จป. วิชาชีพคืออะไร คุณสมบัติมีอะไร ต้องทำอะไรบ้าง

งาน จป. เป็นอาชีพเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยขององค์กร รวมถึงการจัดสรรสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการทำงานอย่างปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพงานที่ดีที่สุดตามวัตถุประสงค์ขององค์กร 

ซึ่งงาน จป. แบ่งได้หลายด้านตามตำแหน่งของ จป. เช่น จป. ระดับหัวหน้า ด้านเทคนิค เทคนิคชั้นสูง และ จป.วิชาชีพ ซึ่งปัจจุบันมีการเปิดรับตำแหน่ง จปว. หรือ จป. วิชาชีพมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเป็นหนึ่งในมาตรฐานขององค์กรต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนด 

ร้านไทยจราจร จึงได้รวบรวมเรื่องราวของ จป. วิชาชีพมาให้ผู้ที่สนใจได้ทำความเข้าใจในเบื้องต้น เพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่สายงานด้านความปลอดภัยองค์กรได้อย่างถูกต้อง

ผู้ที่จะประกอบอาชีพ จป. วิชาชีพได้นั้น ต้องเรียนจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรี โดยจำเป็นต้องผ่านการเรียนสายวิทย์-คณิตในช่วงมัธยมปลาย เนื่องจากการเรียนต่อปริญญาตรีในสายอาชีวอนามัย หรือสาขาใกล้เคียงเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่กฎหมายระบุไว้ สำหรับองค์กรต่าง ๆ ที่จะรับคนทำงานในตำแหน่ง จป.วิชาชีพนี้ 

หรือหากไม่ได้เรียนจบทางสายนี้โดยตรง แต่มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี เคยมีประสบการณ์อย่างต่ำ 5 ปีในงานตำแหน่ง จป. เทคนิคขั้นสูง และที่สำคัญคือ เคยผ่านการอบรมหลักสูตร จปว. อย่างน้อย 42 ชั่วโมง ภายใน 20 มิ.ย. 2554 ก็เป็นไปได้ที่จะผ่านการรับเลือกหรือแข่งขันกับผู้สมัครรายอื่น ในการได้มาซึ่งงาน จปว.

หรือกรณีสุดท้ายคือ ต้องเคยทำงานตำแหน่ง จปว. มาก่อน ตามข้อกำหนดของกฎหมายฉบับเก่าของกระทรวงแรงงาน ปี 2540 และได้ผ่านการอบรมเพิ่มในหลักสูตร จปว. 42 ชั่วโมงขึ้นไป ภายใน 20 มิ.ย. 2554

หากเข้าข่าย 1 ใน 3 เกณฑ์ที่กล่าวมา ก็เรียกได้ว่าสามารถสมัครเข้าทำงานตำแหน่ง จปว. ได้ ยกเว้นจะมีข้อกำหนดเพิ่มเติม เช่น อายุ หรือประสบการณ์เฉพาะทางที่จำเป็นต่อการทำงาน จป.วิชาชีพในองค์กรนั้น ๆ 

ทั้งนี้ จปว. สามารถทำงานได้หลายสถานที่ หลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร วิตามิน ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือนหรือสำหรับการผลิตอะไหล่เพื่อส่งไปโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกต่อหนึ่ง 

นอกจากนี้ ยังต้อง มี จป. วิชาชีพ ในหน่วยงานด้านการไฟฟ้า การประปา งานทางปิโตรเลียม เคมี น้ำมัน ห้างสรรพสินค้า สถาบันทางการเงิน การธนาคาร การท่องเที่ยว และการโรงแรม เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ จป. เป็นผู้รับผิดชอบหลักด้านการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงดูแลด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการทำงานและลดเปอร์เซ็นต์อุบัติภัยให้มากที่สุด

 

สำหรับหน้าที่ของ จป. วิชาชีพนั้น ประกอบด้วยงานหลัก ๆ ดังนี้ 

  1. การตรวจสภาพการทำงานภายในอาคาร ทั้งด้านการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เครื่องจักรกลสำหรับการผลิตสินค้าชิ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่ง จปว. ต้องประเมินว่าจุดใดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้สูง และต้องทำรายงานต่อเจ้าของกิจการเพื่อการแก้ไขจุดบกพร่อง และลดความเสี่ยงของอุบัติภัยในอนาคต 
  1. จากข้อ 1. จป. วิชาชีพ จะเป็นผู้ศึกษาด้านอุปกรณ์ช่วยด้านความปลอดภัย เช่น การติดกระจกโค้งจราจร การติดโคมไฟระบบโซล่าเซลล์ และเสนอซื้อต่อผู้เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสี่ยงต่ออันตรายในมุมอับสายตาหรือจุดที่ทัศนวิสัยไม่ดี หรือการเสนอให้มีการติดอุปกรณ์จราจรเพิ่มภายหลังการสำรวจพบจุดที่มีความเสี่ยงต่อการลื่นหกล้ม โดยให้ติดยางกันลื่น หรือ เทปสะท้อนแสง เพื่อเป็นจุดสังเกตไม่ให้ลื่นหกล้มง่าย หรือการติดตั้งป้ายเตือนให้ระวังศีรษะถูกชนจากด้านบนเวลาขึ้นบันไดเลื่อน ดังที่มักเห็นในห้างสรรพสินค้า
  1. ตรวจและเก็บสถิติด้านอุบัติภัย ความเจ็บป่วยของพนักงาน และทำเป็น ป้ายสถิติด้านความปลอดภัยติดไว้ในพื้นที่ที่กำหนด เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้พนักงานระมัดระวัง ทำงานอย่างถูกต้องตามระเบียบขั้นตอน หรือ SOP ที่องค์กรกำหนด
  1. หากพบว่ามีอุบัติเหตุจากการมีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยไม่เพียงพอ ก็ต้องรวบรวมข้อมูลแล้วเสนอแนะเพื่อการจัดซื้อในสัดส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนพนักงานที่ต้องใช้ เช่น บริเวณบ่อน้ำ สระ หรือ บ่อบำบัดน้ำเสีย ควรมีรั้วมิดชิด และมีห่วงชูชีพสำหรับการช่วยเหลือหากมีการตกน้ำ 
  1. กรณีมีสารเคมีในการผลิตทางอุตสาหกรรม ต้องดูแลตู้และสถานที่เก็บสารเคมีที่ทำจากวัสดุที่ทนทาน มีความสูงเหมาะสมต่อการหยิบใช้ มีการป้องกันแสงและความชื้นได้ดี และแยกเก็บสารไวไฟหรือวัตถุที่ระเบิดได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังต้องมี ป้ายไฟฉุกเฉิน หรือ ป้ายถังดับเพลิง ในบริเวณใกล้เคียงกันเพื่อเป็นจุดสังเกตและหยิบใช้ถังดับเพลิงเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยได้สะดวก เป็นต้น
  1. จป. วิชาชีพ เป็นผู้ประสานงานกับกรมแรงงาน และหน่วยงานภายนอกเพื่อตรวจสอบมาตรฐานสถานประกอบการตามระเบียบของกฎหมาย เพื่อการต่ออายุของใบอนุญาตเสมอ
  1. ต้องหมั่นตรวจความสมบูรณ์ของอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เพื่อพร้อมเสมอสำหรับการรับมือกับเหตุร้าย เช่น ไฟไหม้ แก๊สรั่ว สารเคมีระเบิด ทั้งยังต้องมี ป้ายฉุกเฉิน ที่ชัดเจน ใกล้ทางหนีไฟที่มีความกว้างของช่องทางเหมาะสม ไม่เป็นคอขวด
  1. จป. วิชาชีพ ต้องประเมินจำนวนอุปกรณ์นิรภัยให้มีเพียงพอต่อการทำงานในแต่ละกะ หรือรอบทำงาน หรือพิจารณาจากจำนวนพนักงาน ควรเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม
  1. เป็นผู้จัดอบรม ซ้อมหนีไฟเป็นระยะ เพื่อลดความตื่นตกใจและให้พนักงานทุกคนพร้อมรับมือได้ดีขึ้นในสถานการณ์ฉุกเฉินจริง 

จะเห็นได้ว่างาน จป. มีความครอบคลุมกิจกรรมหลายด้าน เพราะทุก ๆ กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในองค์กรหรือสถานที่ปฏิบัติการ ย่อมต้องใส่ใจในความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ๆ หากท่านสนใจพัฒนางานด้านความปลอดภัย สามารถเลือกชมสินค้ามีคุณภาพของร้านไทยจราจร ได้ที่ www.trafficthai.com

Block "content-bottom" not found