ยังไงก็ขายพอ!! มารู้จักการคำนวณ Minimum-Maximum ในการ Stock สินค้า

                  การทำธุรกิจในปัจจุบัน นอกจากต้องใส่ใจเรื่องสถานที่จัดเก็บสินค้าที่มีความปลอดภัย เช่น มีระบบกล้องวงจรปิดพร้อมไม้กระดกอัตโนมัติ มีโคมไฟระบบโซล่าเซลล์ ที่ให้แสงสว่างเพียงพอควบคู่กับการมีกระจกโค้งจราจรเพิ่มวิสัยทัศน์ในการสอดส่องดูแลด้านความปลอดภัยภายในบริเวณพื้นที่คลังสินค้าอย่างเพียงพอแล้ว
การคำนวณสินค้าคงคลัง หรือการจัดเก็บสต๊อกนั้น ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาสินค้าเก่าเก็บ ตกรุ่น หรือค้างสต๊อกนานจนหมดอายุสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจ ขณะเดียวกัน ก็ต้องบริหารให้มีสินค้าเพียงพอต่อการจัดจำหน่าย ป้องกันการเสียลูกค้าไปให้แก่บริษัทคู่แข่งอื่น ๆ
                 หนึ่งในหลักการคำนวณการสต๊อกสินค้าที่นิยมในปัจจุบันนั้น คือการคำนวณค่าMinimum-Maximum ของ item สินค้าแต่ละชนิด จะเป็นอย่างไรนั้น? ร้านไทยจราจรได้ ทำการรวบรวมมาไว้ให้คุณที่นี่แล้ว
ค่าMinimum-Maximum คืออะไร
             ค่า Minimum (Min) คือ ค่าตัวเลขต่ำที่สุด ที่ควรมีสินค้าไว้ในสต๊อก มีหน่วยเป็นจำนวนชิ้นสินค้าใน item นั้น ยกตัวอย่าง เช่น มีการขายอะไหล่ยางรถยนต์ รุ่น A ได้ 20 ชิ้น ต่อวันสม่ำเสมอ ก็ควรมีค่า Min เท่ากับ 20 ชิ้น เป็นต้น
            ส่วน ค่า Maximum คือ จำนวนสินค้าที่ควรมีในระดับสูงที่สุดในสต๊อก ไม่ควรมีมากกว่านี้ เพราะจะเสี่ยงต่อการมีสินค้าค้างเก่ามากมาย และมีโอกาสขาดทุนสูง
ค่าMinimum-Maximum ที่เหมาะสมมีหลักการคิด อย่างไร?
                 วิธีการคิดค่าปริมาณสินค้าต่ำที่สุด และสูงที่สุดที่ควรมีในสต๊อกนั้น มีลำดับการคำนวณ ดังนี้
1. ต้องมีการเก็บข้อมูลของสินค้าแต่ละชนิดเสียก่อน ว่าในแต่ละวันมีปริมาณที่ขายได้ หรือมีลูกค้าสั่งจองและมารับจริงมากน้อยเพียงใด โดยแนะนำว่าควรแยกเป็นตามวัน เช่น จันทร์ถึงศุกร์ และวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ มีปริมาณการสั่งซื้อแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร?
 ทั้งนี้ ควรบันทึกรายละเอียดไว้ด้วย ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับความนิยมซื้อสินค้าในวันนั้น เช่น มีตลาดนัดวันศุกร์ หรือเสาร์อาทิตย์ ทำให้มีคนเดินผ่านไปมามากกว่า ปกติ หรือเป็นวันที่ 1 และ 16 ของเดือนที่มีการประกาศผลสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น
2. ทำการคำนวณหาค่าเฉลี่ยว่าแต่ละวันมีการขายออกไปเท่าไรกันบ้าง โดยทำการแยกย่อยตามวันให้ได้ครบทั้งเจ็ดวัน หรืออาจหาเป็นค่าเฉลี่ยรายเดือนที่จำหน่ายได้
3. ทบทวนว่าที่ผ่านมามีระยะเวลารอคอยสินค้านานเพียงใด เช่น หากขายอะไหล่ยางรถยนต์ เมื่อมีออเดอร์จุดลูกค้ามาแล้ว เราทำการสั่งไปยังโรงงานให้จัดส่งมาที่หน้าร้านใช้เวลากี่วัน โดยเฉลี่ยอาจเป็น 5 วัน ก็ ทำการบันทึกไว้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ต้องเตือนว่า ต้องสั่งล่วงหน้ากี่วัน
4. ดูตัวเลขยอดขายที่ต่ำที่สุดของเดือน และสูงสุดของเดือนมาจดไว้ เป็นการตีเส้น ว่าไม่ควรสั่งสินค้าจำนวนต่ำกว่าระดับเส้น Min และปริมาณไม่สูงเกินกว่าระดับเส้น Max
5. นำค่าเฉลี่ยสินค้าที่ได้ จากการคำนวณข้างต้นมาร่วมพิจารณาในการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ผลิตให้มีความเหมาะสมอีกครั้ง
                 นอกจากค่า Minimum-Maximum แล้ว ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาร่วมอย่างไรบ้าง
การนำค่า Min-max มาคำนวณสต๊อก ต้องคำนึงถึงปัจจัยร่วมในการควบคุมสต๊อกที่ เหมาะสมดังต่อไปนี้ด้วย
1. ปัจจัยเสี่ยงด้านความนิยม หรือเทรนด์แฟชั่นที่อาจกระทบต่อความต้องการสินค้านั้น ของผู้บริโภค หากเป็นสินค้ากลุ่มเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง ควรศึกษาเทรนด์และสำรวจวิจัยทางตลาดควบคู่ด้วยเสมอ
2. ค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่จัดเก็บสินค้า ต้องไม่ลืมว่าต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสินค้าในคลังสินค้าหรือโกดังต่าง ๆ ไม่ว่า ค่าประกันสินค้า ค่าเช่าพื้นที่ที่มักแปรผันตามขนาดของคลังสินค้า รวมถึงทำเลที่ตั้ง และการควบคุมอุณหภูมิความเย็นที่จำเป็นในกลุ่มอาหารแช่แข็งด้วย ฯลฯ
3. การเลือกบริษัทที่ดูแลคลังสินค้าก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับที่ ต้องใส่ใจในระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด เพื่อป้องกันสินค้าสูญหาย หรือเสียหายจากเหตุไม่คาดฝัน เช่น เหตุการณ์อัคคีภัยได้ 100 เปอร์เซ็นต์
ในจุดนี้ สังเกตได้จากการติดตั้งอุปกรณ์ด้านการจราจรและความปลอดภัยขั้นพื้นฐานในคลังสินค้า ดังนี้
(1) ต้องมีระบบบาร์โค้ด กล้องวงจรปิด และไม้กระดกอัตโนมัติควบคุมการผ่านเข้าออกของทุกคนที่ช่องทางประตูทุกจุด
(2) มีถังดับเพลิง ป้ายตั้งถังดับเพลิง ในจุดที่พร้อมใช้งาน เห็นง่าย และมีการฝึกซ้อมรับมือเหตุการณ์ไฟไหม้ สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในโกดังคลังสินค้าอย่างสม่ำเสมอด้วย
(3) มีป้ายทางออกฉุกเฉิน ที่เห็นได้ชัดเจน ในระยะห่างที่เหมาะสม และที่สำคัญ คือ บริเวณทางออกใกล้บันได ต้องโล่ง ไร้สิ่งกีดขวาง
(4) มีสัญญาณไซเรนเตือนภัย พร้อมใช้งาน เพื่อแจ้งเหตุสำหรับเตรียมขนย้ายสิ่งของออกจากพื้นที่เสี่ยง เป็นต้น
4. การมีบริษัทแหล่งผลิตอื่น ๆ ไว้ สำรองกรณีที่บริษัทคู่ค้าเดิมมีปัญหาในการผลิต หรือจัดส่งสินค้าไม่ทันตามเวลา เพื่อป้องกันสินค้าขาดแคลน และทำให้ต้องเสียลูกค้าไปให้บริษัทคู่แข่งอื่น ๆ
                   เป็นอย่างไรกันบ้าง กับการนำค่า Minimum-Maximum มาใช้ในการควบคุมสต๊อกสินค้าในคลังสินค้า ควรใช้พิจารณาควบคู่กับสิ่งใดบ้าง ก็เป็นที่ทราบแล้วดังที่กล่าวมาข้างต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านในการวางแผน และบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีขายอย่างเพียงพอ ไร้ปัญหาขาดแคลนสินค้า และไม่สต๊อกสินค้าล้นเกินความจำเป็นอีกต่อไป
หากคุณกำลังมองหา อุปกรณ์ที่ช่วยส่งเสริม ด้าน ความปลอดภัย ในคลังสินค้า และโกดังต่าง ๆ เชิญชมสินค้าดีมีคุณภาพของเราได้ ที่www.trafficthai.com ร้านไทยจราจรยินดีให้บริการทุกท่าน

Block "content-bottom" not found