หากลองสังเกตกันดูอาคารหลาย ๆ แห่งรวมถึงห้างสรรพสินค้าสมัยนี้มักมีการสร้างลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ให้แยกออกมาต่างหากกับลานจอดรถยนต์ทั่วไป ส่วนหนึ่งเพราะต้องการความเป็นระเบียบเรียบร้อยบวกกับช่วยในเรื่องการลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่แคบ ๆ ของลานจอดรถที่ต้องมีรถหลาย ๆ ประเภทมาใช้งานร่วมกัน กระนั้นการออกแบบลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ที่ดี มันก็มีแนวทางต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย อาทิ พื้นที่ที่สร้าง, จำนวนรถเฉลี่ยที่จอดต่อวัน ฯลฯ ทว่ากลับมีหลายสิ่งที่คนคิดออกแบบลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ลืมนึกถึงไปและอาจนำมาซึ่งความเสียหายในอนาคตได้หากไม่ทบทวนให้ดี ดังนั้นสิ่งที่ ร้านไทยจราจร กำลังจะบอกคือ ถ้าคุณกำลังออกแบบลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่คุณอย่าทำเด็ดขาด
1.ไม่มีการสร้างรั้วรอบขอบชิดใด ๆ ทั้งสิ้น – ลำดับแรกที่คนออกแบบลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ไม่ควรทำเลยคือปล่อยปละละเลยเรื่องการสร้างรั้วรอบของชิดให้ชัดเจน บางคนเข้าใจว่ายังไงรถก็ไม่มีทางหายอยู่แล้วเพราะมีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด ทว่ารถมอเตอร์ไซค์กับรถยนต์มันไม่เหมือนกัน ระบบการปลดล็อคหรือปลดกุญแจก็ง่ายกว่า คันเล็กกว่า การโดนขโมยจึงมีโอกาสมากกว่าเยอะ ยิ่งถ้าไม่สร้างรั้วให้ชัดเจนยิ่งเสี่ยงรถหายมากขึ้นไปอีก ดังนั้นลงทุนเพิ่มอีกหน่อยด้วยการสร้างรั้วหรืออาจเอา แผงกั้นจราจร ที่มีความแข็งแรงทนทานมาวางต่อกันแล้วจับรัดให้แน่นก็ได้ อย่างน้อย ๆ ผู้ขี่รถเข้ามาจอดจะได้รู้สึกว่ารถมอเตอร์ไซค์ของตนเองปลอดภัย
2.ทำที่จอดรวมกันทั้งมอเตอร์ไซค์ทั่วไปและรถบิ๊กไบค์ – บางคนอาจมองว่ามันก็คือมอเตอร์ไซค์เหมือนกันจะทำที่จอดแยกกันทำไมให้วุ่นวาย จริง ๆ แล้วต้องบอกว่าด้วยขนาดของบิ๊กไบค์ที่ใหญ่กว่ามันจึงกินพื้นที่ของรถมอเตอร์ไซค์คันอื่นมากกว่า แถมเวลานำไปจอดรวมกันเกิดรถคันอื่นมากระแทกหรือขูดโดนราคาค่าเสียหายจะสูงมาก ๆ เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย ควรเลี่ยงสร้างที่จอดรถทั้ง 2 ประเภทนี้รวมกัน แต่ควรแยกออกจากกันให้ชัดเจนไปเลยดีกว่า
3.ติดไฟเฉพาะจุดเท่านั้น – บางทีการออกแบบลานจอดรถมอเตอร์ไซค์มันต้องขึ้นไปอยู่ชั้นด้านบนของอาคาร ทำให้ผู้ที่จะจอดรถต้องขี่ขึ้นไป ทว่าปัญหาคือดันไม่ได้มีการออกแบบไฟทางให้ส่องสว่างมองเห็นชัดเจน ตอนกลางวันยังพอเข้าใจได้หากมีแสงสว่างจากด้านนอกส่องเข้ามาบ้าง แต่ถ้าเป็นตอนเย็นหรือตอนกลางคืนที่ไม่มีแสงสว่างเข้ามาแล้วดันสร้างไฟเอาไว้แค่บริเวณที่จอดแต่ตามเส้นทางก่อนจะถึงกลับไม่ทำเอาไว้ ทั้งอุบัติเหตุและการโดนโจรกรรมจะมีสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัวมาก ๆ
4.ทำขนาดพื้นที่พอดีเป๊ะ – มาตรฐานของช่องจอดมอเตอร์ไซค์คือ 1 x 2 m. ก็จริงอยู่ แต่อย่าลืมว่าช่องด้านหลังหรือด้านหน้าก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญด้วย เพราะเวลาที่มอเตอร์ไซค์จอดกันมาก ๆ แล้วคันหนึ่งจะถอยออก หากไม่มีช่องทางเหลือเว้นไว้เลยรับรองว่ายุ่งยากวุ่นวายสุด ๆ ไหนจะต้องดูว่ารถคันไหนขวางอยู่บ้างหรือพื้นที่แคบเกินไป เวลาถอยก็ไปขูดรถคันอื่นกลายเป็นความเสียหาย เสียอารมณ์ไปอีก ดังนั้นอย่าทำแค่พื้นที่สำหรับจอดรถอย่างเดียว แต่ควรเผื่อพื้นที่รอบคันเพื่อให้เข้าออกได้สะดวกด้วย อาจใช้ เทปติดสะท้อนแสง ทำเป็นขนาดพื้นที่ระหว่างคันให้ชัดเจนไปเลยก็ได้ เพื่อเวลาถอยออกหรือเลี้ยวเข้าจะไม่ไปโดนรถคันอื่น
5.ไม่ต้องทำป้อมและไม้กระดกก็ได้ – เป็นอีกสิ่งที่คนออกแบบอาจคาดไม่ถึงเพราะคิดว่ารถคันเล็ก ๆ ไม่ต้องเอาป้อมกับ ไม้กระดกอัตโนมัติ มาติดตั้งให้เปลืองเงินก็ได้ ทว่าจริง ๆ แล้วการไม่ติดตั้งแบบนี้มันเสียประโยชน์ในหลายด้านมาก เช่น รถบางคันพุ่งออกไปเลยโดยไม่เสียเงินกรณีพื้นที่จอดนั้นมีการเก็บเงิน หรือรถที่โดนขโมยขับออกไปได้ทันทีเนื่องจากไม่ได้มีไม้กั้นให้หยุดรถ การมีป้อมกับไม้กระดกเปิด-ปิดจึงจำเป็นเสมอสำหรับพื้นที่ลานจอดรถ
6.ไม่ตั้งป้ายจราจรใด ๆ ไว้บอกเลย – นักออกแบบลานจอดรถมอเตอร์ไซค์บางคนอาจมองว่าแค่รถมอเตอร์ไซค์เข้ามาจอดในลาน ไม่ได้คันใหญ่เหมือนรถยนต์ ไม่เห็นจำเป็นต้องตั้งป้ายบอกอะไรเลย ขี่สวนกันก็คงไม่มีอุบัติเหตุหรอก นี่คือความคิดที่ผิดมาก เพราะการติดตั้ง ป้ายจราจร ต่าง ๆ ในลานจอดรถคือสิ่งสำคัญที่จะบอกกับผู้ขับขี่ทุกคนว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร เช่น ป้ายเลี้ยวซ้าย, เลี้ยวขวา ฯลฯ จะช่วยให้การจราจรในลานจอดรถมอเตอร์ไซค์มีระเบียบมากขึ้น พร้อมช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
ต้องบอกว่าหากคิดออกแบบลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ก็ควรมีการคิดออกแบบให้ครอบคลุมทุกด้าน อย่าคิดแค่ว่าไม่ทำอันนี้คงไม่เป็นไร เพราะเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นมามันส่งผลมหาศาลมาก ๆ อย่างน้อยการคิดว่าทำเผื่อไปก่อนไม่เสียหายคือเรื่องดี เพราะจริง ๆ ลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ทุกที่มันก็ไม่ต่างกับลานจอดรถทั่วไปซึ่งต้องมีความปลอดภัยสูง ร้านไทยจราจร มั่นใจว่ายังไงการออกแบบลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ที่ดีย่อมส่งผลดีต่อทุกฝ่าย และสิ่งที่กล่าวไปทั้งหมดเป็นสิ่งที่อย่าทำเด็ดขาดหากคุณคือคนออกแบบลานจอดรถเพื่อให้มอเตอร์ไซค์ใช้งาน
Block "content-bottom" not found