้วย
8.พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดเรียบร้อยของบ้านเมือง เป็นกฎหมายที่ควบคุมการจอดรถในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น ห้ามขับขี่ภายในพื้นที่ควบคุม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งสามารถควบคุมได้โดยการติดตั้งป้ายห้ามผ่าน หรือห้ามจอดรถเอาไว้
9.พระราชบัญญัติทางหลวง ซึ่งควบคุมทางเข้าออกของอาคารประเภทต่าง ๆ ที่จะเข้าหรือออกมายังพื้นที่ทางหลวงได้โดยตรง อาคารที่มีรถยนต์ไม่มาก อย่างปั๊มน้ำมันควรมีระยะห่างจากทางหลวงไม่น้อยกว่า 15 เมตร แต่หากเป็นอาคารขนาดใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า ระยะห่างควรไม่น้อยกว่า 50 เมตร เป็นต้น
10.กฎกระทรวงฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2540) เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อควบคุมอาคารสูงหรือมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องมีการเว้นระยะห่างให้รถยนต์สามารถวิ่งได้ไม่น้อยกว่า 6 เมตร เผื่อไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินอย่างเหตุไฟไหม้แล้วรถดับเพลิงสามารถเข้าไประงับเหตุได้ทันท่วงทีนั่นเอง
ด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ทางร้านไทยจราจรจึงขอแนะนำให้เจ้าของอาคารสถานที่ทุกแห่งปฏิบัติให้ถูกต้องตามรายละเอียดที่กฎหมายกำหนด ด้วยการใช้อุปกรณ์จราจรอย่างเหมาะสม ทั้งป้ายแสดงแนวทางการสัญจร หรือเตือนการห้ามจอดและห้ามผ่านเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ยวดยานพาหนะของอาคารไปกีดขวางเส้นทางสาธารณะ และยังรวมถึงความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกให้การจราจรภายในอาคารคล่องตัวและปลอดภัยกับผู้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคารทุกคนอีกด้วย
Block "content-bottom" not found