การทำงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอาคารใหม่หรือว่าซ่อมแซมปรับปรุงแก้ไขอาคารเก่า เช่น ทาสีอาคาร ตกแต่งภายในอาคาร รื้อถอน ฝ้าเพดาน ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงานได้ ในบทความนี้ ร้านไทยจราจร จึงได้รวบรวมอันตรายจากอุบัติเหตุไม่คาดฝัน 9 ชนิด ที่พบได้ขณะที่อยู่ในไซต์งานก่อสร้าง เพื่อให้ทุกคนระมัดระวังกันมากขึ้น ดังนี้
1. การมีสิ่งของร่วงจากชั้นบนตกใส่คนข้างล่าง เกิดจากความประมาทในการใช้เครื่องมือ เช่น หยิบจับเครื่องมือโดยไม่ระวัง มีการหยอกล้อ พูดคุยเล่นระหว่างการทำงาน ทำให้อุปกรณ์งานช่างร่วงหล่นใส่ศีรษะคนที่อยู่ข้างล่างได้ ดังนั้นคนที่ทำงานในไซต์งานก่อสร้าง จึงต้องไม่ประมาทและต้องสวมใส่อุปกรณ์นิรภัย เช่น หมวกนิรภัย เพื่อไม่ให้สิ่งของที่ร่วงหล่นลงมานั้นกระแทกบนศีรษะโดยตรงด้วย
2. การเดินเหยียบเหล็ก ตะปู ทำให้เกิดบาดแผล เพราะการที่ไม่ใส่ใจคำเตือนต่าง ๆ จากป้ายที่ติดด้านหน้าไซด์ก่อสร้าง เช่น ป้ายห้ามเข้าหรือป้ายเตือนที่ระบุว่าบริเวณแหล่งก่อสร้างโปรดระมัดระวัง เป็นต้น ซึ่งบริเวณรอบ ๆ ที่ก่อสร้างก็อาจมีเศษสิ่งของเหล่านี้ร่วงหล่นได้ด้วย ผู้ที่ไม่มีหน้าที่ในการทำงาน ก็ไม่ควรจะเข้าไปในบริเวณไซต์ก่อสร้าง
3. การที่รถเครน หรือรถบรรทุกถอยทับคนหรือเด็ก ที่มาเล่นบริเวณก่อสร้าง เนื่องจากเป็นจุดอับสายตา และระดับที่นั่งคนขับสูงไม่สามารถเห็นคนได้ถนัด ทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่ทำงานและอยู่บริเวณที่มีการก่อสร้างก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น ต้องดูแลเด็ก ๆ ไม่ให้มาเล่นบริเวณไซด์ก่อสร้าง โดยให้สังเกตจากบริเวณที่มีการวาง กรวยจราจร กั้นพื้นที่
4. การที่คนทั่วไปเดินตกหลุม ตกท่อ เพราะไม่มีการกั้นบริเวณ ด้วย กรวยจราจร ทำให้ไม่ทันระวัง โดยเฉพาะเวลากลางคืน ดังนั้น ผู้ที่รับผิดชอบก่อสร้างต้องใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยมากั้นพื้นที่ ซึ่ง กรวยจราจร ก็มีแบบติดแถบสะท้อนแสง 2-3 แถบ ที่ทำให้สามารถเห็นชัดเจน และมีแบบเปล่งแสงได้ มีไฟแอลอีดี ที่ช่วยให้สว่างมากขึ้นด้วย
5. การที่ยางล้อรถแตกรั่ว จากการเหยียบตะปู เศษเหล็ก กระจก ทำให้มีปัญหารถติดตามมาบริเวณไซด์ก่อสร้าง เนื่องจากขับรถไปในเส้นทางที่มีการซ่อมแซม ผู้ก่อสร้าง จึงควรติด ไฟกระพริบลูกศรแอลอีดี ที่ช่วยแสดงให้เห็นว่าทางข้างหน้ากำลังจะมีจุดใดที่ต้องระมัดระวังบ้าง หรือควรใช้เส้นทางใดจึงจะปลอดภัย ก็จะช่วยลดปัญหานี้ได้
6. นั่งร้านที่เก่าร่วงพัง เพราะทำจากไม้ที่ไม่แข็งแรงหรือเก่า จึงชำรุดทรุดโทรมและร่วงพังได้ หรือเกิดจากการที่วางสิ่งของหรือคนนั่งมีน้ำหนักมากเกินไปได้ อุบัติเหตุจากสิ่งของที่ตกหล่นใส่คนงานที่อยู่ด้านล่างและคนที่นั่งบนนั่งร้าน ก็อาจได้รับอันตรายร้ายแรงจนเสียชีวิตได้
7. ปัญหาดินถล่มขณะที่ทำการก่อสร้างชั้นใต้ดิน มักเกิดในฤดูฝน พร้อมกับปัญหาฟ้าผ่า น้ำท่วมขัง ที่ทำให้คนงานเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าเสียชีวิตได้ รวมถึงอาจมีอันตรายจากอุบัติเหตุไฟดูดไฟฟ้าลัดวงจร เมื่อใช้เครื่องมือขุดเจาะได้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลการก่อสร้างต้องให้ความสำคัญกับการก่อสร้างในช่วงฤดูฝน
โดยเฉพาะหากเกิดเหตุการณ์ดินถล่มทับคนงาน หรือปิดทางเข้าออก ทำให้มีคนงานติดอยู่ภายในชั้นใต้ดิน ที่ทำให้ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ หรือหากสามารถอยู่ต่อได้หลายชั่วโมง แต่ถ้าไม่สามารถที่จะได้รับน้ำและอาหาร ก็ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เช่นกันดังนั้น บริเวณที่ทำการขุดลงไปใต้ดิน ควรจะมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการขอความช่วยเหลือ เช่น เครื่องขยายเสียง ไฟฉายสปอตไลท์ เพื่อให้ใช้ส่งเสียงหรือส่องแสงออกมาจากใต้ดินขอความช่วยเหลือได้
8. ปัญหาปั้นจั่นเหวี่ยงโดนคนหรือสิ่งของ ทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต และมีชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้างแตกกระจายร่วงหล่นใส่คนงาน จึงต้องป้องกันโดยใส่หมวกนิรภัย และ เสื้อสะท้อนแสง เพื่อลดความรุนแรงของอุบัติเหตุและทำให้สังเกตได้ง่าย ทั้งนี้ ในการทำงานในพื้นที่ที่เสียงดังโดยที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน จะทำให้มีปัญหาเรื่องของการหูได้ยิน หูอื้อ ทำให้ไม่สามารถได้ยินเสียงที่คนอื่นเรียกเตือนอันตรายได้ จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น ผู้ดูแลเรื่องการก่อสร้าง จึงควรมีอุปกรณ์ลดมลภาวะทางเสียงให้คนทำงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างปลอดภัยขึ้นด้วย
9. ปัญหาลวดสลิงขาด เกิดจากการที่ใช้ลวดสลิงไม่ถูกวิธี ลวดสลิงเส้นเล็กเกินกว่าน้ำหนักที่ใช้ เส้นลวดสลิงเก่า เกิดจากการขาดการดูแลซ่อมแซม ทำให้เกิดอุบัติเหตุในระหว่างการใช้งานได้ ดังนั้น ผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากลวดสลิงจากการที่ลวดสลิงนั้นเหวี่ยงไปถูกคน หรือมีสิ่งของร่วงหล่นจากสลิงขาดลงมาถูกคนด้านล่าง เป็นต้น
หวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ในการทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีความระมัดระวังมากขึ้น เพราะสิ่งที่ ร้านไทยจราจร ยกตัวอย่างมา สามารถเกิดขึ้นได้กับการทำงานในไซต์ก่อสร้างทุกที่ ทั้งการปลูกสร้างอาคารใหม่และการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเก่า ผู้ทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างจึงต้องดูแลคนงานอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องของการมีอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยให้แต่ละคน การมีอุปกรณ์กั้นพื้นที่ที่เพียงพอ การมีอุปกรณ์ใช้เวลาฉุกเฉินหากมีอุบัติเหตุขั้นร้ายแรง เช่น ไฟฉาย เปลสนาม เพื่อป้องกันและช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุในไซต์ก่อสร้างได้
Block "content-bottom" not found