การสร้างความปลอดภัยให้กับโรงงานถือเป็นสิ่งที่เจ้าของโรงงานทุกคนพึงกระทำ เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ความปลอดภัยของตัวพนักงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อย่าลืมว่าหากเกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นอาจลามไปถึงพื้นที่รอบข้างซึ่งอาจเป็นโรงงานอื่น หรือบ้านเรือนคนเอาได้ง่าย ๆ
ร้านไทยจราจร จึงอยากจะแนะนำให้เจ้าของโรงงานทุกคนควรทำความเข้าใจกับเรื่องมาตรฐานเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับโรงงานของคุณมากขึ้น มาดูกันว่าทั้ง 8 มาตรฐานที่เหมาะสมนี้มีเรื่องอะไรบ้าง
1.มาตรฐานด้านของแสงสว่าง
เรื่องแสงสว่างเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม อย่างตอนกลางคืนเรารู้ดีอยู่แล้วเพื่อความปลอดภัยบริเวณรอบโรงงานควรมีการติดตั้งไฟส่องสว่างเพื่อให้มองเห็นชัดเจน รวมถึงภายในโรงงานที่มีกลุ่มพนักงานทำงานอยู่ก็ต้องติดให้สว่างทุกจุดเพื่อความปลอดภัย ยิ่งตอนกลางวันบริเวณไหนเป็นบริเวณที่มืดและอาจเกิดอันตรายได้ อย่างน้อย ๆ ควรมี ไฟฉายสปอตไลท์ ฉายให้แสงสว่างเอาไว้อยู่เสมอ
2.มาตรฐานด้านของความร้อน
หลาย ๆ โรงงานจำเป็นต้องใช้งานเกี่ยวกับเรื่องของความร้อนเป็นหลัก ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นจุดอันตรายของบรรดาพนักงานจำนวนมาก ยกตัวอย่าง โรงงานที่ต้องมีหม้อน้ำร้อน ๆ เอาไว้ใช้งาน หากเกิดพลาดพลั้งพนักงานตกลงไปหรือมีส่วนใดไปสัมผัสก็ต้องได้รับอันตราย หรือโรงงานที่ต้องใช้ความร้อนในการผลิตสินค้าอื่น ๆ ตรงนี้เจ้าของจำเป็นต้องมีมาตรฐานชัดเจน มีการป้องกันไม่ให้ความร้อนสร้างอันตรายได้
3.มาตรฐานด้านของเสียง
เรื่องของเสียงเป็นอีกมาตรฐานสำคัญที่เจ้าของโรงงานต้องเอาใจใส่ อย่าลืมว่าหากหูของคนเราต้องได้ยินเสียงดังเกินกำหนดเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมาทีหลังได้ รวมถึงเสียงเหล่านี้ยังอาจส่งผลรบกวนต่อพื้นที่โดยรอบโรงงานอันส่งผลให้เกิดเรื่องราวบานปลายใหญ่โต เช่น มีการฟ้องร้องจนต้องย้ายโรงงานใหม่ เป็นต้น
ซึ่งเรื่องนี้คงไม่มีเจ้าของโรงงานคนไหนอยากให้เกิดขึ้นแน่ ๆ แนะนำว่าหากดูแลมาตรฐานในส่วนนี้ให้ดี ก็จะช่วยได้เยอะมากทีเดียว
4.มาตรฐานด้านของสิ่งปลูกสร้าง
ทุกโรงงานเมื่อมีการปลูกสร้างเอาไว้นาน ๆ เรื่องของการผุพังในบางจุดก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เราสามารถพบเห็นกันได้ ตรงนี้แนะนำว่าบรรดาเจ้าของโรงงานเองควรมีการตรวจสอบทุก ๆ พื้นที่อยู่เสมอ หากมีส่วนไหนพังหรือใกล้จะพังก็ควรมีการซ่อมแซมให้เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยในตัวของพนักงานเองด้วย หากไม่มีการตรวจสอบในมาตรฐานตรงจุดนี้เลยเมื่อวันเวลาผ่านไปแล้วเกิดพังเสียหายขึ้นมา มันจะไม่ได้จบแค่ค่าซ่อมแซมเพียงอย่างเดียว
5.มาตรฐานด้านการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
การใช้งานวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในโรงงานถือเป็นเรื่องที่เจ้าของโรงงานต้องใส่ใจ ด้วยอุปกรณ์แต่ละชนิดมีการใช้งานต่างกันออกไป พนักงานที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องมือต่าง ๆ ก็ต้องมีการเรียนรู้วิธีใช้งานอย่างเหมาะสมมากที่สุด ยกตัวอย่างง่าย ๆ แม้แต่
รถเข็นอเนกประสงค์ ที่เห็นใช้งานกันทุกโรงงานหากไม่มีเรียนรู้มาตรฐานการใช้อย่างถูกต้องก็อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุเอาได้ง่าย ๆ เหมือนกัน เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เจ้าของโรงงานอย่ามองข้ามโดยเด็ดขาดถ้าไม่อยากเกิดปัญหาตามมา
6.มาตรฐานด้านของสารเคมีที่ใช้ภายในโรงงาน
นี่คืออีกเรื่องที่ต้องมีมาตรฐานอย่างชัดเจน กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยชื่อก็ระบุชัดเจนอยู่แล้วว่าคือสารเคมี ไม่ใช่ของที่เราจะทำเล่น ๆ หรือไม่ศึกษาข้อมูลใดมาก่อนได้เลย การใช้สารเคมีในการผลิตสินค้าต่าง ๆ ของโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้อย่างมีมาตรฐานตามความเหมาะสม ไม่อย่างนั้นหากใช้งานมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อพนักงานรวมถึงคนอื่น ๆ ในทางอ้อมได้อีกด้วย
7.มาตรฐานด้านของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมภายในโรงงานก็เป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของโรงงานต้องใส่ใจให้มาก ไม่อย่างนั้นอาจกลายเป็นปัญหาสังคมในอนาคตเอาได้ง่าย ๆ เลย เช่น ก่อนการปล่อยน้ำลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติควรมีระบบบำบัดน้ำให้ดีเสียก่อน, งดใช้รถที่มีเครื่องยนต์หากต้องสัญจรภายในโรงงานโดยติด ป้ายจราจร กำกับเอาไว้ แล้วเลือกใช้จักรยานแทน, มีการจัดพื้นที่สำหรับทิ้งขยะอย่างชัดเจน เป็นต้น
8.มาตรฐานด้านของการสัญจรภายในโรงงาน
ยิ่งโรงงานแห่งไหนมีขนาดใหญ่มาก ๆ พื้นที่สัญจรเยอะควรต้องมีการจัดมาตรฐานการสัญจร การจอดรถต่าง ๆ ให้เหมาะสม เพื่อป้องกันทั้งอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้รวมถึงช่วยให้โรงงานเองมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย อาจมีการนำ กรวยจราจร มาตั้งบอกเส้นทางการขับขี่หรือตั้งล้อมเป็นวงเอาไว้เพื่อบอกจุดจอดรถก็ได้ ยิ่งมีการจัดระบบสัญจรภายในโรงงานดีเท่าไหร่ ทั้งตัวพนักงานและคนทั่วไปที่เข้ามาติดต่อก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อีกเรื่องเลยทีเดียว
ต้องบอกว่าการจะก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของโรงงานไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อเป็นถึงระดับนั้นแล้วก็ต้องรู้จักวางมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับโรงงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนได้อย่างดีที่สุด ร้านไทยจราจร
เชื่อว่าหากเจ้าของโรงงานไหนมีการวางแผนเหล่านี้ได้ดี ก็จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการพัฒนาศักยภาพด้านการทำงานควบคู่ไปกับการบริหารจัดการคนและพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมที่สุด โรงงานของคุณจะค่อย ๆ เติบโตจากความร่วมแรงร่วมใจในทุกฝ่ายที่มองเห็นถึงประโยชน์ดี ๆ ระหว่างเจ้าของโรงงานกับตัวพนักงาน