10 วิธีป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ในบ้านของคุณ

การออกไปท่องเที่ยวข้างนอกบ้าน บางคนบ้างก็ว่าจะเสี่ยงให้เกิดอันตรายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั้งตัวเราที่ประมาทเอง ทั้งตัวของผู้อื่นที่ไม่ระมัดระวัง เช่น ฝ่าฝืน สัญญาณไฟจราจร และการออกไปข้างนอกบ้านยังอาจได้รับอันตรายจากคนไม่ดีที่จ้องจะชกชิงวิ่งราวทรัพย์สินของเราไปเป็นของตัวเอง แต่ใครจะรู้ว่าการอยู่ติดบ้านนั้นก็ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไปเหมือนกัน เพราะอาจจะเกิดอุบัติภัยที่เราเองก็ไม่สามารถล่วงรู้ล่วงหน้าได้ หนึ่งในอุบัติภัยที่พบเจอได้บ่อย ๆ ตามข่าวโทรทัศน์คือข่าวเพลิงไหม้ ซึ่งภัยร้ายดังกล่าวที่เกิดขึ้นเป็นไปดังที่คำโบราณกล่าวเอาไว้ว่า “โจรปล้นร้อยครั้งไม่เท่ากับไฟไหม้ครั้งเดียว” เพราะเปลวไฟสามารถลุกลามไปได้อย่างรวดเร็วและพรากเอาทรัพย์สินรวมไปถึงที่อยู่อาศัยไปได้ในชั่วเวลาไม่กี่นาที ทั้งยังไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะสามารถทวงคืนสิ่งที่เสียหายไปกลับมาได้เหมือนอย่างเช่นการถูกจี้ปล้น
สาเหตุอันดับต้น ๆ ของเพลิงไหม้ในบ้านนั้น คือ การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เพราะผู้คนมักไม่ใส่ใจกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่บ้านมากนัก และไม่คิดว่าไฟฟ้าลัดวงจรจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ กับบ้านของตนเอง ยิ่งบ้างบ้านที่เพิ่งจะสร้างเสร็จใหม่ ๆ ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่ ๆ ทั้งหลังแล้ว ไฟฟ้าลัดวงจรก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ถ้าหากคิดแบบนั้น จะเป็นการประมาทอย่างไม่รู้ตัว เพราะการที่จะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้มันมีหลายสาเหตุและมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา! ทางร้านไทยจราจรของเราจึงขอให้ความรู้และแนะนำวิธีการป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดจรเบื้องต้นเพื่อนำไปใช้ในบ้านของคุณ เพื่อความปลอดภัยของคุณและคนในครอบครัวที่คุณรัก

ไฟฟ้าลัดวงจรคืออะไร?
ไฟฟ้าลัดวงจรคือการที่จุด 2 จุดที่มีความดันไฟฟ้าต่างกันในวงจรไฟฟ้ามาแตะสัมผัสกัน ไม่ว่าจะมีตัวนำไฟฟ้าหรือไม่ก็ตาม ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านในปริมาณที่สูงจนมากเกินไป ณ จุดที่แตะกันจึงทำให้เกิดไฟขึ้นและเผาไหม้ลุกลามไปตามวัสดุติดไฟใกล้เคียงจนกระทั่งลุกลามเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ไฟฟ้าลัดวงจรยังสามารถเกิดได้จากการสายไฟที่ขาดชำรุดไปแตะสัมผัสกับพื้นดินหรือตัวนำไฟฟ้าที่สัมผัสกับดินได้อีกด้วย
หากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าไฟฟ้าจะลัดวงจรได้เมื่อไหร่ เราก็ควรที่จะรับมือกับมันได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ง่าย ๆ ดังนี้

1. เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานมอก. เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานนี้จะเป็นการการันตีถึงคุณภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าว่าจะมีความปลอดภัยในระดับหนึ่งแน่นอน เนื่องจากได้รับการตรวจสอบมาอย่างเข้มข้น แม้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับการรับรองจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ก็นับว่าเทียบไม่ได้เลยกับคุณค่าของชีวิตคุณและคนที่คุณรัก

2. สังเกตบัลลาสต์ให้ดี ๆ หลายท่านที่ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับการไฟฟ้าอาจจะไม่รู้จักเจ้าอุปกรณ์นี้ บัลลาสต์คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้สูงจนสามารถใช้งานได้และควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าที่จะผ่านเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม หากขณะใช้งานไฟนาน ๆ แล้วเกิดเสียงดังผิดปกติมาจากบัลลาสต์ก็ให้เปลี่ยนบัลลาสต์ใหม่ โดยเลือกซื้อยี่ห้อได้มีมาตรฐานมอก.อีกเช่นกัน

3. ฟิวส์เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าเมื่อเกิดความร้อนที่มากเกินไป เมื่อฟิวส์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าขาด ให้ซื้อฟิวส์ที่มีขนาดเหมาะสมกับกระแสไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้ามาเปลี่ยน ห้ามใช้ฟิวส์ที่มีขนาดต่ำกว่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้ และห้ามนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ฟิวส์ขาดมาใช้ต่อเด็ดขาด

4. ถอดปลั๊กให้ถูกวิธี หลายคนคงชินชากับการที่ถอดปลั๊กด้วยวิธีง่าย ๆ อย่างการดึงสายไฟแทนที่จะจับที่ตัวปลั๊ก การดึงแบบนี้อาจทำให้สายไฟด้านในขาดได้

5. ไม่ฝืนใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดไปแล้ว เช่น ปลั๊กไฟชำรุด หรือสวิตช์เปิดปิดที่เต้ารับแตก แม้ว่าจะดูเล็กน้อยและเครื่องใช้ไฟฟ้าจะยังทำงานได้ก็ตาม

6. ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน สาเหตุนี้มักพบได้บ่อยในข่าวเพลิงไหม้ หลายบ้านมักเสียบปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ อย่างเช่น พัดลม ทีวี เพราะจะได้ไม่ต้องเสียบใหม่ทุกครั้ง แต่คุณรู้หรือไม่ว่า แม้ว่าคุณจะทำการปิดสวิตช์ของมันแล้ว แต่กระแสะไฟฟ้าก็สามารถไหลผ่านได้อยู่เสมอ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความร้อนสะสมจนเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้

7. ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร แม้จะเพิ่มค่าใช้จ่ายขึ้นมา แต่เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรระบบนี้จะช่วยตัดไฟทันที ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย และควรมีระบบ ไฟฉุกเฉิน เตรียมไว้ด้วย เผื่อกรณีไฟฟ้าดับก็จะสามารถเดินไปสำรวจแผงไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย

8. เลือกขนาดสายไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน สายไฟก็เหมือน ๆ กับท่อน้ำ หากท่อน้ำมีขนาดเล็กกว่าปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน ท่อก็อาจจะแตกได้

9. หมั่นตรวจสอบสายไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอยู่เสมอ ว่ามีสายไฟฟ้าที่เก่า กรอบหรือขาดตรงจุดไหนหรือไม่ ถ้ามีอย่าใช้งานและให้ทำการเปลี่ยนใหม่เสียก่อน โดยเฉพาะบ้านที่มีอายุมากกว่า 10 ปี ควรมีการเปลี่ยนสายไฟใหม่

10. ไม่เสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้ในที่เดียวกันเยอะ ๆ และไม่ใช้ปลั๊กพ่วงเสียบต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากไว้ในที่เดียวกัน เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย

จากที่กล่าวมานั้น บางอย่างก็อาจจะทำให้คุณมีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและการบำรุงรักษาบ้านมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินจะมากหรือน้อยที่คุณเสียไปนั้น ก็ยังสามารถหามาทดแทนใหม่ได้หากยังมีลมหายใจ แต่ชีวิตที่เสียไปนั้น ไม่ว่าใครก็จะไม่มีทางเอาคืนกลับมาได้ ทางเราขอให้คุณใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทและใส่ใจกับการบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ดีอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของท่าน ด้วยความปรารถนาดีจากร้านไทยจราจร ผู้จำหน่าย ไฟฉุกเฉิน และ อุปกรณ์จราจร เพื่อความปลอดภัยทุกชนิด

 

Block "content-bottom" not found