4 ขั้นตอนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

การสำเร็จขององค์กรใดองค์กรหนึ่งไม่ได้ดูเฉพาะแต่ผลประกอบการและรายได้ที่ไหลเข้าบริษัทเท่านั้น แต่หมายรวมถึงความปลอดภัยในองค์กรด้วย เพราะหากสมาชิกในองค์กรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย ไม่เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในระหว่างการทำงาน นอกจากนั้นยังมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลในองค์กร ทำให้สามารถทำงานได้อย่างปกติสุขทั้งกายและใจ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคือ วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

เมื่อพูดถึงความหมายของ วัฒนธรรมความปลอดภัย หรือ Safety Culture ซึ่งมีความหมายว่า พฤติกรรมของคนในสังคม ที่แสดงถึงลักษณะและทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย การดำเนินชีวิตที่ดี และการทำงานที่ดี ดังนั้น ร้านไทยจราจร จึงคิดว่าวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร จึงน่าจะหมายถึง การสร้างจิตสำนึกและการตระหนักรู้ถึงความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในองค์กร การดำเนินชีวิตที่ดีในองค์กร และการทำงานที่มีความปลอดภัยภายในองค์กร ซึ่งทั้ง 3 อย่างที่กล่าวมานั้นต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกฝ่ายในองค์กรร่วมมือกันจึงจะทำให้เกิดขึ้นภายในองค์กรได้

 

สำหรับการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรนั้นต้องอาศัยความร่วมมือกันของหลาย ๆ ฝ่ายตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ระดับหัวหน้างาน และระดับบุคคล ซึ่งแต่ละคนจะมีบทบาทและหน้าที่ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของเป้าหมายแตกต่างกันออกไป ยิ่งหากธุรกิจเกี่ยวข้องกับสายการผลิต มีเครื่องจักรเครื่องกล ยิ่งต้องเน้นความปลอดภัยในการทำงานขั้นสูงสุดตามอุดมคติ คือ อุบัติภัยต้องเป็นศูนย์

 

โดยหน้าที่ของผู้บริหาร คือ การเป็นผู้นำและต้องแสดงพฤติกรรมที่ชัดเจนว่าให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมาเป็นอันดับหนึ่ง รวมถึงต้องพยายามวางแผนนโยบายให้คนองค์กรเข้าใจง่ายและรับไปปฏิบัติงานด้วยความเข้าใจ และควรมีการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ติดตั้ง ถุงลมบอกทิศทาง อุปกรณ์สำหรับบอกทิศทางลมทำให้พนักงานทราบว่าลมจะพัดไปทางไหน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มาในกรณีเกิดสารเคมีรั่วไหลและไฟไหม้ หรือ ควรให้มีการติด เทปกันลื่น ที่จมูกบันไดเพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานลื่นล้มเป็นอันตรายต่อร่างกายในขณะปฏิบัติงาน

 

สำหรับหน้าที่ของบุคคลที่อยู่ในระดับหัวหน้างาน คือ รับนโยบายจากผู้บริการมาปฏิบัติด้วยความรอบคอบ และกำหนดหน้าที่ให้คนในองค์กรอย่างชัดเจนและเหมาะสมกับงาน แก้ไขการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดปัญหาในองค์กร เฝ้าระวัง ตรวจสอบรวมถึงกระตุ้นคนในองค์กรให้ปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองให้ได้อย่างสมบูรณ์

 

สำหรับหน้าที่ของระดับบุคคล คือ ยอมรับบทบาทและหน้าที่ของตัวเองด้วยความเข้าใจ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงช่วยสอดส่องดูแลและแจ้งเหตุทันทีเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นในองค์กร เช่น หากพนักงานรักษาความปลอดภัยใช้เครื่องตรวจจับโลหะ ซึ่งเป็นวัสดุใช้ตรวจจับโลหะต่าง ๆ ตรวจพบว่ามีพนักงานพกอาวุธเข้าในโรงงานหรือองค์กร พนักงานรักษาความปลอดภัยควรค้นพนักงานอย่างละเอียดและรายงานผู้บังคับบัญชาทันที เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย หรือ ปล้นชิงทรัพย์ในองค์กร เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีการแบ่งหน้าที่การปฏิบัติงานอย่างชัดเจน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการจัดการด้านความปลอดภัยนั้นเป็นเรื่องที่ทำค่อนข้างยากสำหรับบางบริษัท ดังนั้น วันนี้ ร้านไทยจราจร จึงมี 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร มาเสนอ เผื่อว่าจะมีใครนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยในบริษัทของตัวเอง

1.ต้องพยายามสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจเรื่องในเรื่องความปลอดภัยให้ทุกคนในองค์กร พร้อมทั้งปลูกจิตสำนึกพื้นฐานให้คนในองค์กรตระหนักเห็นถึงความสำคัญ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจดำเนินการโดยจัดการฝึกอบรมให้ความรู้ ซึ่งการอบรมที่สำคัญที่ต้องทำอันดับแรก ๆ คือ การอบรมอัคคีภัย ซึ่งในการอบรมนั้นจะมีการฝึกการใช้ถังดับเพลิงเพื่อความเข้าใจในการใช้งาน ดังนั้นนอกจากผู้บริหารต้องติดตั้งถังดับเพลิงตามจุดต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยแล้ว ควรติดตั้ง ป้ายสแตนเลสถังดับเพลิง เพื่อช่วยให้สังเกตง่าย รวมถึงใส่ข้อความการใช้งานที่พนักงานสามารถอ่านทบทวนได้ทุกครั้งที่เดินผ่าน

 

2.พยายามสื่อสารและเชื่อมโยงทุกคนในองค์กรเข้าด้วยกันเพื่อหาข้อยุติในการดำเนินการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของหลาย ๆ ฝ่าย สิ่งสำคัญคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันและแสดงความคิดเห็นระหว่างกลุ่มคนในองค์กร โดยสามารถใช้ช่องทางสื่อสารได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็น การประชุมเพื่อวางนโยบาย แผนงาน วิสัยทัศน์ หรือตัวชี้วัดเพื่อความสำเร็จในการปฏิบัติ

3.ปฏิบัติงานจริง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในองค์กร ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับพนักงาน ทุกคนในองค์กรต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัด รวมถึงต้องคอยสองส่องดูแลหากมีความผิดปกติที่อาจทำให้ไม่ปลอดภัยต่อองค์กร นอกจากนั้นควรมีการตรวจสอบผลของการทำงานอย่างสม่ำเสมอและประเมินคุณภาพของการดำเนินงานและนำไปปรับปรุงนโยบายให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น

4.ส่งเสริมและสร้างทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นความเคยชินและติดเป็นนิสัย และรับผิดชอบต่อหน้าที่ด้านความปลอดภัยของตัวเองอย่างเคร่งครัด และเมื่อทุกคนในองค์กรต้องยอมรับและเข้าใจว่าหน้าที่ตนเองคืออะไร และต้องปฏิบัติอย่างไร เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ทุกคนในองค์กรมีความปลอดภัยในระหว่างปฏิบัติงาน 

 

จะเห็นว่าการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ในทันที แต่เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ต้องอาศัยความอดทนค่อย ๆ ทำความเข้าใจกับทุกคนในองค์กร จัดการวางแผนงาน วางนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาศัยความร่วมมือกันของทุกฝ่าย และต้องทำอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งทุกคนเข้าใจหน้าที่ตัวเองและปฏิบัติตัวอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรได้ในที่สุด

Block "content-bottom" not found