แบบนี้ต้องเเชร์!! แจก…ขั้นตอนการปั๊มหัวใจ ที่ถูกวิธีเค้าทำอย่างไร?

            การปั๊มหัวใจ ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานหรือซีพีอาร์ (CPR) ผู้ทำมีความจำเป็นต้องรู้ขั้นตอนที่ถูกต้องเพื่อให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพมากที่สุดและเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยให้มีมากขึ้น วันนี้ ร้านไทยจราจร ผู้จำหน่าย กรวยจราจร ทุกชนิด ขอนำเสนอวิธีที่ถูกต้องในการทำซีพีอาร์ โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่เผยแพร่โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รณรงค์ให้ทุกคนตระหนักเรื่องการช่วยชีวิตและมีความรู้ในเรื่องนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่เกิดอุบัติเหตุในสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้อง
            หากถามว่าการทำซีพีอาร์จำเป็นหรือไม่ คำตอบที่ทุกคนตอบได้ทันทีก็คือ “จำเป็น” ซึ่งก็มีข้อมูลทางการแพทย์ช่วยสนับสนุนในเรื่องนี้ โดยเป็นข้อมูลที่ระบุว่าหัวใจเป็นศูนย์กลางของร่างกายในการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ รวมถึงสมอง รายงานทางการแพทย์ระบุว่าหากสมองขาดเลือดและออกซิเจนเป็นเวลาประมาณ 5 นาที เซลล์สมองบางส่วนจะถูกทำลาย ซึ่งต่อให้ผู้ป่วยกลับมาหายใจและได้รับความช่วยเหลือจนหัวใจกลับมาเต้นหลัง 5 นาที ไปแล้ว เซลล์สมองที่ถูกทำลายไปก็จะไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ และไม่อาจฟื้นเซลล์เดิมกลับมาได้ด้วย สำหรับการทำซีพีอาร์มีด้วยกัน 2 วิธีคือการทำโดยไม่มีอุปกรณ์ช่วย และการทำร่วมกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติหรือเออีดี (AED) อย่างไรก็ตาม แพทย์ระบุว่าหากทำควบคู่กับเครื่อง AED ผู้ป่วยจะมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 45% มาดูขั้นตอนของวิธีทั้งสองกันได้เลย
1. การทำซีพีอาร์โดยไม่มีเครื่อง AED
          เป็นวิธีพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ เพราะเรามีสิทธิ์ไปเจอคนหมดสติได้ตลอดเวลา เช่นคนที่เดินอยู่ด้านหน้าคุณ หากเขาเป็นผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคหัวใจอยู่แล้ว หรือเป็นผู้ที่ประสบกับภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เขาก็อาจล้มลงหมดสติได้ทันที หรือบางครั้งหากคุณวิ่งออกกำลังกายในสวนสาธารณะหรือตามงานวิ่ง ก็อาจพบนักวิ่งล้มลงหมดสติได้ คงเป็นโชคดีของเขาเหล่านั้นหากคนที่วิ่งหรือเดินตามมารู้วิธีทำซีพีอาร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
• ก่อนเริ่มลงมือทำซีพีอาร์ควรตรวจสอบความปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุซึ่งอาจเกิดขึ้นเพิ่มเติม เช่นตรวจดูว่าบริเวณนั้นมีสายไฟที่อาจเป็นเหตุให้เกิดไฟรั่วและไฟช็อตหรือไม่
• สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจราจรหรือผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในอาคาร ก่อนลงมือทำซีพีอาร์ ควรดำเนินการกั้นพื้นที่ความปลอดภัย เพื่อลดจำนวนคนไม่เกี่ยวข้องที่มามุงดู ทำให้การช่วยเหลือทำได้ยากลำบากขึ้น ซึ่งขอแนะนำว่าควรใช้ กรวยจราจร ติดแถบสะท้อนแสงซึ่งมีความทนทานต่อทุกสภาพอากาศและมีอายุการใช้งานถึง 5 ปี เหมาะอย่างยิ่งกับการกั้นรถโดยทั่วไปหรือนำมาประยุกต์ใช้กั้นพื้นที่สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ควรใส่ เสื้อจราจร หรือ เสื้อสะท้อนแสง ด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานเอง
• ตบไหล่และเรียกผู้ป่วยเพื่อดูว่ารู้สึกตัวและหายใจได้เองหรือไม่ หากหายใจได้เอง ให้จัดท่านอนตะแคงเพื่อรอรับความช่วยเหลือต่อไป การนอนตะแคงทำเพื่อป้องกันลิ้นหรือสิ่งแปลกปลอมในปากไหลลงไปปิดทางเดินหายใจ … แต่หากไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง ให้ทำตามขั้นตอน ซึ่งถือเป็นการเริ่มการปั๊มหัวใจ
• ระหว่างนี้ให้โทรสายด่วนฉุกเฉิน 1669 เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาพร้อมกับเครื่อง AED
• เริ่มต้นทำซีพีอาร์ ด้วยการจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างประสานกันไว้
• กดหน้าอกด้วยอัตรา 100-120 ครั้งต่อนาที โดยอาจนึกถึงเพลงที่มีจังหวะสม่ำเสมอและเป็นเพลงจังหวะปานกลางค่อนไปทางเร็วไว้ในใจเพื่อเป็นตัวช่วยให้การทำซีพีอาร์ได้จังหวะต่อเนื่อง
• ส่งต่อผู้ป่วยให้แก่ทีมกู้ชีพเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
2. การทำซีพีอาร์ควบคู่กับการใช้เครื่อง AED
            หลายหน่วยงาน โดยเฉพาะองค์กรหรือบริษัทขนาดใหญ่ เริ่มมีการจัดหาเครื่อง AED มาไว้ใช้บ้างแล้ว ซึ่งทุกคนในหน่วยงานควรรู้วิธีใช้เครื่องนี้ด้วย เพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้ทันทีกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้น วิธีทำ CPR ร่วมกับเครื่อง AED มีขั้นตอนคือ
• เปิดเครื่องเออีดี พร้อมกับการจัดท่านอนให้ผู้ป่วยนอนหงาย และถอดเสื้อของผู้ป่วยออก
• ติดแผ่นนำไฟฟ้า (แผ่นเออีดีที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง) โดยติดสองจุดคือใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา (บริเวณไหล่) กับบริเวณชายโครงด้านซ้าย
• ตั้งใจฟังคำสั่งจากเครื่อง ทำตามอย่างเคร่งครัด โดยเครื่องจะสั่งให้ช็อกไฟฟ้า ให้คุณกดปุ่มช็อกและทำการกดหน้าอกในทันที (รูปแบบและตำแหน่งมือเหมือนกับแบบทำโดยไม่ใช้เครื่อง) หากเครื่องไม่ได้สั่งอะไรก็ให้กดหน้าอกต่อไปเรื่อย ๆ ด้วยจังหวะแบบเดียวกับที่ใช้ในการทำ CPR แบบแรก ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือขณะกดปุ่มช็อกไฟฟ้า ห้ามใช้มือสัมผัสร่างกายผู้ป่วยเป็นอันขาด เพราะคุณจะได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้าที่ออกมา
• ทำตามขั้นตอนทั้งสองโดยยึดคำสั่งจากเครื่องเออีดี ทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง
• ส่งผู้ป่วยให้ทีมกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาลต่อไป ข้อควรระวังเกี่ยวกับเครื่องเออีดีอีกอย่างคือควรตรวจสอบแบตเตอรี่ของเครื่องว่าไม่มีการเสื่อมสภาพ เพื่อให้ใช้งานได้ทุกเวลาที่ต้องการและไม่เกิดกรณีใช้ไม่ได้หรือใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพในสถานการณ์ฉุกเฉิน
              ผ่านไปแล้วสำหรับการปั๊มหัวใจทั้งแบบธรรมดาและแบบทำร่วมกับเครื่องเออีดี ทีนี้ก็หมดห่วงไปเลยว่าคุณจะตกใจจนทำอะไรไม่ถูกเมื่อพบคนหมดสติ นับจากนี้ขอเพียงคุณควบคุมสติของตัวเองให้มั่นคง พร้อมรับกับสถานการณ์ และทำตามขั้นตอนที่ ร้านไทยจราจร ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง อุปกรณ์จราจร ได้แนะนำในบทความนี้ คุณก็จะมีโอกาสช่วยชีวิตผู้ที่ต้องได้รับการช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทุกที่ทุกเวลา ต่อชีวิตให้ผู้คนได้อีกมากมาย

Block "content-bottom" not found