คลังสินค้า คือปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่โรงงาน บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมถึงสหกรณ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องมี เนื่องจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการจัดเก็บสินค้า ช่วยให้สินค้าของคุณมีสภาพพร้อมต่อการจัดจำหน่ายอยู่เสมอ นอกจากนี้ คลังสินค้ายังมีหน้าที่หลักคือช่วยในการเก็บสิ่งของที่เป็นปัจจัยด้านการผลิตต่าง ๆ อย่างเช่นสารตั้งต้น วัตถุต่าง ๆ ที่มีสภาพเป็นอันตรายให้อยู่อย่างมิดชิด ไม่รั่วไหลออกมาสร้างอันตรายให้กับสิ่งแวดล้อม หรือบุคคลที่อยู่ภายนอกได้
สำหรับการจัดตั้งคลังสินค้า หลายคนอาจจะคิดว่าไม่ต้องทำอะไรมาก แค่ก่อสร้าง ขออนุญาต ก็ได้คลังสินค้าที่บริหารจัดการได้เต็มที่แล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้ว นั่นเป็นความคิดที่ยังไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากเมื่อมีการจัดตั้งคลังสินค้า คุณจะมีหน้าที่รับผิดชอบหลายอย่างที่จะต้องทำเพื่อให้กิจการไปรอด และในบางกิจกรรม ถ้าคุณเผลอไปทำเมื่อไร คลังสินค้าของคุณจะต้องมีปัญหาทั้งในระหว่างการก่อสร้าง รวมถึงหลังจากก่อสร้างเสร็จแล้วเริ่มดำเนินการแน่นอน ในวันนี้ ร้านไทยจราจรจะพาคุณไปดูกันว่า พฤติกรมใดบ้าง ที่คุณห้ามทำเด็ดขาด ถ้าอยากให้กิจการคลังสินค้าของคุณเป็นไปได้ด้วยดีอยู่ ดังต่อไปนี้
1. ไม่เลือกทำเลให้เหมาะสม นึกจะตั้งตรงไหนก็ตั้ง คลังสินค้า จากชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นสถานที่ที่ใช้เก็บสินค้าสำหรับการผลิตหรือจัดจำหน่าย ดังนั้นจึงเป็นสถานที่ที่ควรตั้งในทำเลอันเหมาะสม อย่างเช่นในที่ ๆ ใกล้กับโรงงาน สามารถขนสิ่งของไปยังส่วนผลิตได้อย่างสบาย ไม่ใช่ว่าโรงงานตั้งอยู่จังหวัดหนึ่ง แต่ไปตั้งคลังสินค้าอยู่อีกจังหวัดหนึ่ง ก็ทำให้เสียทั้งเวลา เสียทั้งงบประมาณในการขนย้ายโดยใช่เหตุ นอกจากนี้ พื้นที่บางแห่งก็ไม่เหมาะสำหรับตั้งคลังสินค้า เช่น ใกล้ชุมชนแออัด หรือใกล้สถานที่สำคัญต่าง ๆ เพราะถ้าหากเกิดอุบัติขึ้นกับคลังสินค้า จะสร้างมลภาวะให้กับชุมชนได้มาก ยิ่งถ้าเกิดภัยร้ายแรงอย่างเช่นเพลิงไหม้ ความเสียหายก็จะกระจายตัวเป็นวงกว้าง
2. ไม่จ้างผู้ที่มีความรู้มาช่วยออกแบบคลังสินค้า ทำกันเองตามมีตามเกิด คลังสินค้า เป็นสถานที่ที่ต้องการแบบแปลนอันเป็นระบบ มีโครงสร้างที่มั่นคง ปลอดภัย เพราะฉะนั้นคุณจำเป็นต้องว่าจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญมาออกแบบให้เป็นการเฉพาะ อย่าสร้างเองตามมีตามเกิดอย่างไม่มีความรู้เด็ดขาด เพราะจะทำให้คลังสินค้าของคุณไม่ปลอดภัย ไม่สามารถรองรับสินค้าได้อย่างเต็มที่
3. คิดว่ายิ่งระดมสมองจะยิ่งดี จึงจ้างผู้ออกแบบ ผู้รับเหมามาหลายรายเพื่อออกแบบคลังสินค้า พฤติกรรมนี้ถือเป็นเรื่องที่คุณไม่ควรทำเด็ดขาด ถ้าอยากได้คลังสินค้าที่มีคุณภาพ เนื่องจากอาคารนี้เป็นอาคารที่ต้องการความแข็งแรงสูง แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ออกแบบแต่ละรายต่างก็มีไอเดียอยู่ในหัวของตัวเองที่แตกต่างกันไป ถ้าคุณจ้างมาหลายราย ผู้ออกแบบแต่ละรายก็จะขัดแย้งกันเอง จนในที่สุดคลังสินค้าของคุณก็ออกมาครึ่ง ๆ กลาง ๆ ใช้งานแล้วไม่สอดคล้องกัน หรือไม่ก็อาจทำให้งานไม่เสร็จไปเลยก็ได้
4. ออกแบบคลังสินค้ามาแบบไม่มีความยืดหยุ่น กะว่าจะใช้งานอย่างนั้นไปตลอดเลย ถ้าคุณเป็นคนที่กำลังคิดอย่างนี้อยู่ ขอให้ปรับเสียใหม่ เพราะในอนาคต คลังสินค้าของคุณก็มีโอกาสที่จะรับสินค้าเข้ามาอีกมาก หากคลังสินค้าของคุณไม่มีความยืดหยุ่น สุดท้ายคุณก็ต้องรื้อทำใหม่ เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา
5. ไม่ติดตั้งวัสดุกันความร้อนใต้หลังคา ข้อนี้เชื่อว่าคลังสินค้าหลายแห่งน่าจะเป็นกัน คือไม่ยอมติดตั้งวัสดุกันความร้อนใต้หลังคา ด้วยเหตุผลว่าเปลืองงบประมาณ แต่จริง ๆ แล้วควรมีการติดตั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนเข้ามาในคลัง จนทำให้สินค้าที่เก็บไว้ได้รับความเสียหาย
6. ประหยัดกับเรื่องพื้นมากเกินไป ใช้วัสดุทำพื้นที่ไม่ดีเท่าที่ควร คลังสินค้าบางแห่งคิดว่าสั่งทำพื้นแบบไหนก็ได้ ใช้ได้เหมือนกัน ขอบอกเลยว่านั่นเป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากถ้าคุณเลือกใช้พื้นได้แบบไม่แข็งแรง เมื่อเวลาผ่านไปได้สักพัก พื้นจะยุบตัว เสียสภาพ จนไม่สามารถใช้งานได้อีก
7. สร้างคลังสินค้าขึ้นมาแบบไม่มีแผนการจัดการเลย อยากจะสร้างก็สร้าง เมื่อเวลาผ่านไปได้สักพัก คุณจะรู้สึกว่าการจัดการภายในคลังของคุณนั้นมันลำบากเหลือเกิน ขยับขยายอะไรแทบไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้าคุณอยากมีคลังสินค้าชนิดที่ใช้งานได้จริง ขอให้เตรียมวางแผนการจัดการไว้ด้วย เพื่อที่จะได้มีความสะดวกในการใช้งานคลังสินค้าอย่างแท้จริง
8. ไม่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด ข้อนี้สำหรับคลังสินค้าขนาดใหญ่อาจจะไม่มีปัญหามากนัก แต่สำหรับคลังสินค้าขนาดเล็ก มักจะไม่ค่อยติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือถึงจะติดตั้ง แต่ก็เป็นกล้องรุ่นต่ำ ๆ ที่คุณภาพไม่ดี ยิ่งบางแห่งใช้เป็นกล้องวงจรปิดหลอกเลยก็มี ดังนั้น เมื่อคุณอยากทำคลังสินค้า ขอให้คุณติดตั้งกล้องวงจรปิดดี ๆ ตั้งแต่แรก เพื่อประโยชน์สำหรับคุณเอง
9. ไม่มีการติดตั้งป้ายเซฟตี้ เช่น ป้ายเตือนระวังวัตถุไวไฟ ป้ายเตือนให้ใส่แว่นตา เครื่องป้องกันหู เป็นต้น เพราะคิดว่าคนที่ผ่านไปผ่านมาน่าจะรู้ ขอบอกเลยว่านี่เป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่ผ่านไปผ่านมา มักจะไม่ค่อยทราบกันว่าในคลังสินค้านั้นมีอะไรบ้าง ทำให้อาจเดินพลาดเข้าไปในจุดอันตรายได้ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณมีคลังสินค้า คุณจะลืมป้ายเซฟตี้ไปไม่ได้เลย
10. ไม่นำแนวคิดแบบโลจิสติกส์มาใช้ จัดสถานที่กันแบบตามมีตามเกิด ส่งผลให้การบริการจัดการคลังสินค้าไม่มีประสิทธิภาพ เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา ทางที่ดีที่สุดที่ร้านไทยจราจรขอแนะนำก็คือ คุณควรจะนำแนวคิดนี้มาใช้งานดู ร้านไทยจราจรรับรองว่า คลังสินค้าของคุณจะได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาอีกหลายเท่า
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็คือ เรื่องที่ไม่ควรทำเมื่อคิดจะทำคลังสินค้า หากคุณอยากจะมีคลังสินค้าที่ได้คุณภาพ ขอให้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ รับรองว่าคลังสินค้าของคุณจะประสบความสำเร็จแน่นอน
Block "content-bottom" not found