10 เรื่องอันตรายในคลังสินค้า ที่ต้องเพิ่มความปลอดภัยด้วยอุปกรณ์เหล่านี้

                                               คลังสินค้าส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยเครื่องจักรกล อุปกรณ์ขนาดใหญ่ ระบบไฟฟ้าที่มีความซับซ้อน หรือจะเป็นสารเคมีต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรงนำความสูญเสียมากมายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน มาตรฐานความปลอดภัยจึงนับเป็นความสำคัญลำดับต้น ๆ ที่เจ้าของกิจการควรคำนึงถึง

                               ในโกดังสินค้า หรือ คลังสินค้า โดยเฉพาะคลังสินค้าที่มีการจัดเก็บสินค้าอันตราย นอกจากจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายต่อตัวสินค้าหรือเกิดได้น้อยที่สุดแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ก็คือความปลอดภัยของพนักงานและคลังสินค้านั่นเอง ดังนั้น มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยแก่พนักงานและสิ่งแวดล้อมโดยรอบของคลังสินค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการดำเนินการอย่างเข้มงวดรัดกุม

 

 

เรื่องอันตรายในคลังสินค้า ที่ต้องเพิ่มความปลอดภัยด้วยอุปกรณ์เหล่านี้

                      วันนี้ร้านไทยจราจรพามาดู 10 เรื่องอันตรายที่มักพบเจอบ่อยที่สุดในคลังสินค้า และ วิธีลดอุบัติเหตุ ด้วยการเพิ่มอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยเหล่านี้เพื่อนำไปปรับใช้กับคลังสินค้าของคุณ มาดูกันว่ามีเรื่องใดที่ต้องระมัดระวังบ้าง

  • อุบัติเหตุที่เกิดจากรถโฟล์คลิฟท์

อุบัติเหตุที่เกิดจากรถโฟล์คลิฟท์ หรือ รถยก สิ่งอันตรายอันดับต้น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในคลังสินค้าที่พบบ่อยสุด คือ ขับชนเพื่อนคนงาน คนขับมองไม่เห็นสิ่งที่ขวางกั้น บรรทุกของเกินไปจนเกิดการตกหล่นใส่เพื่อนพนักงาน บางคนกระดูกหัก เกิดรอยฟกช้ำ รุนแรงสุดถึงขั้นเสียชีวิต

 

 

แนวทางการป้องกันช่วยลดอุบัติเหตุ

  • พนักงานขับมีสติ ไม่ประมาท

แนวทางแรกที่จะช่วยลดอุบัติเหตุคือ ผู้ที่นั่งอยู่บนรถโฟล์คลิฟท์ คนขับรถต้องมีสติและระมัดระวังอยู่เสมอ เพราะถ้าคนขับรถไม่มีสติ เหม่อลอยเมื่อไหร่ เหตุการณ์อันตรายจะเกิดขึ้นทันที

  • เพิ่มสัญญาณเตือน

การขาดสัญญาณเตือนอาจเป็นปัญหา เพิ่มสัญญาณเตือนด้วยไฟเตือนรถโฟล์คลิฟท์

  • กำหนดพื้นที่การวิ่งของรถอย่างชัดเจน

ติดเทปสะท้อนแสงแสดงพื้นที่ให้คนเดินทราบได้ชัดเจนว่าเป็นบริเวณรถโฟล์คลิฟท์ใช้วิ่ง

 

 

กรวยจราจร สามารถนำมาเสริมความปลอดภัยในคลังสินค้าได้ นำมากั้นพื้นที่จัดเก็บสินค้า หรือพื้นที่ที่กำลังใช้รถขนส่งส่งสินค้าอยู่ ใช้วางเพื่อควบคุมเส้นทางสัญจรของรถยก สามารถเลือกขนาดเพื่อใช้งานได้ตามความเหมาะสมของขนาดรถยก เคลื่อนย้ายได้สะดวก

  1. อุบัติเหตุที่เกิดจากจุดโหลด Loading Dock

จุดอันตรายหากไม่ระวังอาจเกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้นได้ ขั้นตอนการ Loading หากไม่ระวังอาจเกิดการตก การร่วงลงของสินค้าจากพื้นที่โหลด เลวร้ายกว่านั้น คือ ร่างถูกตรึงหรือบดระหว่างรถยกและแท่นบรรทุกสินค้า

 

แนวทางการป้องกันช่วยลดอุบัติเหตุ

 

 

  • พนักงานขับรถยกต้องมีสติ ใส่ใจตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางบนจุดโหลด 
  • มีอุปกรณ์ป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงระหว่างเคลื่อนย้ายสินค้า เช่น ตัวหยุดล้อ ยางกันกระแทก
  • ควรติดตั้ง Ramp หรือ ทางลาด เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า
  • อุบัติเหตุที่เกิดจาก สายพานลำเลียง

                                               สายพานลำเลียง เป็นขั้นตอนที่ใช้ขนส่งสินค้า มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งหากขาดความรอบคอบและขาดอุปกรณ์ Safety เรามักจะเห็นข่าวอยู่บ่อยครั้งที่คนงานประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับสายพานลำเลียง อุบัติเหตุที่มักพบเจอได้บ่อย เช่น ร่างไปติดกับสายพานลำเลียง การถูกของล้มทับจากการตกหล่นจากสายพานลำเลียง

 

 

แนวทางการป้องกันช่วยลดอุบัติเหตุ

  • ติด ป้ายเตือน ข้อควรระมัดระวังต่าง ๆ ที่อาจเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุ
  • ไม่ทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น นั่ง ปีนป่าย เดิน บนสายพานลำเลียง
  • ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา
  • อุบัติเหตุที่เกิดจาก การวางของบนชั้นวาง

                     การวางของบนชั้นวางอาจทำให้เศษพาเลทร่วงลงมาบ้าง หรือ ชิ้นส่วนของวัตถุดิบที่อยู่บนชั้นวางร่วงลงมาอาจจะเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่วัสดุที่ตกลงมาจากที่สูงถึงแม้จะเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้

 

 

แนวทางการป้องกันช่วยลดอุบัติเหตุ

  • ใช้ ตาข่ายพลาสติก หรือ รั้วตาข่าย สำหรับรองรับน้ำหนักของสิ่งของต่าง ๆ ในบริเวณที่จำเป็นต้องใช้ส่วนรองรับที่เข็งแรง
  • ตรวจสอบสภาพของชั้นวางพาเลทเป็นประจำ หากพบว่าชำรุดเสียหาย ควรเปลี่ยนทันที
  • ติดตั้งการ์ดป้องกันเสาชั้นวางที่ทำจากเหล็กคุณภาพ ช่วยป้องกันไม่ให้โครงชั้นวางถล่มได้
  • อุบัติเหตุที่เกิดจาก การจัดเก็บสินค้า-วัสดุ

                                 ปัญหาที่พบเจอบ่อย ๆ ในการจัดเก็บสินค้า คือ การวางสินค้าเกะกะขวางทางเดินทำให้เกิดการสะดุดล้ม เคลื่อนย้ายสินค้าไม่สะดวก และอีกหนึ่งปัญหาคือ จัดวางสินค้าทับซ้อนกันสูงเกินไป เกินกว่าที่ชั้นวางจะรับน้ำหนักได้ อาจทำให้สินค้าล้มลงมาแตกกระจาย เกิดความเสียหายและโดนคนงานได้รับบาดเจ็บ

 

 

แนวทางการป้องกันช่วยลดอุบัติเหตุ

  • ดูแล เก็บกวาดทางเดินให้ชัดเจน ไม่วางของเกะกะทางเดิน
  • ควรวางโหลดสินค้าให้กระจายน้ำหนักสม่ำเสมอ
  • อุบัติเหตุที่เกิดจาก การขนย้าย หรือยกสินค้าด้วยคน

          การใช้กำลังคนในการขนย้ายสินค้าที่มีน้ำหนักมาก อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนงานได้ ทางที่ดีควรใช้อุปกรณ์ในการขนย้ายสินค้าเป็นการช่วยทุ่นแรง สะดวกและรวดเร็ว

 

 

แนวทางการป้องกันช่วยลดอุบัติเหตุ

  • ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการขนย้าย เช่น รถเข็น ขนย้ายสินค้าที่มีน้ำหนักมากได้สะดวกและรวดเร็ว
  • หากเป็นสิ่งของที่ยกด้วยคนได้ ควรใช้ท่ายกที่เหมาะสมและใช้ท่าที่ถูกวิธี
  • อุบัติเหตุที่เกิดจากเพลิงไหม้

                  อุบัติเหตุเพลิงไหม้เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดทั้ง ผู้ประกอบการ พนักงาน คลังสินค้าและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ คลังสินค้า หากไม่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้อาจส่งผลไปถึงแหล่งชุมชนรอบ ๆ เกิดความเสียหายรุนแรง

 

 

แนวทางการป้องกันช่วยลดอุบัติเหตุ

  • วางแผนขั้นตอนการป้องกันอัคคีภัย อบรมพนักงานเพื่อรับมือกับเหตุการณ์เพลิงไหม้
  • จัดเตรียมเครื่องมือในการป้องกันอัคคีภัย เช่น ถังดับเพลิง หัวกระจายน้ำ และระบบตรวจจับอัคคีภัยแบบอัตโนมัติ
  • การจัดระเบียบสถานที่ให้เป็นสัดส่วนและเหมาะสมเป็นสามัญสำนึกพื้นฐานของการป้องกันไฟไหม้คลังสินค้า เพราะการจัดเก็บสินค้าที่ไม่เป็นระเบียบสัดส่วนเป็นปัจจัยก่อเกิดความเสี่ยงไฟไหม้ได้ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ปิดทางเข้าออก ทำให้หนีออกไปได้ยากเมื่อเกิดเพลิงไหม้ คลังสินค้าที่แออัดทำให้เพลิงขยายวงกว้าง ควบคุมได้ยาก
  • หมั่นตรวจสอบระบบไฟฟ้า เครื่องจักร และระบบทำความร้อน
  • หมั่นกำจัดขยะ การสะสมขยะในโรงงานจะเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ทางที่ดีสถานที่กำจัดขยะควรอยู่ให้ห่างจากโรงงาน หรือคลังสินค้าไม่น้อยกว่า 10 เมตร ถ้าหากสถานที่ไม่เอื้ออำนวยให้คุณกำจัดขยะหรือไม่ได้รับอนุญาตให้กำจัดขยะประเภทนี้ ควรเก็บขยะใน ถังขยะ ที่เป็นตู้โลหะล็อกได้ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากคลังสินค้าอย่างเหมาะสม

 

 

  • อุบัติเหตุที่เกิดจากสารเคมี

                   อันตรายจากสารคมี ในการจัดการกับสารเคมีอันตรายในคลังสินค้าควรมีการจัดอบรมบอกให้ทราบถึงอันตรายของสารเคมี การจัดการที่เหมาะสม การจัดเก็บ และการกำจัดสารเคมีที่ถูกวิธี เพื่อให้พนักงานมีความรู้ที่ถูกต้องและทราบถึงการปฏิบัติตน สิ่งไหนควรหรือไม่ควรทำ สิ่งไหนควรหลีกเลี่ยง

 

แนวทางการป้องกันช่วยลดอุบัติเหตุ

  • จัดอบรมความรู้ให้แก่คนงานให้ทราบถึงอันตรายจากสารเคมี 
  • ติด ป้ายเตือน บริเวณที่เป็นพื้นที่จัดเก็บสารเคมีอันตราย
  • อุบัติเหตุที่เกิดจากคนนอกเข้าใช้งานคลังสินค้า

 

 

                                         อุบัติเหตุอาจเกิดจากคนนอกที่เข้าคลังสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต และขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่ระวังตัวอาจจะเดินไปชนโน่นชนนี่จนเกิดความเสียหาย หรือเดินเข้าไปในพื้นที่ที่มีเครื่องจักรกลกำลังทำงาน

 

แนวทางการป้องกันช่วยลดอุบัติเหตุ

  • ควรมีการจัดระเบียบการเข้าใช้คลังสินค้าตามจุดต่าง ๆ มีการแบ่งช่วงเวลาการเข้า หากเป็นเวลาที่มีการใช้สารอันตราย คนที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ควรเข้าไป
  • ควรติดป้ายเซฟตี้เขตหวงห้ามชนิดเคลื่อนที่ไว้ปิดทางกั้นไม่ให้คนเข้าไปเมื่อเป็นเวลาหวงห้าม เช่น เวลาจัดเตรียมสารอันตราย หรือเวลาเคลื่อนย้ายสินค้าไปตามจุดต่าง ๆ 
  • อุบัติเหตุที่เกิดจากตัวคนงานขาดความเข้าใจ

 

 

คนงานขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของความปลอดภัยภายในคลังสินค้า ทำให้ปฏิบัติตนไม่ถูกวิธี

 

แนวทางการป้องกันช่วยลดอุบัติเหตุ

  • จัดอบรมเรื่องอุปกรณ์เซฟตี้ให้กับคนงาน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับป้ายต่าง ๆ หรือความรู้ที่ต้องมีไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
  • ปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานแต่ละคนให้ความร่วมมือใช้คลังสินค้าอย่างระมัดระวัง และช่วยเหลือกันในยามฉุกเฉิน

                                 การเพิ่มความปลอดภัยให้กับคลังสินค้าไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณอยากเพิ่มอุปกรณ์เซฟตี้ให้กับคลังสินค้าและพนักงานของคุณ สามารถเข้ามาพูดคุยหรือปรึกษากับพวกเราได้ที่ ร้านไทยจราจร แหล่งศูนย์รวมอุปกรณ์จราจรและอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่ครบวงจรมากที่สุดของประเทศไทย พวกเราพร้อมและยินดีให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าทุกท่าน

 

ที่มาข้อมูล