“โจรปล้น 10 ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว” ประโยคนี้คือข้อความที่แสดงให้เห็นว่าการเกิดเพลิงไหม้คือภัยที่ใหญ่หลวง สามารถทำความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้ที่พักอาศัยอยู่ในอาคารนั้น ๆ มากมายกว่าการถูกปล้นถึง 10 เท่าเลยทีเดียว ดังนั้นการเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงนี้จึงมีความสำคัญมาก ทั้งอุปกรณ์ที่ดีและเหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงความเตรียมความพร้อมในการใช้งานของผู้อยู่อาศัยทุกคน ซึ่งทางร้านไทยจราจรขอแนะนำอุปกรณ์ที่สามารถช่วยให้คุณรอดตายในกรณีเกิดไฟไหม้ ดังต่อไปนี้
1.ถังดับเพลิง คืออุปกรณ์ที่ใช้ระงับเหตุเพลิงไหม้ได้แบบทันท่วงที แต่การเลือกใช้งานถังดับเพลิงควรพิจารณาประเภทของถังดับเพลิงที่เหมาะสม หากงานมีความละเอียดอ่อน ควรเลือกถังดับเพลิงที่เมื่อใช้งานแล้วไม่ก่อให้เกิดคราบสกปรกอย่างถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ แต่หากเป็นพื้นที่ทั่วไปก็สามารถเลือกใช้ถังดับเพลิงสารเคมีแห้งได้ การจัดวางถังดับเพลิงควรมีแสงสว่างฉุกเฉินหรือป้ายถังดับเพลิงที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ช่วยอำนวยความสะดวกในการหยิบใช้แม้แต่ในภาวะฉุกเฉินได้ อุปกรณ์ชนิดนี้ควรมีการตรวจสอบสภาพการใช้งานอยู่เสมอด้วย
2.สัญญาณเตือนไฟไหม้ การบ่งบอกให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารทราบเหตุเพลิงไหม้ได้รวดเร็ว ก็ยิ่งสร้างความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัยภายในอาคารมากขึ้นเท่านั้น กริ่งสัญญาณอาจใช้เป็นระบบที่ต้องมีผู้กดจึงจะทำงานที่ควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้มีใครไปกดเล่น หรือระบบอัตโนมัติที่จะทำงานเมื่อตรวจพบควันหรือความร้อน การเตือนมีทั้งแบบเสียงและแบบแสงสว่าง
3.ไฟฉุกเฉิน เป็นอุปกรณ์แสงสว่างที่ทำงานเมื่อไฟฟ้าดับ อันเป็นสถานการณ์ปกติที่เกิดขึ้นได้เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ทำให้ยากต่อการอพยพของผู้คนที่อยู่ภายในอาคารเนื่องจากมองไม่เห็นทางออก หรือลักษณะภายในอาคารอีกต่อไป การติดตั้งอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ทุกคนในอาคารรอดตายจากเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างทันท่วงที
4.สายยางดับเพลิง เป็นอุปกรณ์ดับเพลิงอีกชนิดที่ช่วยให้สามารถระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที แต่มีแรงดันน้ำสูงกว่าถังดับเพลิง ดังนั้นผู้ที่จะใช้งานได้ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างเหมาะสม เมื่อไม่ได้ใช้งานสายยางดับเพลิงจะต้องจัดเก็บให้เรียบร้อยอยู่ภายในกล่อง เพื่อความสะดวกเมื่อมีเหตุจำเป็นได้เสมอและตลอดเวลา
5.ขวานดับเพลิง ขวานอาจดูเป็นอาวุธอันตราย แต่หากนำมาใช้อย่างถูกวิธี อาวุธก็อาจกลายเป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยชีวิตคนได้มากมาย อย่างขวานดับเพลิงที่จะช่วยกำจัดสิ่งกีดขวางทางออกของผู้คนในอาคารได้ หรืออาจใช้เพื่อกำจัดแหล่งเชื้อเพลิงก่อนที่ไฟจะลามมาถึง ช่วยให้ไฟไม่ลุกลามไปมากกว่าที่ควร การนำมาติดตั้งควรมีกล่องจัดเก็บที่ดีเพื่อป้องกันการนำไปใช้ไม่ถูกต้อง และยังป้องกันการสูญหายของอุปกรณ์ด้วย กล่องที่เก็บควรมีสีสันสะดุดตาหรือป้ายแจ้งที่มองเห็นได้ชัดเจน
6.ระบบจ่ายน้ำแบบอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์ที่จะทำการจ่ายน้ำเพื่อระงับเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างทันท่วงที หลักการทำงานจะเริ่มทันทีเมื่อเครื่องตรวจจับควันหรือความร้อนได้ จึงเพิ่มระดับความปลอดภัยของผู้ที่อยู่ภายในอาคารได้มากขึ้น มีความสะดวกในการใช้งานเพราะอุปกรณ์จะทำงานเองโดยอัตโนมัติ และเมื่อระบบทำงานยังเป็นการเตือนให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารทราบถึงเหตุผิดปกติได้ทันทีอีกด้วย
7.ป้ายทางออกฉุกเฉิน การออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็วจะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ที่อยู่ในอาคารได้มากขึ้น แต่ในสภาวะฉุกเฉินอย่างนั้นอาจส่งผลให้การตัดสินใจและการค้นหาทางออกมีประสิทธิภาพที่ลดน้อยลง การนำป้ายบอกทางออกฉุกเฉินมาใช้จึงมีความสำคัญมาก ยิ่งป้ายที่มีระบบแสงสว่างก็จะยิ่งช่วยให้ผู้คนภายในอาคารมองเห็นได้สะดวกมากขึ้น และควรติดตั้งในระยะที่สูงเพียงพอ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแม้อยู่ไกลมากก็ตาม
8.ป้ายจุดรวมพล การรวบรวมทุกคนภายในอาคารตามจุดที่กำหนดนับว่ามีความสำคัญมาก เป็นการกำหนดเป้าหมายให้หนีออกจากอาคารได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ทั้งยังเป็นสถานที่ที่เจ้าหน้าที่จะได้นับและตรวจสอบว่ามีผู้ที่สูญหายหรือบาดเจ็บได้ ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดจุดรวมพลและฝึกซ้อมให้ทุกคนภายในอาคารทราบอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการติดป้ายบ่งชี้ให้ทุกคนในอาคารทราบอยู่เสมอด้วย
9.ธงรวมพล ผู้ที่อยู่ภายในอาคารมักมีหลายชั้นหลายกลุ่ม โดยเฉพาะอาคารเชิงพาณิชย์ที่มีบริษัทหลายแห่งตั้งอยู่ ดังนั้นเพื่อให้ทุกหน่วยสามารถอพยพได้อย่างเป็นระเบียบ เพิ่มอัตราการรอดตายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการนำอุปกรณ์มานำขบวนอพยพที่มองเห็นได้ชัดเจนอย่างธงโบกรถด้ามพลาสติกสีแดงมาใช้เป็นสัญลักษณ์นำผู้คนในอาคารออกมาตามทางออกฉุกเฉินและรวบรวมให้ครบที่จุดรวมพลอย่างเป็นระเบียบ
เมื่อทางอาคารมีการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์สำหรับทั้ง 9 ชนิดนี้เอาไว้แล้ว ทางร้านไทยจราจรยังขอแนะนำว่าผู้ใช้ควรมีการดูแลรักษาเพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ดังกล่าวพร้อมใช้งานอยู่เสมอ สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้คนภายในอาคารได้อย่างแท้จริง และควรมีการฝึกซ้อมทำความเข้าใจเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างถูกต้องและทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความเคยชิน ไม่ติดขัดแม้แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่คาดไม่ถึง อันเกิดได้ตลอดเวลานั่นเอง
Block "content-bottom" not found