ช่องจอดรถคนพิการถือเป็นสวัสดิการสำหรับผู้พิการที่นิยมนำมาใช้กว่าทั่วโลก โดยลักษณะช่องจอดรถสำหรับผู้พิการมักอยู่ใกล้อาคารหรือช่องทางเดินเพื่อให้สะดวกต่อการสัญจรเคลื่อนย้ายของผู้พิการ และช่องจอดรถสำหรับคนพิการควรมีขนาดกว้างช่องจอดรถปกติ เพราะผู้พิการที่นั่งรถเข็นจำเป็นต้องใช้พื้นที่สำหรับเคลื่อนย้ายมากกว่าคนปกติ และเพราะมักอยู่ในตำแหน่งที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการจอดรถคนอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการควบคุมช่องจอดรถสำหรับผู้พิการ จึงต้องมีการกำหนดเป็นมาตรฐานช่องจอดรถคนพิการ ร้านไทยจราจรขอชี้แจงรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1.การติดป้ายสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ กรณีกำหนดช่องจอดรถสำหรับผู้พิการโดยเฉพาะจะต้องมีการทำป้ายหรือสัญลักษณ์แสงให้ผู้ที่ต้องการจอดรถคันอื่น ๆ ทราบว่าช่องจอดรถส่วนใดถูกกำหนดเพื่อผู้พิการเท่านั้น ด้วยการนำป้ายช่องจอดรถคนพิการไปติดตั้งเอาไว้ หรือใช้สีที่จอดรถคนพิการมาทาลงบนพื้นบริเวณช่องจอดรถ เพื่อเป็นเจาะจงว่าใช้สำหรับผู้พิการโดยเฉพาะ สัญลักษณ์ผู้พิการตามรายละเอียดที่กำหนดในกฎหมายกระทรวงมหาดไทยเรื่องการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการหรือทุพพลภาพเอาไว้ว่า สัญลักษณ์รูปผู้พิการ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ อาจเป็นสัญลักษณ์หรือตัวอักษรแสดงประเภทของสิ่งอำนวยความสะดวก โดยกำหนดให้เป็นสีขาวบนพื้นป้ายสีน้ำเงิน หรือสลับกัน ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการต้องมีความชัดเจน สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ตำแหน่งที่ติดตั้งไม่ก่อให้เกิดความสับสน และต้องจัดให้มีระบบส่องสว่างเป็นพิเศษทั้งกลางวันและกลางคืน
2.ปริมาณของช่องจอดรถสำหรับผู้พิการ จำนวนที่จอดรถภายในอาคารสถานที่ต่าง ๆ นั้นต้องสัมพันธ์กับจำนวนที่จอดรถทั้งหมด ตามรายละเอียดต่อไปนี้หากจำนวนที่จอดรถมากกว่า 10 คัน แต่ไม่เกิน 50 คัน ให้มีที่จอดรถสำหรับผู้พิการอย่างน้อย 1 คัน แต่ถ้าจำนวนที่จอดรถตั้งแต่ 51 คัน แต่ไม่เกิน 100 คัน ต้องมีที่จอดรถสำหรับผู้พิการอย่างน้อย 2 คัน ส่วนจำนวนที่จอดรถตั้งแต่ 101 คันขึ้นไป ต้องมีที่จอดรถสำหรับผู้พิการอย่างน้อย 2 คัน และเพิ่มขึ้น 1 คัน ทุก ๆ จำนวนที่จอดรถที่เพิ่มมา 100 คัน เศษของ 100 หากเกินกว่า 50 คัน ให้คิดเป็น 100 คันเลย
3.สถานที่กำหนดเป็นช่องจอดรถผู้พิการ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าออกอาคารของผู้พิการ ช่องจอดรถสำหรับผู้พิการต้องจัดให้อยู่ใกล้ทางเข้าออกอาคารมากที่สุด ลักษณะของช่องจอดรถต้องไม่ขนานกับทางสัญจรของรถ พื้นผิวเรียบ ได้ระดับสม่ำเสมอกัน และมีทำสัญลักษณ์รูปคนพิการด้วยสีที่จอดรถคนพิการมาทาลงบนพื้นบริเวณช่องจอดรถเอาไว้ด้วย ขนาดของสัญลักษณ์กว้างไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตรเช่นกัน และต้องติดตั้งป้ายช่องจอดรถคนพิการเอาไว้ด้วย ป้ายที่ดีต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2000 มิลลิเมตร วางไว้ในตำแหน่งที่ผู้ขับขี่รถทุกคนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
4.ขนาดของช่องจอดรถสำหรับผู้พิการ ขนาดของที่จอดรถสำหรับผู้พิการควรมีความกว้างมากกว่าช่องจอดรถส่วนอื่น ๆ เนื่องจากต้องเผื่อพื้นที่ไว้สำหรับรถเข็นของผู้พิการด้วย ขนาดของช่องจอดรถที่ดีควรมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 2400 มิลลิเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6000 มิลลิเมตร และต้องมีที่ว่างข้างช่องจอดรถไม่น้อยกว่า 1000 มิลลิเมตร ตลอดความยาวของช่องจอดรถ ลักษณะของที่ว่างควรมีลักษณะพื้นผิวที่เรียบ ได้ระดับเสมอกับที่จอดรถ เพื่อให้สะดวกต่อการเข็นรถเข็นของผู้พิการ
5.ลักษณะทางเดินตั้งแต่ที่จอดรถจนถึงตัวอาคาร พื้นทางเดินต้องมีความเรียบ ไม่ลื่น ความกว้างของทางเดินสำหรับผู้พิการต้องไม่น้อยกว่า 1500 มิลลิเมตร หากมีท่อระบายน้ำหรือรางระบายน้ำขวางอยู่บนพื้นต้องมีฝาปิดสนิท หากฝามีลักษณะเป็นตะแกรงหรือรู ขนาดของช่องตะแกรงหรือเส้นผ่านศูนย์กลางของรูไม่ควรเกิน 13 มิลลิเมตร แนวร่องของตะแกรงหรือรางต้องอยู่ในลักษณะขวางกับทางเดิน หากมีลักษณะเป็นทางแยกหรือทางเลี้ยวควรทำให้พื้นผิวมีลักษณะผิวสัมผัสแตกต่างกัน ดูแลอย่าให้มีสิ่งกีดขวางบนทางเดิน หรือหากจำเป็นต้องมีควรจัดวางให้เป็นระเบียบห้ามกีดขวางทางเดิน ป้ายหรือสิ่งที่แขวนประกาศเหนือทางเดิน ต้องมีความสูงจากพื้นทางเดินไม่ต่ำกว่า 2000 มิลลิเมตร หากทางเดินมีระดับที่แตกต่างกัน ต้องทำให้พื้นมีความเอียงลาดที่มีความลาดชันไม่เกิน 1:10
เมื่อเตรียมช่องจอดรถสำหรับผู้พิการที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ร้านไทยจราจรก็ขอแนะนำให้มีการดูแลรักษาพื้นที่ดังกล่าวให้ดี หากเกิดลักษณะพื้นผิวที่ชำรุดควรดำเนินการซ่อมแซมทันที หรือหากภาพสัญลักษณ์ไม่ชัดเจนก็ควรแก้ไข เพราะผู้พิการจะได้เข้าออกอาคารได้สะดวกมากขึ้น หรือในระหว่างที่อยู่บนรถเข็นก็จะไม่เกิดอันตรายจากการสะดุดล้มเพราะพื้นผิวเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือมีตะแกรงขวางเอาไว้ กรณีทางมีความต่างระดับก็ควรทำเป็นทางลาดที่ไม่ชันจนรถเข็นไม่สามารถเข็นผ่านเข้าออกได้ ด้วยรายละเอียดเหล่านี้เป็นสิ่งที่เจ้าของอาคารต้องให้ความสำคัญและทำให้ถูกต้องตามข้อกำหนด
Block "content-bottom" not found