หลายคนเคยสงสัยกันบ้างมั้ยว่ากว่าจะเป็นบ้านหนึ่งหลังนั้นออกแบบอย่างไร? สถาปิกที่ทำหน้าที่ออกแบบบ้านนั้นจะมีขั้นตอนในการทำงานแบบไหน? เพราะการออกแบบบ้านที่หลายคนอาจจะมองแค่ว่าเป็นการเขียนขีดสิ่งที่อยากให้มีในบ้านก็สามารถส่งต่อให้ผู้รับเหมาทำงานได้แล้ว เป็นความเข้าใจที่ผิดและอาจส่งผลกระทบกับตัวบ้านในอนาคต ทั้งปัญหาทรุด บ้านพัง และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งสถาปนิกนั้นมีหน้าที่ในการออกแบบให้ตรงกับโจทย์ความต้องการ คำนวณน้ำหนักและวัสดุที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ รวมทั้งทิศทางลม และแสงแดดที่เหมาะสมอีกด้วย
การออกแบบบ้านเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและต้องใช้ความเชี่ยวชาญจากสถาปนิก สถาปนิกมีหน้าที่ในการวางแผนและออกแบบบ้านให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของบ้านและข้อบังคับทางกฎหมาย โดยขั้นตอนการทำงานของสถาปนิกในการออกแบบบ้านสามารถแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การศึกษาข้อมูลและความต้องการของเจ้าของบ้าน
ขั้นตอนแรกสถาปนิกจะทำการพูดคุยกับเจ้าของบ้านเพื่อศึกษาข้อมูลและความต้องการต่างๆ ของเจ้าของบ้าน เช่น งบประมาณ พื้นที่ใช้สอย จำนวนสมาชิกในครอบครัว ไลฟ์สไตล์ ทิศทางลม ทิศทางแสงแดด เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สถาปนิกสามารถออกแบบบ้านให้ตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านได้อย่างตรงจุด
2. การวางเค้าโครงของการออกแบบและการออกแบบร่างขั้นต้น
เมื่อได้ข้อมูลและความต้องการของเจ้าของบ้านแล้ว สถาปนิกจะเริ่มวางเค้าโครงของการออกแบบและการออกแบบร่างขั้นต้น โดยขั้นตอนนี้สถาปนิกจะทำการร่างแบบบ้านโดยประมาณ เพื่อแสดงแนวคิดและรูปแบบของบ้านให้กับเจ้าของบ้านดู
3. การออกแบบร่างครั้งสุดท้าย
เมื่อเจ้าของบ้านเห็นแบบร่างขั้นต้นแล้ว สถาปนิกจะทำการปรับปรุงแก้ไขแบบร่างให้ตรงตามความต้องการของเจ้าของบ้านมากที่สุด โดยขั้นตอนนี้สถาปนิกจะจัดทำแบบแปลนบ้าน 3 มิติ และภาพจำลองบ้าน เพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถมองเห็นภาพรวมของบ้านได้อย่างชัดเจน
4. การพัฒนาแบบก่อสร้าง เอกสารขออนุญาติและการก่อสร้าง
เมื่อเจ้าของบ้านเห็นแบบแปลนบ้าน 3 มิติ และภาพจำลองบ้านแล้ว และพอใจกับการออกแบบแล้ว สถาปนิกจะทำการจัดทำแบบก่อสร้างและเอกสารขออนุญาติก่อสร้าง โดยขั้นตอนนี้สถาปนิกจะจัดทำแบบแปลนบ้านแบบละเอียด เพื่อใช้ประกอบในการขออนุญาติก่อสร้างจากหน่วยงานราชการ
5. การประกวดราคาและการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง
เมื่อได้รับอนุญาติก่อสร้างแล้ว เจ้าของบ้านจะต้องทำการประกวดราคาและคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยขั้นตอนนี้เจ้าของบ้านจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ประสบการณ์ ผลงานที่ผ่านมา ราคา เงื่อนไขการรับประกัน เป็นต้น
6. การก่อสร้าง
เมื่อได้ผู้รับเหมาก่อสร้างแล้ว ผู้รับเหมาก่อสร้างจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างบ้าน โดยขั้นตอนนี้เจ้าของบ้านจะต้องคอยติดตามความคืบหน้าของการก่อสร้าง และตรวจสอบการทำงานของผู้รับเหมาก่อสร้างอย่างสม่ำเสมอ
7. การส่งมอบเอกสาร
เมื่อการก่อสร้างบ้านเสร็จสิ้นแล้ว สถาปนิกจะทำการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองการประกอบอาคาร ใบอนุญาติก่อสร้าง เป็นต้น และส่งมอบให้กับเจ้าของบ้าน
Drawing
หลังจากงานดีไซน์ Approved สถาปนิกจะอ และจัดทำรายละเอียดเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างที่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดของท้องถิ่น และองค์กรณ์ท้องถิ่นควบคุม รวมทั้งรายละเอียดของการก่อสร้าง และรายการประกอบแบบ
- แบบแปลนบ้านใช้สำหรับการขออนุญาตก่อสร้าง
- แบบแสดงถึงผังบริเวณและระบบสาธารณูปโภคในส่วนภายนอกอาคาร
- แบบแสดงถึงแปลนทุกชั้น
- แบบแสดงถึงรูปด้านทั้งหมด 4 ด้าน
- แบบแสดงถึงรูปตัดอย่างน้อยจำนวน 2 รูป
- แบบแสดงถึงรายละเอียดและแบบขยายต่างๆ
- แบบวิศวกรรมโครงสร้าง รายละเอียด และรายการคำนวณสำหรับการขออนุญาตก่อสร้าง
- รายการประกอบแบบของการก่อสร้างทุกงาน (งานสถาปัตย์และวิศวระบบต่างๆ) อย่างละเอียด
- เอกสารประมาณราคากลางสำหรับค่าก่อสร้างอย่างละเอียด
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่แต่ละวิชาชีพ
สำหรับการสร้างบ้านที่มูลค่าอยู่ในเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนดจะใช้วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมโยธา, เท่านั้น แต่ถ้าโครงการที่มีขนาดใหญ่ หรือมีฟังชั่นการใช้งานที่ซับซ้อน ก็ต้องมีทีมวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องในส่วนอื่นๆเข้ามาร่วมในโครงการ ก็จะเพิ่มขึ้นตามรายละเอียดการก่อสร้าง เช่น การสร้างโรงงาน อาคารตึกสูง โครงการบ้าน อาคารสาธารณะ ฯลฯ ค่าบริการวิชาชีพวิศวกรรม จะถูกคิดรวมกับค่าออกแบบแล้ว
- วิศกรรมโยธา (Structural Engineer)
ทำหน้าที่ออกแบบโครงสร้างให้แข็งแรงและสามารถก่อสร้างได้จริงตามที่สถาปนิกได้ออกแบบไว้ - วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineer)
ทำหน้าที่ออกแบบระบบไฟฟ้าทั้งหมดของบ้าน ตามความต้องการของบ้านที่ออกแบบไว้ - วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineer)
ทำหน้าที่ ออกแบบระบบสุขาภิบาล ระบบน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน และระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม - วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanica Engineer)
ทำหน้าที่ออกแบบระบบปรับอากาศ ระบายอากาศ ระบบดับเพลิงลิฟต์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ และออกแบบจัดระบบกลไกภายในบ้านให้เข้ากับอุปกรณ์นั้น ๆ ได้ รวมถึงให้คำปรึกษาในการเลือกซื้อปุกรณ์ต่างๆ - สถาปนิก (Architect)
ทำหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้โครงการ ความต้องการของเจ้าของอาคาร และออกแบบวางผังอาคาร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพื้นที่นั้น ๆ ให้คำแนะนำกับเจ้าของโครงการ และประสานงานกับวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
ทั้ง 7 ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการทำงานจริงของสถาปนิก โดยใช้เวลาขั้นต่ำประมาณ 2 เดือนถึงจะเสร็จสมบูรณ์ การสร้างบ้านโดยสถาปนิกมืออาชีพนั้นจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บ่งบอกความเป็นตัวตนของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี รวมทั้งฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์ และถูกต้องตามหลักของศาสตร์ฮวงจุ้ยสอดคล้องกับทิศทางลมและแสงแดดเพื่อความเป็นสิริมงคลของการอยู่อาศัย
อยากได้บ้านสวยถูกใจแถมยังถูกโฉลก เพราะะ FU LU SHOU รับออกแบบบ้านโดยสถาปนิกมืออาชีพ พร้อมรับออกแบบบ้านตามศาสตร์ฮวงจุ้ยบ้านของจีนอย่าเชี่ยวชาญ อยากมีบ้านปัง ๆ จัดบ้านแล้วรวย รีบมาปรึกษา FU LU SHOU Architecture เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ซินแส บริษํทรับออกแบบบ้านที่เชี่ยวชาญการออกแบบบ้านตามหลักฮวงจุ้ยที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ทุกเรื่องสำหรับการออกแบบบ้าน โดยทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์
ที่มา: https://fulushouarchitecture.com/7