ปัญหาการฝ่าฝืนกฎจราจรเมาแล้วขับนับเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลร้ายแรงต่อการสัญจรไปมาบนท้องถนนเป็นอย่างมาก เพราะผู้ขับขี่ที่ดื่มของมึนเมาก่อน หรือในขณะขับรถมักไม่มีสติ ไม่สามารถตัดสินใจได้ดีในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรืออาจมองไม่เห็น ป้ายจราจร ได้ชัดเจนดีพอ จนเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรง ทำลายชีวิตและทรัพย์สินของเพื่อนร่วมทางคนอื่น ๆ ได้อย่างร้ายแรง ซึ่งในประเทศไทยนั้นปัญหาเมาแล้วขับนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เกิดปัญหาการจราจรด้านต่าง ๆ ตามมามากมาย ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ขับขี่หลายคนเลือกที่จะละเมิดและละเลยกฎหมายนี้นั้นก็เนื่องมาจากบทลงโทษที่น้อยเกิดไป ร้านไทยจราจร จึงจะขอยกตัวอย่างประเทศที่มีบทลงโทษสำหรับผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนกฎจราจรเมาแล้วขับเอาไว้อย่างรุนแรง จนสามารถลดปัญหาจราจรที่เกิดจากการเมาและขับลงได้สำเร็จ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- ประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายของประเทศนี้เกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ในขณะขับรถนั้น อาจมีระดับโทษที่รุนแรงแตกต่างกันไปตามรัฐต่าง ๆ แต่ในทุก ๆ รัฐ ต่างก็ให้บทลงโทษที่รุนแรง จนผู้คนเกิดความเกรงกลัวและหลีกเลี่ยงที่จะฝ่าฝืนกฎหมายนี้กันมาก ตัวอย่างเช่นรัฐมิสซิสซูรี่ ผู้ขับขี่จะต้องชดเชยค่ารักษาพยาบาลของคู่กรณีตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล ยิ่งคู่กรณีมีอาการบาดเจ็บที่รุนแรงผู้ขับขี่ก็ยิ่งต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนมหาศาลเลยทีเดียว หรืออย่างในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในกรณีที่ผู้ขับขี่ถูกจับเป็นครั้งแรก นอกจากจะต้องเสียค่าปรับแล้วยังต้องทำความสะอาดท้องถนนด้วย หรือหากเคยมีประวัติการเมาแล้วขับมาก่อน ก็จะถูกนำไปเยี่ยมชมสถานที่เก็บศพ เพื่อให้ได้เห็นภาพของเหยื่อที่ตายเพราะอุบัติเหตุเมาแล้วขับ
- ประเทศแคนาดา ผู้ขับขี่ที่มีอาการมึนเมาในขณะขับรถจะถูกเปรียบเทียบปรับในอัตราที่สูงถึง 1,470 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 48,510 บาท) และยังต้องโทษจำคุกอีกนาน 6 เดือน และในกรณีที่อุบัติเหตุมีความร้ายแรงอัตราโทษจำคุกก็จะยิ่งนานขึ้นเป็นระยะเวลาถึง 10-14 ปี
- ประเทศฝรั่งเศส ก็นับเป็นประเทศที่มีอัตราเปรียบเทียบปรับในกรณีที่ก่อเหตุเมาแล้วขับสูงมาก คิดเป็นอัตราค่าปรับที่ 2,000-300,000 ฟรังก์ฝรั่งเศส (หรือประมาณ 11,906 – 1,786,000 บาท) และยังต้องโทษจำคุกอีกกว่า 2 เดือน – 3 ปี ทั้งยังมีสิทธิ์ที่จะถูกยึดใบขับขี่อีกด้วย
- ประเทศอิตาลี กฎหมายของประเทศนี้นั้นจะพิจารณาจากระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย เพียงมีการตรวจสอบพบระดับแอลกอฮอล์ในร่างกายที่ 0.05% – 0.08% ผู้ขับขี่ก็จะถูกดำเนินคดีด้วยการระงับใบอนุญาตขับขี่นานถึง 6 เดือน หรือหากระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 0.08% – 0.15% อัตราเปรียบเทียบปรับก็จะสูงขึ้นเป็น 800 – 3200 ยูโร (หรือประมาณ 31,000 – 124,000 บาท) พร้อมถูกระงับใบอนุญาตขับขี่นาน 12 เดือน และจำคุกนาน 6 เดือน โดยไม่รอว่าจะเกิดเหตุขับรถชนคนบน ทางม้าลาย หรือที่อื่น ๆ หรือไม่ก็ตาม
- ประเทศบัลกาเรีย เป็นประเทศที่มีการเพิ่มอัตราโทษในกรณีที่ผู้ขับขี่ก่อเหตุเมาแล้วขับซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง ด้วยการตั้งโทษเอาไว้ว่า หากผู้ขับถูกจับในข้อหาเมาแล้วขับ 2 ครั้งขึ้นไป โทษที่ผู้ขับขี่จะได้รับสูงสุดคือการประหารชีวิตเลยทีเดียว (ในปัจจุบันประเทศบัลกาเรียยังมีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าอยู่) ถือเป็นอัตราโทษที่ร้ายแรงถึงชีวิต
- ประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องระเบียบวินัยในระดับสูงนี้ก็มีการวางอัตราโทษในกรณีที่เมาแล้วขับเอาไว้สูงมากเช่นกัน โดยจะพิจารณาโทษตามระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่ตรวจพบ หากมาถึง ป้ายไฟหยุดตรวจ แล้วมีการตรวจพบปริมาณมากกว่า 0.05% ผู้ขับขี่จะต้องใช้แรงงานทำประโยชน์เพื่อสังคมนานสูงสุด 2 ปี พร้อมเปรียบเทียบปรับอีก 50,000 เยน (หรือประมาณ 14,500 บาท) และมีสิทธิ์ถูกยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วย และนอกจากผู้ขับขี่จะต้องรับโทษแล้ว ร้านค้าที่จำหน่ายแอลกอฮอล์ให้ผู้ขับขี่ก็จะต้องโดนลงโทษตามไปด้วย ยิ่งผู้ขับขี่ที่ถูกจับดำเนินคดีในข้อหาเมาแล้วขับเป็นครั้งที่ 2 จะต้องจำคุกนาน 6 เดือนในคุกที่เตรียมเอาไว้เป็นพิเศษอีกด้วย
- ประเทศสิงคโปร์ ถือเป็นอีกประเทศที่ให้ความสำคัญกับวินัยการจราจรเป็นอย่างมาก โดยมีการตั้งอัตราเปรียบเทียบปรับในกรณีแล้วขับไว้ที่ 1,000 – 5,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (หรือประมาณ 24,450 – 122,253 บาท) ยิ่งในกรณีที่กระทำผิดซ้ำ จะเพิ่มโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีเข้าไปด้วย และเพิ่มอัตราเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 3,000 – 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (หรือประมาณ 73,352-244,507 บาท)
- ประเทศแอฟริกาใต้ นับเป็นประเทศที่เพิ่มเติมบทลงโทษในกรณีเมาแล้วขับให้มากกว่าการเสียค่าปรับ ด้วยการตั้งบทลงโทษให้ผู้เมาแล้วขับถูกจำคุกนาน 10 ปี พร้อมค่าปรับอีก 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 330,000 บาท) เลยทีเดียว
- ประเทศไต้หวัน เนื่องจากประเทศไต้หวันมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก ทั้งยังพบว่าคนกลุ่มนี้ฝ่าฝืนกฎจราจรเรื่องของการเมาแล้วขับบ่อย ๆ ประเทศไต้หวันจึงมีบทลงโทษเฉพาะสำหรับแรงงานต่างด้าวที่ฝ่าฝืนกฎจราจรเมาแล้วขับเอาไว้ว่าผู้ขับขี่จะต้องถูกสั่งฟ้องศาลทันที โดยมีอัตราเปรียบเทียบปรับเงินสูงมาก พร้อมโทษทางอาญาด้วยการถูกจำคุก หรือหากเกิดอุบัติเหตุในลักษณะที่รุนแรง เช่นการชนคนบริเวณ ทางม้าลาย ก็จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำงานของไต้หวันทันที และห้ามมิให้เดินทางเข้ามาทำงานไปจนตลอดชีพ
- ประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นประเทศที่มีบทลงโทษในกรณีเมาแล้วขับที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ เพราะจะใช้ประจานให้อับอายบนหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่ออื่น ๆ
ร้านไทยจราจร จึงขอกล่าวสรุปได้ว่าปัญหาการเมาแล้วขับถือเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ในทุก ๆ ประเทศ แต่ถือเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันได้หากผู้ขับขี่ทุก ๆ คนเคารพกฎจราจร