บนทางเท้า
– ทางลาดบนทางเท้าลงผิวจราจร
– แผ่นปูทางเท้าบอกทาง
ภายในอาคาร
– ถ้ามีบันได ควรทำทางลาดด้วย
– ทางเท้าต้องไม่ลื่น
– ทางเท้ากว้างไม่น้อยกว่า 1200 มม.
– หากมีสิ่งกีดขวาง ควรทำราว หรือวางกระถางต้นไม้กันไว้
– ตัดคันหินหรือธรณีประตูที่ขวางทางเดิน
– ทางลาดมีความชันไม่เกิน 1:12
– ผิวพื้นทางลาดไม่ลื่น
– แผ่นปูเตือน ควรมีทั้งบนและล่างทางลาด
– มีชานพักทุกความยาวทางลาด 6000 มม. ทั้งบนและล่างทางลาด
– มีราวทางลาด ติดทั้ง 2 ด้าน และมีคันกันตกด้านเปิดของทางลาดด้วย
ทางเข้าออก
– ถ้ามีบันไดที่ทางเข้าหลัก ควรมีทางลาด หรือลิฟท์หรือวิธีเข้าแบบอื่น
– ถ้าเข้าที่ทางเข้าหลักไม่ได้ควรมีเครื่องหมายบอกทางเข้าอื่น
– บนทางเท้าเข้าออกอาคารควรปูแผ่นบอกทางด้วย
– ช่องประตูทางเข้าหลักกว้างไม่น้อย 800 มม.
– มีที่ว่างด้านข้างอย่างน้อย 500 มม. จากขอบประตูด้านมือจับก้านหมุนด้านเปิดของประตู
– หากมีขั้นหรือธรณีประตูควรสูงไม่เกิน 20 มม.
– มือจับประตูอยู่ในระดับที่ผู้นั่งเก้าอี้ล้อเข้าถึง
– หากประตูใช้ลูกบิด ควรเปลี่ยนเป็นก้านหมุน หรือติดก้านที่ลูกบิด
– ประตูที่เปิดยาก ควรปรับเปลี่ยนให้เปิดปิดเบาแรง
ร้านค้าและบริการ
– มีทางเข้าถึงพื้นที่ชั้นล่าง โถงหรือลิฟท์
– มีแผ่นปูทางเท้าบอกทางจากทางสาธารณะถึงห้องโถง บันได ลิฟท์และห้องน้ำ
– มีทางกว้างไม่น้อยกว่าง 1200 มม.
– มีพื้นที่ว่างสำหรับผู้นั่งเก้าอี้ล้อ สามารถหมุนเปลี่ยนทิศทางได้สะดวก
10 การออกแบบบาทวิถีและสิ่งแวดล้อมเพื่อทุกคน
– มีช่องประตูกว้างไม่น้อยกว่า 800 มม.
– มีที่ว่างด้านข้างอย่างน้อย500 มม.จากขอบประตูทางด้านมือจับก้านหมุนด้านเปิดของประตู
– ประตูที่เปิดปิดยากควรปรับเปลี่ยนให้เปิดปิดเบาแรง
– มือจับอยู่ในระดับที่ผู้นั่งเก้าอี้ล้อเข้าถึง
– หากประตูใช้ลูกบิดควรเปลี่ยนเป็นก้านหมุน หรือติดก้านที่ลูกบิด
– มีขั้นหรือธรณีประตูสูงไม่เกิน 20 มม.
– มีทางเดิน หรือเส้นทางสัญจรกว้างไม่ต่ำกว่า1200 มม.
– มีที่เลี้ยวกลับของเก้าอี้ล้อเป็นวงกว้าง 1500 มม.
– ไม่มีสิ่งกีดขวางสำหรับทางไปถึงทางสาธารณะสำหรับคนตาบอด
– มีเครื่องหมายบอกทางชัดเจนสำหรับห้องน้ำและทางออก
– ปุ่มบังคับ เช่น สวิทช์อยู่ระดับที่ผู้นั่งเก้าอี้ล้อเอื้อมถึง
– โต๊ะและเคาน์เตอร์สูงระหว่าง 700 – 800 มม.
– มีช่องเข้าใต้โต๊ะหรือเคาน์เตอร์ไม่น้อยกว่า 650 มม. กว้าง 750 มม. ลึก 500 มม.
– มีทางลาดหรือลิฟท์ไปถึงที่สาธารณะ
– พื้นบันไดต้องไม่ลื่น
– มีราวบันไดตลอดทั้งสองด้าน เลยส่วนที่เป็นขั้นบันไดขึ้นและลง
– มีแผ่นปูทางเท้าบอกทางที่ปลายทางขึ้นและลงบันได
– ลิฟท์และประตูมีที่ว่างพอให้เก้าอี้ล้อเข้าไปได้
– มีปุ่มบังคับลิฟท์ในระดับที่ผู้นั่งเก้าอี้ล้อเอื้อมมือถึง
– ควรมีปุ่มบังคับที่เป็นอักษรเบรลล
ห้องน้ำ – ห้องส้วม
– ควรมีห้องน้ำห้องส้วมที่คนพิการหรือคนชรา เข้าใช้ได้
– ควรมีเครื่องหมายบอกทางไปห้องน้ำ-ส้วม คนพิการ ที่ห้องน้ำทั่วไป
– ความกว้างประตูและทางเดิน ไม่ต่ำกว่า 800 มม.
– มีที่ว่างด้านข้างอย่างน้อย500 มม.จากขอบประตูทางด้านมือจับก้านหมุนด้านเปิดของประตู
– ประตูที่เปิดยากควรปรับเปลี่ยนให้เปิดปิดเบาแรง
– มือจับอยู่ในระดับที่ผู้นั่งเก้าอี้ล้อเอื้อมถึง
– หากประตูใช้ลูกบิดควรเปลี่ยนเป็นก้านหมุนหรือติดก้านที่ลูกบิด
– มีขั้นหรือธรณีประตูสูงไม่เกิน 20 มม.
– มีที่ว่างภายในเพียงพอ และคล่องตัว สำหรับเก้าอี้ล้อ
โทรศัพท์สาธารณะ
– มีที่ว่างมากกว่า 750 x 1200 มม. ให้ผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข้าถึง
– ตู้โทรศัพท์สูงไม่เกินเอื้อมจากผู้นั่งเก้าอี้ล้อ (1200 มม.)
– มีการป้องกันอันตรายจากผู้ใช้ที่เป็นคนตาบอด
– เครื่องโทรศัพท์ควรเป็นระบบกดปุ่ม
ป้ายรถประจำทาง
– ตัวนูนบนป้ายรถประจำทาง หรืออักษาเบรลล์จะช่วยให้ – คนตาบอดรู้หมายเลขเส้นทางเดินรถ ของรถประจำทางที่ป้ายได้
สัญญาณไฟจราจร
– สัญญาณเสียง (ACOUSTIC SIGNALS) ช่วยคนตาบอดรู้ช่วงเวลาที่ควรหยุด หรือข้ามถนน
พร้อมกับสัญญาณไฟแดง เหลือง และเขียว
– สัญญานสะเทือน (VIBRATING SIGNALS) เป็นเทคโนโลยี่ที่จะนำมาใช้สำหรับคนหูหนวก
และตาบอดในอนาคต
แผ่นปูทางเท้า
– แผ่นปูทางเท้าที่เป็นปุ่มนูน ช่วยให้สัญญาณเตือนว่า ข้างหน้าเป็นทางข้าม ทางลดระดับ
ทางลาด ทางเลี้ยว ทางแยก หรือทางที่ควรระวัง
– แผ่นปูทางเท้าที่เป็นเส้นนูน ช่วยให้สัญญาณว่าเป็นทางเท้าที่เดินไปได้โดยปลอดภัย
– สีเหลืองของแผ่นปูทางเท้า ช่วยให้คนพิการทางสายตาบางส่วน เห็นความแตกต่างระหว่าง
สีเทาของทางเท้าทั่วไป กับทางเท้าที่ควรเดินและควรระวัง
หมายเหตุ: แบบมาตรฐานต่างๆ เหล่านี้ เป็นเพียงแบบแนะนำ (GUIDELINE) อาจนำไปปรับปรุงใช้ตามความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่ต่างกันได้
ที่มาบทความ: สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย