ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรากำลังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจแบบ E-commerce และการตลาดแบบออนไลน์ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดการด้านสินค้าคงคลัง ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลามากขึ้น
การบริหารคลังสินค้าในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคที่ทันสมัย มีความเหมาะสม และสามารถให้ความแม่นยำในการคำนวณจำนวนสินค้าคงคลัง ให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าได้ตลอดทั้งปี ร่วมกับคำนึงถึงความปลอดภัยภายในพื้นที่โกดังและในอาคารคลังสินค้า เช่น การมีช่องทางออกฉุกเฉินพร้อมป้ายไฟทางออกฉุกเฉินที่เห็นได้ชัดเจน การมีถังดับเพลิงพร้อมป้ายตั้งถังดับเพลิง อยู่ในจุดที่หยิบใช้ได้สะดวก เป็นต้น
การใช้เทคนิคจุดสั่งซื้อซ้ำ หรือ Reorder point เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงสำหรับบริษัทห้างร้านยุคใหม่ ที่ต้องการเน้นเรื่องประสิทธิภาพและควบคุมค่าใช้จ่ายในการสำรอง หรือสต๊อกสินค้า ทำให้การบริหารคลังสินค้าทำได้อย่างมืออาชีพขั้นเทพยิ่งขึ้น ร้านไทยจราจรจึงไม่พลาดที่จะหยิบยกมาคุยกัน เพื่อให้นักธุรกิจรุ่นใหม่ สามารถนำไปประยุกต์ หรือปรับใช้ต่อยอดจากหลักการของ Reorder point ได้ดียิ่งขึ้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Reorder point คืออะไร
Reorder point หรือ จุดสั่งซื้อซ้ำ เป็นการคำนวณเพื่อกำหนดเป้าหมายไว้ ว่าควรมีสินค้าเท่าใดในคลังสินค้าหรือโกดังสินค้าจึงจะเพียงพอต่อการขาย ไร้ปัญหาการขาดแคลนสินค้าที่จะทำให้เสียโอกาสในการขาย และอาจทำให้ลูกค้าเลือกไปซื้อสินค้าของบริษัทคู่แข่งแทน รวมถึงป้องกันการมีสินค้าค้างสต๊อกมากเกินไป จนเสี่ยงต่อการหมดอายุ โดยเฉพาะสินค้าหมวดอาหารและเครื่องสำอาง และอาจต้องขาดทุนหากสินค้าตกเทรนด์ความนิยม ขายไม่ได้เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ ค่า Reorder point มีอะไรบ้าง
ในการคำนวณ ค่า Reorder point นั้น จะพิจารณาจากตัวแปรที่สำคัญสามตัวแปร คือ
1. ตัวแปรแรก คือค่าสต๊อกสินค้าสำรองหรือ Safety stock ที่ควรมีไว้บริการลูกค้าขั้นต่ำที่สุด มีสูตรคำนวณ ดังนี้
Safety stock = ( A x B ) – ( C x D )
โดย ค่า A คือ ปริมาณสินค้า อะไหล่ หรือวัตถุดิบ ที่ต้องการในระดับมากที่สุดของแต่ละวัน
ค่า B คือช่วงเวลาขั้นยาวนานที่สุด ที่ต้องใช้ในการจัดหาสินค้านั้น (หน่วยเป็นวัน)
ค่า C คือ ปริมาณสินค้า อะไหล่ หรือวัตถุดิบ ที่ต้องการในแต่ละวัน
ค่า D คือช่วงเวลาที่ต้องใช้ในการจัดหาสินค้านั้น (หน่วยเป็นวัน)
2. ตัวแปรที่สอง คือ ช่วงเวลารอคอย หรือ Lead time ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาภายหลังจากลูกค้าทำการตกลงกับบริษัทผู้ขายหรือผู้จัดจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเวลาในช่วงนี้จะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า แหล่งผลิต อายุสินค้า (หากสินค้าอายุสั้น ก็มักจะไม่ผลิตไว้ล่วงหน้านานนัก)
3. ตัวแปรสุดท้าย คือ อัตราการใช้สินค้า อะไหล่หรือวัตถุดิบนั้น หรือที่เรียกกันว่าค่า Demand Rate โดยดูจากค่าตัวเลขการขายสินค้าโดยเฉลี่ย หรือยอดขายการจองสินค้าที่ผ่านมา เป็นต้น
วิธีการคำนวณ ค่า Reorder point ทำอย่างไร?
สูตรคำนวณ ค่า Reorder point คือ
Reorder point = Lead time x demand Rate + Safety stock
จะขอยกตัวอย่าง เช่น บริษัท กขค เป็นบริษัทขายหม้อน้ำรถยนต์ มีความจำเป็นต้องใช้อะไหล่วันละ 50 ชิ้น (มีความต้องการมากที่สุด ที่ 80 ชิ้นต่อวัน) และในการสั่งซื้ออะไหล่แต่ละรอบนั้น ต้องมีช่วงเวลารอคอย 5 วัน (กรณีรอนานที่สุด คือ 7 วัน )
Safety stock = ( 80 x 7 ) – ( 50 x 5 ) = 310
ดังนั้น Reorder point = (5 x 50) + 310 = 560
แปลความได้ว่า ต้องทำการสั่งซื้ออะไหล่นี้รอบต่อไป เมื่อเหลือสต๊อกอะไหล่หม้อน้ำในคลังสินค้า จำนวน 560 ชิ้น ซึ่งในช่วงเวลา 7 วัน ที่ยาวนานที่สุดในการรอคอยนั้น บริษัทก็จะยังมีอะไหล่สำรองให้ใช้ได้เพียงพอ ถึง 310 ชิ้น ทีเดียว
อยากบริหารคลังสินค้าขั้นเทพ นอกจากค่า Reorder point แล้ว ยัง ต้องคำนึงถึงอะไรอีกบ้าง ?
นอกจากเรื่องตัวเลขจากการคำนวณแล้ว ยังต้องใส่ใจในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. การติดป้ายแถบ หรือบาร์โค้ดที่ช่วยแยกประเภทสินค้าได้อย่างชัดเจน โดย ต้องตั้งค่าให้ตรงกับโค้ดสินค้าที่ขายบนเว็บไซต์ เพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบสต๊อกและการบริการลูกค้าแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ในปัจจุบัน
2. ต้องเผื่อเหลือเผื่อขาด สำหรับการขายสินค้าตามเทศกาล หรือช่วงเวลาที่มีโปรโมชั่น เช่น ช่วงเทศกาลปีใหม่ ช่วงต่อภาษีรถยนต์ (สำหรับสินค้าที่เกี่ยวกับรถยนต์ เช่น ยางรถยนต์ อะไหล่ต่าง ๆ) เป็นต้น
3. ต้องติดตามสถานการณ์ของภาวะเศรษฐกิจและท้องตลาดอย่างใกล้ชิดเช่น ช่วงเวลาที่มีสงครามการค้าระหว่างประเทศ หรือมีการเพิ่มอัตราภาษีการค้าผลิตภัณฑ์บางกลุ่ม เป็นต้น
4. ภายในคลังสินค้าต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด เช่น มีตู้เวรยามที่ประตูทางเข้า พร้อมไม้กระดกอัตโนมัติควบคุมการผ่านเข้าออกด้วยการสแกนแถบบาร์โค้ด การมีกรวยจราจร และแผงกั้นจราจร สำหรับควบคุมทิศทางการเดินรถขนส่งสินค้าในพื้นที่คลังสินค้าและโกดัง เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการบริหารคลังสินค้าขั้นเทพเป็นไปได้ด้วย สูตรคำนวณ Reorder point ที่ทำให้สามารถสต๊อกสินค้าได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากน้อยจนเกินไป ร่วมกับการใส่ใจรายละเอียด ด้านอื่น ๆ เช่น ความปลอดภัย ทั้งภายในและภายนอกอาคารคลังสินค้าและโกดังเก็บของ การติดตามสถานการณ์ข่าวสารเป็นประจำ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้การบริหารคลังสินค้าเป็นไปอย่างมืออาชีพขั้นเทพอย่างแน่นอน
หากคุณกำลังมองหาสินค้าเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยขององค์กรทางธุรกิจ เชิญชมผลิตภัณฑ์ดีมีคุณภาพของเราได้ที่ www.trafficthai.com ร้านไทยจราจรยินดีให้บริการทุกท่าน