อันตราย!! ถ้าไม่มี 10 อุปกรณ์เหล่านี้เมื่อเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร

เพลิงไหม้นับเป็นอุบัติภัยร้ายแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอาคารสถานที่ ขอเพียงมีเชื้อเพลิง ออกซิเจน และความร้อนที่เหมาะสมก็สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อกันกลายเป็นเพลิงไหม้ได้ ยิ่งภายในอาคารมีเชื้อเพลิงจัดเก็บไว้ในปริมาณมาก หรือมีลักษณะของการไวไฟมากเท่าไรความเสียหายจากการเกิดเพลิงไหม้ก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเหตุดังกล่าวสามารถป้องกันหรือเตรียมการรับมือเพื่อให้สามารถระงับเหตุได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสียหายอันเกิดจากเพลิงไหม้ให้ลดลง เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ที่อยู่ภายในอาคารและสถานที่นั้น ๆ ซึ่งหนึ่งในการเตรียมการณ์ที่จำเป็นที่ทางร้านไทยจราจรอยากจะขอแนะนำนั้นก็ก็คืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยป้องกันและบรรเทาอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

              1.ป้ายทางออกฉุกเฉิน   

                 ในเวลาที่กำลังตกใจเพราะเหตุเพลิงไหม้ ภาวะอารมณ์ที่กำลังตื่นตระหนกมักทำให้การตัดสินใจในการเคลื่อนย้ายออกจากอาคารมีความผิดพลาด ทั้งยังง่ายต่อความสับสนที่ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะใช้เส้นทางใดในการอพยพออกจากอาคารได้ การติดตั้งป้ายแสดงทางออกฉุกเฉินที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจึงมีความสำคัญมาก ทั้งต่อผู้ที่ใช้อาคารเป็นประจำ และต่อผู้ที่มาเยือนอาคารสถานที่ด้วย และควรมีการดูแลไม่ให้มีสิ่งใดมากีดขวางทางออกฉุกเฉินอยู่เสมอด้วย

              2.ถังดับเพลิง

            นับเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยระงับเหตุเพลิงไหม้ที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง สะดวกในการพกพาทำให้เข้าไประงับเหตุเพลิงไหม้ที่ต้นเหตุได้ง่าย และยังหาซื้อได้ง่าย เพียงเลือกซื้อประเภทของถังดับเพลิงที่เหมาะสมกับอาคารชนิดนั้น หากเป็นอาคารทั่วไปก็สามารถเลือกถังดับเพลิงประเภทที่ดับเชื้อเพลิงของแข็ง หรือเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นอาคารที่มีการเก็บน้ำมันหรือสารเคมีไวไฟที่เป็นของเหลวก็ควรพิจารณาเพิ่มเติมถังดับเพลิงที่ใช้กับเชื้อเพลิงเหลวโดยเฉพาะด้วย

              3.สัญญาณเตือน

                    การใช้สัญญาณเตือนจะช่วยให้ผู้คนในอาคารอพยพหรือเตรียมตั้งรับในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้ดี ซึ่งในปัจจุบันสัญญาณเตือนไฟไหม้นั้นมีทั้งแบบที่เปิดทำงานด้วยมือ และแบบที่ทำงานอัตโนมัติเมื่อตรวจจับพบความร้อนหรือปริมาณควันที่มากผิดปกติ โดยในกรณีสัญญาณเตือนไฟด้วยมือนั้นจะต้องมีระบบป้องกันการใช้งานโดยไม่จำเป็น หรืออาจเลือกใช้เป็นไซเรนมือถือที่สามารถพกพาไปเตือนตามส่วนต่าง ๆ ของอาคารได้ แต่ก็จำเป็นต้องมีจุดจัดเก็บที่เป็นสัดส่วนและมองเห็นได้ชัดเจน

             4.ไฟฉุกเฉิน

            เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ปัญหาหนึ่งที่มักจะตามมานั้นก็คือไฟฟ้าดับ ใช้งานไม่ได้ อาจมีสาเหตุมาจากไฟที่ไหม้ลามไปจนตัดวงจรกระแสไฟฟ้าปกติ หรือเกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าลัดวงจรจนเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้ได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อไม่มีไฟย่อมส่งผลให้ภายในอาคารมืดสนิทไม่สามารถมองเห็นทางออกได้ จึงควรติดตั้งไฟฉุกเฉินเอาไว้ด้วย

           5.การติดแผนผังทางเดินและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

               ควรทำแผนผังเพื่อแสดงให้ทุกคนภายในอาคารมองเห็นได้ชัดเจน เผื่อในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่อยู่ภายในอาคารจะได้ดำเนินการได้อย่างเหมาะสม โดยขนาดของแผนผังที่ดีคือขนาดไม่น้อยกว่ากระดาษ A3 ติดอยู่บนผนังที่ทุกคนมองเห็นได้ชัด บอกตำแหน่งจุดสำคัญ ๆ ด้วยเครื่องหมายสีที่ชัดเจน เช่น ทางหนีไฟ ที่ตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ปฐมพยาบาล เป็นต้น

                6.ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ

                     เป็นระบบที่จะทำการดับเพลิงทันทีเมื่อตรวจจับความร้อนหรือปริมาณควันได้ การระงับเหตุเพลิงไหม้ทันทีที่เกิดเรื่อง จะช่วยลดความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ได้ดีที่สุด เมื่อติดตั้งแล้วควรให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอยู่เสมอว่าระบบดับเพลิงยังสามารถทำงานได้เป็นปกติอยู่ตลอดเวลา

                 7.อุปกรณ์ทนการลามไฟ

                     หากห้องหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารมีความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ อย่างห้องครัวที่มีการใช้เปลวไฟอยู่เสมอ และยังมีอุปกรณ์ไวไฟอย่างถังแก๊ส หรือห้องวิเคราะห์ที่มีการใช้สารเคมีไวไฟอยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะอาคารดังกล่าวควรเลือกใช้วัสดุทนการลามไฟมาเป็นองค์ประกอบ เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการระงับเหตุ

                 8.ท่อดับเพลิง

                       ท่อดับเพลิงคืออุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจำเป็นต้องใช้ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ดังนั้นการเตรียมท่อดับเพลิงเอาไว้ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ดี แต่ต้องมีการตรวจสอบแรงดันของน้ำอยู่เสมอเพื่อให้พร้อมกับการใช้งานทุกเมื่อ

                 9.บันไดหนีไฟ

                       เมื่อพื้นที่เมืองมีจำกัด ทำให้อาคารเกือบทุกประเภทมีมากกว่า 2 ชั้น จึงเป็นการยากที่จะอพยพออกจากอาคารด้วยทางออกเพียงทางเดียว การทำบันไดสำหรับหนีไฟจึงเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้คนภายอาคารสามารถอพยพออกมาได้ทัน ซึ่งบันไดสำหรับหนีไฟนี้ควรลงมาถึงพื้นที่อาคารชั้นล่าง หากมีพื้นที่จำกัดอาจเลือกใช้บันไดสำหรับหนีไฟแบบพกพาที่สามารถจัดเก็บและนำมาใช้เมื่อต้องการได้

                   10.ป้ายบอกจำนวนชั้นภายในอาคาร

                         หากอาคารมีลักษณะหลายชั้น การปล่อยให้ผู้คนวิ่งโดยไม่มีสัญลักษณ์ใด ๆ เช่น ป้ายทางออกฉุกเฉิน ก็อาจทำให้เกิดความสับสนได้ ยิ่งมีชั้นใต้ดินก็อาจทำให้การอพยพออกจากอาคารเกิดความล่าช้าได้ ดังนั้นจึงควรมีการติดป้ายบอกจำนวนชั้นในทุกชั้นของอาคารเอาไว้ด้วย

                       ทางร้านไทยจราจรเชื่อมั่นว่าหากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ มีการเตรียมอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยครบทั้ง 10 ชนิด ดังที่ได้กล่าวมานี้แล้ว ย่อมเป็นการป้องกันอันตรายจากเพลิงไหม้ ลดความเสียหายอันเกิดจากเหตุเพลิงไหม้ รวมถึงสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่อยู่ภายในอาคารทุกคนได้เป็นอย่างดี

fire traffic

Block "content-bottom" not found