‘Safety mind’ หรือ จิตสำนึกด้านความปลอดภัยขององค์กร ถือเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญมาเป็นอันดับต้น ๆ ในการทำงาน ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นกฎข้อบังคับตาม พรบ. ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ที่ภาครัฐออกมาเพื่อบังคับใช้กับทุกองค์กรเท่านั้น แต่ทุกองค์กรจำเป็นต้องพยายามทำให้เกิดขึ้นเพื่อความปลอดภัยของทุกคนในองค์กร ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตในระหว่างการทำงานของพนักงาน ผู้เกี่ยวข้อง หรือแม้แต่ผู้ที่มาติดต่อกับองค์กร นอกจากจะเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับทุกคนในองค์กรทำงานแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้นด้วย
จากความสำคัญของ ‘จิตสำนึกด้านความปลอดภัยขององค์กร’ ทำให้ในปัจจุบันหลายองค์กรต่างตื่นตัวกับเรื่องนี้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการจะทำให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันจากทุกฝ่าย ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ที่ต้องแสดงออกอย่างชัดเจนว่าให้ความสำคัญและมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับระดับหัวหน้างานต้องมีการทำความเข้าใจกับนโยบายที่รับมาให้ถ่องแท้ เพื่อนำมาปฏิบัติอย่างรอบคอบ เฝ้าระวัง กระตุ้น และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในระดับบุคคล ที่ต้องยอมรับบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ศึกษาทำเข้าใจ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและเพื่อนร่วมงาน แต่จะมีวิธีไหนบ้างที่ทำให้องค์กรมี Safety mind หรือ จิตสำนึกด้านความปลอดภัย
วันนี้ ร้านไทยจราจร มี 10 วิธีดีๆ มาแนะนำ รับรองว่าองค์กรของคุณจะปลอดภัยจากทั้งอุบัติเหตุและโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการทำงานอย่างแน่นอน
1.สร้างมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน
นอกจากจะเป็นกฎข้อบังคับเรื่องความปลอดภัยของกระทรวงแรงงานที่ทุกองค์กรต้องปฏิบัติตามแล้ว การสร้างมาตรฐานความปลอดภัยยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุไม่คาดฝันในองค์กร ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดชุดทำงานมาตรฐานของพนักงานแต่ละแผนก หรือบังคับให้มีการสวมผ้าปิดปากหรือหมวกนิรภัยในระหว่างปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงอันตราย
2.ติดตั้งอุปกรณ์ฉุกเฉินเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในองค์กร
การติดตั้งอุปกรณ์ฉุกเฉินจะมีส่วนช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ทุกคนในองค์กรหากเกิดเหตุต่าง ๆ ขึ้น เช่น การติดตั้งถังดับเพลิง หรือ ไซเรนมือหมุน ตามจุดต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับแจ้งเหตุให้กับทุกคนในองค์กรเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ หรือสารเคมีรั่วไหล
3.อบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยแก่ทุกคนในองค์กร
การอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัย จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจและใช้งานอุปกรณ์เตือนภัยหรืออุปกรณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น ถังดับเพลิง หรือ ถุงลมบอกทิศทาง ซึ่งจะช่วยให้คนในองค์กรสามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์คับขันได้
4.ตรวจสอบความปลอดภัยภายในองค์กร
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรตรวจสอบบริเวณต่างๆ ขององค์กรอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยในระหว่างการทำงาน เช่น บริเวณบันไดซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในบริเวณที่เสี่ยงต่อการลื่นล้มของคนในองค์กร ดังนั้นจึงควรติดตั้ง แผ่นครอบบันไดกันลื่น เพื่อช่วยให้พนักงานเห็นขั้นบันไดชัดเจนทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
5.จัดสนทนาด้านความปลอดภัยภายในองค์กร
การวางแผนนโยบายเพื่อสร้างความปลอดภัยต้องอาศัยความร่วมมือกันภายในองค์กร การแสดงความคิดเห็นและการสื่อสารกันภายในองค์กรจะช่วยให้การวางแผน การส่งมอบนโยบายและการปฏิบัติงานจริงสำเร็จได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีในองค์กรอีกด้วย
6.จัดแสดงบอร์ดเพื่อเพิ่มความปลอดภัย
การติดตั้งแผนภาพทางหนีไฟภายในอาคาร โคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน (EMERGENCY EXIT SIGN) หรือ ภาพแสดงการทำงานอย่างปลอดภัยตามที่ต่าง ๆ ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย จะช่วยทำให้คนในองค์กรสามารถอ่านทบทวนได้ทุกครั้งที่เดินผ่านและซึมซับข้อความเหล่านั้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อนำมาปฏิบัติด้วยความเข้าใจ
7.สังเกตความผิดปกติอย่างรวดเร็ว
การสองส่องดูแลความผิดปกติหรือการกระทำหละหลวมที่อาจส่งผลต่อต่อความปลอดภัยขององค์กรนั้นไม่ เพียงแต่เป็นหน้าที่ของผู้บริหารและหัวหน้างาน แต่พนักงานเองก็ควรทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้กับองค์กรและรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบและเข้าระงับเหตุการณ์ได้ทันก่อนที่จะเกิดความสูญเสีย ดังนั้นควรมีการอบรมการใช้ วิทยุสื่อสาร ให้กับพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแจ้งเหตุเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการแจ้งเหตุมากขึ้น
8.รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรจากพนักงาน
ต้องยอมรับว่าบุคคลในระดับผู้บริหารและระดับหัวหน้างานหลายคนไม่ให้ความสนใจและรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กรจากผู้ใต้บังคับบัญชา จนกระทั่งปัญหาที่เกิดขึ้นลุกลามใหญ่โตขึ้น ดังนั้นผู้บริหารและหัวหน้างานจึงควรปรับความคิดและรับฟังปัญหาให้มากขึ้น รวมถึงยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติงานคือผู้ที่เห็นปัญหาและอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรมากกว่าบุคคลในระดับอื่น
9.ชมเชยเพื่อสร้างความรู้สึกเชิงบวก
การกล่าวชมเชยและการให้รางวัลเมื่อเห็นว่าคนในองค์กรปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะช่วยจูงใจและสร้างทัศนคติเชิงบวกให้คนในองค์กรปฏิบัติตามนโยบายด้านความปลอดภัยมากขึ้น ในทางกลับกันผู้บริหารหรือหัวหน้างานไม่ควรใช้อำนาจหรือถ้อยคำรุนแรงในการว่ากล่าวตักเตือนที่นอกจากจะสร้างทัศนคติที่ไม่ดีและความขัดแย้งในองค์กรแล้ว ยังทำให้เกิดการต่อต้านทางด้านจิตใจอีกด้วย
10.ทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยต้องทำอย่างต่อเนื่อง และควรจัดอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเพื่อบ่มเพาะจิตสำนึกให้กับทุกคนในองค์กรตระหนักถึงหน้าที่ของตัวเองมากขึ้น นอกจากนั้นควรตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับ 10 วิธีการสร้าง Safety mind หรือ จิตสำนึกด้านความปลอดภัยในองค์กรที่ ร้านไทยจราจร นำมาฝาก จะเห็นได้ว่าแต่ละวิธีที่เสนอนั้นเป็นวิธีที่ทำได้ไม่ยาก แต่สิ่งที่สำคัญคือ ‘เวลา’ และ ‘ความร่วมมือ’ ของทุกคนในองค์กร เพียงเท่านี้ก็ทำให้ทุกคนและทุกตำแหน่งในองค์กรมีความปลอดภัย ลดปัจจัยเสี่ยง และอัตราการเสียชีวิตในระหว่างการทำงานอย่างยั่งยืน
Block "content-bottom" not found
Block "catalog-trafficfence" not found