สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ หรือเป็นผู้เดินสัญจรก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายจราจร ซึ่งฉบับหลักที่เกี่ยวข้องกับพวกเราอย่างมาก คือ พ.ร.บ. การจราจรทางบก ปี 2522
ซึ่ง ร้านไทยจราจรเห็นว่ามีอยู่มากถึง 10 เหตุผล ที่เรามักละเลยจนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจับ เรามาทบทวนกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
- การที่ผู้ขับขี่รถยนต์และรถมอเตอร์ไซด์ส่วนบุคคลละเลย สัญญาณไฟกระพริบ สีแดง ซึ่งเป็นการสื่อสารที่หมายถึง “ให้หยุด” รถหลังเส้นที่ตีขวางถนนไว้ ซึ่งจะเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูงต่ออุบัติภัย และต้องเหลียวซ้ายมองขวาก่อนจะใส่เกียร์เดินหน้าเหยียบคันเร่งไปต่อได้ หากฝ่าฝืนกฎจราจรข้อนี้ ก็จะถูกเรียกค่าปรับได้ไม่เกิน 1,000 บาท
ทั้งนี้ ให้สังเกตว่า ถ้า สัญญาณไฟกระพริบ สีเหลือง นั้นไม่ต้องหยุด แต่ให้แตะเบรคชะลอความเร็วของรถยนต์และรถมอเตอร์ไซด์ลง แล้วค่อย ๆ เคลื่อนรถผ่านไปอย่างระวัง
- ป้ายจราจร ให้ “หยุด” เป็นป้ายทรงแปดเหลี่ยมสีแดง ตัวอักษรสีขาว ที่ต้องการสื่อสารกับผู้ขับขี่เช่นเดียวกับข้อแรก หรือ สัญญาณไฟกระพริบ สีแดง เพื่อให้จอดรถรอให้คนที่สัญจรไปมา และรถที่แล่นขวางหน้าเคลื่อนตัวผ่านไปก่อน จึงจะค่อยเหยียบเบรคไปต่อได้ หากฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรเช่นนี้ ก็มีโทษปรับ 1,000 บาท เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้จะมีโทษปรับเท่ากัน ในกรณีที่ผู้ขับขี่รถยนต์และรถมอเตอร์ไซด์ไม่ทำตาม หรือฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สั่งให้ “จอดรถ” หรือ ให้ “หยุด” เพื่อตรวจค้น เช่น ตรวจดูการหมดอายุของใบขับขี่รถยนต์ การตรวจดูการต่อภาษีรถยนต์ หรือการตรวจวัดแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด เพื่อลดอุบัติภัยจากเมาแล้วขับ ฯลฯ
- ป้ายจราจร “ห้ามกลับรถ” เป็นการส่งสัญญาณว่า ห้ามใช้พื้นที่ว่างบนช่องทางจราจรบริเวณนั้น ๆ กลับ หรือยูเทิร์นรถโดยเด็ดขาด เพราะเป็นจุดที่วิสัยทัศน์ไม่ดี หรือเสี่ยงต่อรถที่สวนมาด้วยความเร็วสูง ทำให้มักเกิดอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ซึ่งหลายจุดจะมีการติดตั้ง แบริเออร์ หรือ แผงกั้นจราจรบรรจุน้ำ เพื่อเป็นการขวางไว้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นจุดสังเกตให้ระวังอุบัติเหตุได้ดียิ่งขึ้นจากสีส้มสะท้อน
- การฝ่าฝืน ป้ายจราจร “ห้ามจอด” เป็นเหตุผลหลักที่ตำรวจจราจรต้องออกใบสั่ง มีค่าปรับไม่เกิน 500 บาท หรือถูกล็อคล้อรถยนต์ด้วย ที่ล็อคล้อรถ ซึ่งทำให้เสียเวลาต้องไปจ่ายค่าปรับและปลดล็อคอีกด้วย
5.กรณีรถบรรทุก หรือรถใหญ่ที่มีการใส่สิ่งของต่าง ๆ จนความยาวยื่นออกมาทางด้านหลัง แล้วไม่ได้ติด ธงแดง สำหรับให้ผู้ขับขี่คันอื่นสังเกตเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ก็ทำให้ถูกตำรวจจราจรเรียกปรับได้ ในอัตราไม่เกิน 1,000 บาท
6.การขับขี่รถในขณะมึนเมา หรือที่เรียกกันติดปากว่า “เมาแล้วขับ” ทำให้เป็นภัยทั้งต่อตนเองและผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน จะต้องถูกโทษปรับ 500 บาท ทั้งนี้แนะนำว่า หากมีจุดตั้งด่านตรวจ โดยสังเกตที่ ไฟหมุน หรือ ไฟไซเรน ที่ติดกับ แผงกั้นจราจร หรือ ป้ายไฟหยุดตรวจ ควรให้ความร่วมมือในการตรวจวัดแอลกอฮอล์ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และยังได้พักก่อนที่จะไปเพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุบนท้องถนนด้วย
7.การขับรถช้า แต่ชิดด้านขวา ทำให้เกิดการขวางรถที่วิ่งด้วยความเร็วสูง และยังทำให้คันอื่นต้องเบี่ยงซ้าย ซึ่งเป็นข้อห้ามทางกฎหมายด้วย จึงเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ถูกตำรวจจราจรปรับ 200-500 บาท
8.สำหรับปัญหาบนฟุตบาทหรือบาทวิถี ที่เป็นประเด็นขึ้นหน้าข่าวอยู่บ่อย ๆ คือการที่มีรถมอเตอร์ไซด์ขับบนทางเท้า เพื่อย้อนศรและหลีกเลี่ยงปัญหารถติด แบบนี้เรียกได้ว่าเป็นความเสี่ยงที่นอกจากจะเกิดอุบัติเหตุตัวตัวเองแล้ว ยังทำให้ผู้เดินถนนได้รับอันตรายด้วย กรณีนี้ จะถูกปรับ 400-1000 บาท นอกจากนี้การจอดรถหรือหยุดรถบนบาทวิถีก็มีความผิด ถูกปรับไม่เกิน 500 บาทเช่นกัน
9.การจอดรถในจุดเสี่ยงต่ออุบัติภัย เช่น การจอดชิดเลนซ้าย แต่ไม่เปิดสัญญาณไฟกระพริบหรือไม่เปิดไฟหรี่ จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนจากรถคันอื่นมองไม่เห็นรถที่จอดอยู่ในระยะ 150 เมตร ก็จะต้องถูกตำรวจปรับ 200-500 บาท ตามระเบียบ
10.การขับขี่มอเตอร์ไซด์แล้วไม่สวมใส่หมวกกันน็อคหรือหมวกนิรภัย จะถูกตำรวจเรียกปรับไม่เกิน 500 บาท โดยกฎหมายจะแยกเป็นสองกรณี คือ ผู้ขับขี่ก็ได้รับโทษ และผู้โดยสารรถมอเตอร์ไซด์ก็ได้รับโทษปรับอัตราเดียวกัน ทั้งนี้กฎหมายอนุโลมเฉพาะพระภิกษุสามเณรหรือนักบวชที่ไม่ต้องสวมหมวกกันน็อคได้
จะเห็นได้ว่าทั้ง 10 เหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสิ่งที่เราเองก็พบเห็นได้บ่อยในระหว่างเส้นทางการใช้ถนนทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ดังนั้นในฐานะที่เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้ถนนร่วมกัน หากพบความผิดปกติหรือการกระทำที่ผิดกฎหมาย ควรแจ้งตำรวจจราจรที่ ป้อมตำรวจ ที่ใกล้ที่สุด เพื่อช่วยกันลดอุบัติภัยบนท้องถนน
ร้านไทยจราจร ขอให้ทุกท่านใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อสวัสดิภาพในการขับขี่ตลอดปี หากท่านสนใจสินค้าคุณภาพเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่และการจราจร เชิญชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ www.trafficthai.com
Block "content-bottom" not found