6 มาตรฐานการสร้างสะพานลอยในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีสถิติผู้ประสบภัยจากรถยนต์หรือมอเตอร์ไซด์เฉี่ยวชนจากการข้ามถนน ไม่ว่าจะบริเวณย่านชุมชนหรือบริเวณสี่แยกต่าง ๆ ร้านไทยจราจรเห็นว่าการใช้สะพานลอยจึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับลดตัวเลขอุบัติเหตุนี้ ซึ่งการสร้างและปรับปรุงสะพานลอยของไทยนั้น ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่หลายฉบับ อาทิ

  1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในกรณีที่สร้างห้างสรรพสินติดถนนทางหลวงในระยะที่ทางการกำหนด ต้องสร้างสะพานลอยเพื่อประโยชน์สาธารณะ 
  2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กรณีที่เป็นการสร้างสะพานลอยในเขตพื้นที่กทม.
  3. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และเพิ่มบทแก้ไข พ.ศ. 2549 

และนี่คือ 6 มาตรฐานที่ทางการระบุไว้เป็นแนวทางของการสร้างสะพานลอยในประเทศไทย

  1. ความสูงของสะพานลอย คานด้านเหนือศีรษะต้องมีความสูงจากระดับพื้น ไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร เพื่อให้สอดคล้องกับระดับความสูงของรถบรรทุกขนส่งที่มีข้อกฎหมายบังคับไม่ให้เทินสิ่งของสูงเกิน 4.30 เมตรจากระดับพื้น และทำให้เป็นการเผื่อระยะเมื่อมีการปรับปรุงพื้นถนน (ถมถนน) ทำให้ระยะความต่างระดับตัวสะพานลอยและพื้นถนนน้อยลง ทั้งนี้ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายและอยู่ระหว่างการปรับปรุง ควรต้องมีป้ายจำกัดความสูง ซึ่งทำจากวัสดุที่มีความคงทน เช่น อะลูมิเนียม ติดตรงกลางสะพานลอย หรือติดตั้งพร้อมกับ คานจำกัดความสูง ที่ทำจากท่อเหล็ก ที่มีการทำสีสะท้อนแสงขาวแดง เพื่อให้ผู้ขับขี่รถยนต์ โดยเฉพาะรถบรรทุกได้ระมัดระวังการลอดสะพานลอย
  1. สะพานลอยที่สร้างโดยหน่วยงานภาคเอกชน เช่น ห้างสรรพสินค้าต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น สำหรับให้ประชาชนทั่วไปใช้ข้ามถนนพื้นราบได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่มีการกั้นรั้วหรือควบคุมการขึ้นสะพานลอยโดยเจ้าหน้าที่ห้าง) ที่สำคัญ คือ ต้องผ่านการพิจารณาว่าสะพานลอยที่ขอสร้างนั้น จะเป็นประโยชน์ในการลดปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าห้างร้านนั้น โดยต้องทำการยื่นหนังสือขออนุญาตสร้างสะพานลอยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และได้ผ่านการอนุญาตเรียบร้อยจากผู้อำนวยการทางหลวงเสียก่อน มิฉะนั้นจะผิดมาตรา 47 ของพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และหากในการก่อสร้างสะพานลอยมีการสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนมากกว่าที่ควรเป็น สามารถทำการฟ้องร้องโดยโจทก์ในชั้นศาลและหากศาลพิจารณาแล้วว่าผู้รับผิดชอบการก่อสร้าง คือ ห้างสรรพสินค้า มีความผิดจริงก็ต้องชดใช้เป็นค่าเสียหาย ดังที่เคยมีคดีความกันมาแล้ว และต้องชดใช้เป็นเงินราว 3 แสนบาท 
  1. ก่อนการก่อสร้างสะพานลอย ต้องผ่านการวิเคราะห์แบบ ประเมินราคาและขออนุญาตจากทางการให้เรียบร้อยก่อน หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง เช่น งานขุดเจาะถมดิน งานเกี่ยวกับการลงเสาเข็ม งานด้านตอม่อ งานด้านไฟฟ้า และงานด้านความปลอดภัย อาทิ การติดตั้งป้ายเตือนและเครื่องหมายจราจรต่าง ๆ และหลังการก่อสร้างสะพานลอยเสร็จแล้วต้องมีการตรวจสอบคุณภาพก่อนการรับมอบงาน หากงานเรียบร้อยแล้ว ต้องเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือการลงทะเบียนสะพานลอย สำหรับบันทึกในฐานข้อมูลด้านสะพานลอย และทำการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ (ประชาชนทั่วไป)
  1. ในส่วนของมาตรฐานสะพานลอย กฎหมายกำหนดให้ใช้วัสดุที่ผ่านการรับรองของ มอก. หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และใช้สเปคที่เหมาะกับงาน เช่น ต้องใช้เสาเข็มแบบตอกจมลงในดินไม่น้อยกว่าระยะ 3.5 เมตร และต้องรองรับน้ำหนักผู้ใช้สะพานลอยได้เกินกว่า 50 ตันต่อต้น เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีรายละเอียดในชนิดและขนาดของสะพานลอยที่ต้องศึกษาอีกมาก เช่น หลักเกณฑ์มาตรฐานสะพานลอยคนข้ามที่ช่วงสะพานน้อยกว่า 30 เมตร (ท.3-01) สะพานลอยน้อยกว่า 18 เมตรแบบมีตอม่อกลาง (ท.3-02) เป็นต้น
  1. ในระหว่างการก่อสร้างสะพานลอย จำเป็นที่ผู้รับผิดชอบต้องทำการเตือนภัยให้แก่ผู้ที่สัญจรไปมาทั้งบนทางเท้าและผู้ขับขี่บนเส้นทางหลวง เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้รถใช้ถนน และเพื่อให้เจ้าหน้าที่ก่อสร้างทำงานด้วยความราบรื่น ลดอุบัติภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ได้แก่

– การติดตั้งป้ายกล่องไฟเพื่อให้ความส่องสว่างและทราบว่าเป็นจุดก่อสร้าง โดยเฉพาะเวลากลางคืน

– การใช้โซ่พลาสติก คล้องกับกรวยจราจรสะท้อนแสง และติดธงราวขาวแดง เพื่อกั้นพื้นที่ขุดเจาะและก่อสร้างสะพานลอย เพราะมีความเสี่ยงต่ออุบัติภัยจากวัสดุก่อสร้างทั้งแนวพื้นดินและการหล่นจากที่สูง

– การติดตั้งไฟหมุนทั้งบนกรวยจราจรหรือบนป้ายไฟเพื่อย้ำเตือนให้ระวังพื้นที่ก่อสร้างสะพานลอย 

– การเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกคน สวมใส่อุปกรณ์นิรภัย เช่น หมวกนิรภัย แว่นตาป้องกันประกายไฟ เสื้อจราจรสะท้อนแสง เสื้อกันฝนสะท้อนแสง (เมื่อฝนตก) รวมถึงเข็มขัดพยุงหลัง (เมื่อต้องยกวัสดุน้ำหนักมาก)

  1. การดูแลเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้สะพานลอย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ ด้วยงานวางระบบไฟฟ้าที่ต้องมีมาตรฐานป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟช็อต หรือสายไฟติดกับต้นไม้ ทั้งนี้ในแง่ความสว่างของสะพานลอยก็มีความสำคัญมากในการใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น 

– การติดเทปกันลื่นตรงบันไดทางขึ้นลง โดยเฉพาะบันไดสะพานลอยเหล็กที่มีความเสี่ยงต่อการลื่นไถลง่ายกว่าปกติ

– การติดตั้งโคมไฟถนนโซล่าเซลล์ หรือ ติดตั้งไฟกระพริบโซล่าเซลล์ตามจุดต่าง ๆ ทั้งบริเวณทางขึ้นลงสะพานลอย และบนสะพานลอย (ดีกว่าการใช้ระบบไฟแบบดั้งเดิม เพื่อประหยัดไฟและลดปัญหาไฟฟ้าดับ หลอดไฟขาดเมื่อหมดอายุการใช้งาน)

 

จะเห็นได้ว่าการรักษามาตรฐานในการก่อสร้างและซ่อมแซมสะพานลอย จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้าง ทั้งต่อการเดินทางของรถยนต์ที่ต้องลอดใต้สะพาน การเดินใช้บริการสะพานลอยคนข้าม โดยไม่ควรมองข้ามความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาการก่อสร้างด้วยเช่นกัน 

ร้านไทยจราจรขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนงานก่อสร้างและซ่อมบำรุงสะพานลอยให้มีมาตรฐานตามกฎหมายไทย ด้วยวัสดุเสริมความปลอดภัยที่มีคุณภาพคุ้มราคา เชิญชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ www.trafficthai.com 

Block "content-bottom" not found