ลานจอดรถที่ออกแบบมาเพื่อคนปกติ ก่อความไม่สะดวกในการใช้สอยให้กับคนพิการ เช่น ช่องจอดที่ติดกันมากจนไม่สามารถนำรถเข็นลงจากรถได้ หรืออาจถึงกับทำให้คนพิการบาดเจ็บได้ เช่น เสาไฟที่ไม่มีพื้นต่างสัมผัสโดยรอบ ทำให้คนตาบอดเดินชน ร้านไทยจราจรจึงขอนำเสนอ 10 ข้อที่ควรคำนึงถึงคนพิการในการออกแบบลานจอดรถ ดังนี้
1. ช่องจอดรถคนพิการต้องมีป้ายเสมอ
ป้ายช่องจอดรถคนพิการมีขึ้นเพื่อบอกให้ผู้อื่นทราบว่าเป็นช่องจอดสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ โดยตัวป้ายจะต้องมีความกว้างและความยาวไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และควรติดอยู่บนเสาสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร ทว่าในระดับที่ดีที่สุดคือประมาณ 2.5 เมตร เพราะเป็นจุดสายตาที่คนขับรถเห็นได้ดีที่สุดในระยะไกล
2. ช่องจอดคนพิการควรทาด้วยสีฟ้า
เนื่องจากลานจอดรถทั่วไปมักเต็มไปด้วยสีขาวและสีเหลือง โดยสีขาว เช่น เส้นระหว่างช่องจอด และสีเหลือง เช่น พื้นที่ห้ามจอด ลูกระนาด หรือ บนยางชะลอความเร็ว ดังนั้นในช่องจอดคนพิการควรทำให้แตกต่างด้วยการใช้สีทาถนนสีฟ้าทาภายในช่องจอดสำหรับคนพิการและต้องมีเครื่องหมายคนพิการบนพื้นด้วย โดยขนาดสุทธิของช่องจอด ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร และต้องมีที่ว่างด้านข้างอีกไม่น้อยกว่า 1 เมตรตลอดความยาวของช่องจอด โดยเป็นพื้นที่ราบเรียบเสมอกันกับพื้นที่จอดรถ
3. เว้นระยะให้รถเข็นลงจากรถได้
ช่องจอดรถคนพิการควรเว้นระยะห่างระหว่างกันเพื่อให้คนพิการสามารถนำรถเข็นออกมาได้ ระหว่างช่องจอดแทนที่จะตีเส้นเส้นเดียวเหมือนช่องจอดคนปกติ ควรใช้สีขาวทาถนนหรือใช้เทปติดถนนสะท้อนแสงสีขาวตีกรอบบนพื้นถนนเอาไว้ประมาณ 1 เมตร จากนั้นขีดเส้นทแยงภายในให้เต็ม ผู้ขับขี่จะได้ทราบว่าเป็นพื้นที่ห้ามจอด
4. กั้นล้อในช่องจอดคนพิการ
เจ้าของอาคารสถานที่ที่เอาใจใส่คนพิการ อาจใช้ยางกั้นล้อแทนคอนกรีตกันล้อในช่องจอดสำหรับคนพิการ เพราะหากคนพิการที่ขับรถเอง บังเอิญถอยรถพลาดจนล้อออกนอกยางกั้นและตัวถังครูดกับยาง รถของคนพิการก็จะไม่เสียหายแต่ประการใด
5. ควรดูแลให้ช่องจอดคนพิการว่างไว้สำหรับคนพิการเสมอ
ทางที่ที่สุดที่จะดูแลช่องจอดไม่ให้คนปกติเข้ามาจอด คือ ควรใช้แผงกั้นจราจร และควรมี รปภ. สำหรับเปิด-ปิดแผงกันจราจรให้รถที่มีคนพิการเท่านั้นที่เข้ามาจอดได้
6. ควรมีทางลาดสำหรับคนพิการเสมอ
จากช่องจอดรถคนพิการสู่บาทวิถี ควรมีทางลาดสำหรับรถเข็นคนพิการด้วย โดยทางลาดจะต้องมีราวกันตกหรือลูกกรงซี่เล็กที่เล็กเกินกว่าที่ไม้เท้าคนตาบอดจะเข้าไปติดได้
7. ควรมีพื้นผิวต่างสัมผัสบนบาทวิถีใกล้ช่องจอดคนพิการ
บางครั้งคนพิการทางสายตาอาจนั่งรถที่มีคนตาดีขับมาให้ เขาก็สามารถใช้ช่องจอดคนพิการได้เช่นกัน ดังนั้นบนทางเท้าที่ติดกับช่องจอดรถคนพิการจึงต้องมีพื้นผิวต่างสัมผัสลายปุ่มเพื่อบอกให้ผู้พิการทางสายตาทราบว่าจะต้องก้าวขึ้นสู่บาทวิถี อีกทั้งบนบทบาทวิถีควรมีพื้นผิวต่างสัมผัสลายทางนอนเพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นทางเดิน พื้นผิวต่างสัมผัสอาจทำได้ด้วยการใช้กระเบื้องปูพื้นสำหรับคนพิการหรือปุ่มทางเดินสำหรับคนพิการที่ปูง่ายแถมยังแข็งแรงทนทานอีกด้วย
หากเจ้าของอาคารสถานที่ใดยังมีลานจอดรถที่ถูกออกแบบมาให้คนปกติใช้สอย คุณสามารถปรับลานจอดรถของคุณให้สะดวกและปลอดภัยกับคนพิการได้ง่าย ๆ ตามที่ได้นำเสนอไปแล้วทั้ง 10 ข้อ และถ้าหากคุณไม่ทราบว่าจะหาซื้ออุปกรณ์จราจรในการปรับลานจอดรถของคุณได้ที่ไหน ลองมาเลือกซื้อที่ร้านไทยจราจรได้ทุกเมื่อ รับรองไม่ผิดหวังแน่นอน
Block "content-bottom" not found