ถือเป็นพื้นฐานของบริษัทผู้ผลิตสินค้าทุกแห่งที่จะต้องมีรถขนส่งสินค้าเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นต้องไปจ้างที่อื่นให้เสียเงินแพง ๆ แต่ปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ เวลาเราเห็นตามท้องถนนคือมี กรวยจราจร ตั้งไว้เพราะรถขนส่งสินค้าเสีย จอดอยู่ข้างทาง บ้างก็เกิดอุบัติเหตุอันมาจากความผิดปกติของรถ จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ที่ผู้ดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้จำเป็นต้องตรวจเช็ครถขนส่งสินค้าเป็นประจำก่อนใช้งาน ยิ่งบริษัทไหนใช้งานทุกวันยิ่งต้องตรวจสอบทุกวันจะดีที่สุด ร้านไทยจราจร จึงอยากขอแนะนำ 10 หัวข้อที่คุณต้องตรวจเช็ครถส่งสินค้าว่ามีอะไรบ้าง
1.น้ำมันเครื่องรถยนต์
รถคันไหนที่ต้องขับประจำโดยเฉพาะรถขนส่งสินค้าที่บรรทุกของหนักจะต้องมีการตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องรถยนต์อยู่เสมอ วิธีง่าย ๆ คือให้ดึงก้านน้ำมันเครื่องออกมาจากนั้นเสียบลงไปแล้วดึงขึ้นมาดูอีกครั้ง ระดับของน้ำมันที่ติดก้านจะต้องอยู่ระหว่าง Min กับ Max ถือว่าไม่มีปัญหาใด ๆ แต่ถ้าหากต่ำหรือสูงเกินกว่าระดับที่กล่าวมาจำเป็นต้องรีบดำเนินการถ่ายน้ำมันเครื่องทันทีไม่อย่างนั้นรถมีสิทธิ์น็อกกลางทางเอาได้ง่าย ๆ เลย ยิ่งรถที่วิ่งประจำน้ำมันเครื่องจะหมดสภาพไวมากต้องเช็คให้ดี
2.ระบบเบรกทุกอย่าง
ระบบเบรกเป็นสิ่งสำคัญสำหรับรถ ยิ่งรถขนส่งสินค้าที่ต้องบรรทุกของหนัก ๆ ผ้าเบรกจะสึกเร็วกว่าปกติเนื่องจากเวลาเบรกต้องใช้แรงเยอะ การตรวจสอบผ้าเบรกง่าย ๆ คือ เมื่อเริ่มรู้สึกเบรกลึกกว่าปกติหรือเบรกไม่ค่อยอยู่ก็ควรต้องรีบเปลี่ยนทันที ส่วนน้ำมันเบรกให้ดูว่าน้ำมันที่อยู่ในกระปุกต้องอยู่ระดับ Max เสมอ หากตกลงไปต้องรีบหาสาเหตุ เช่น น้ำมันเบรกรั่วหรือผ้าเบรกสึกอย่างที่บอกไป
3.ห้ามมองข้ามแบตเตอรี่เด็ดขาด
หากใครใช้แบตเตอรี่แบบน้ำที่ต้องเติมน้ำกลั่นต้องตรวจเช็คเป็นประจำเพราะถ้าน้ำกลั่นแห้งจะส่งผลต่อรถอย่างรุนแรง อาทิ ระบบไฟฟ้าทำงานช้าลง เครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ เป็นต้น ส่วนใครที่ใช้แบบแห้งหรือกึ่งน้ำกึ่งแห้งยิ่งต้องตรวจให้ดีที่สุดเพราะคนที่ใช้งานแบบนี้มักคิดว่าไม่เป็นไรแต่สำหรับรถขนส่งสินค้าที่ต้องขับทุกวันบางทีควรเติมน้ำกลั่นลงไปผสมบ้างสำหรับแบตเตอรี่แบบกึ่งน้ำกึ่งแห้งเพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องกังวลว่าขับ ๆ ไปแล้วรถดับต้องไปหา กรวยจราจร มาตั้งไว้ให้เสียอารมณ์
4.ระดับลมยางและความสึกกร่อน
อย่างที่รู้กันว่ายางคือสิ่งที่ต้องสัมผัสกับท้องถนนตลอดเวลา ยิ่งการบรรทุกของหนักจะทำให้ระดับลมยางอ่อนเร็วกว่าปกติ ตรงนี้แนะนำว่าก่อนขับออกไปทุกครั้งควรเช็คระดับลมยางเพื่อความมั่นใจว่าขับ ๆ ไปแล้วยางจะไม่ระเบิดรวมถึงเช็ความสึกหรอของตัวยางด้วย เช่น ถ้าเจอรอยขีดข่วนให้รีบปะซ่อมแซม หรือถ้าดอกยางบางมาก ๆ ก็ควรเปลี่ยนจะดีกว่า
5.สายพานรถยนต์
สายพานรถเป็นอีกส่วนที่ห้ามลืมในการตรวจสอบก่อนขับออกไปส่งสินค้า วิธีง่ายมาก ๆ ให้ลองเอามือกดลงไปบนสายพานถ้าหากว่ามีความหย่อนนิดหน่อยสัก 5-10 มม. แสดงว่าไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ามากกว่านั้นต้องรีบเปลี่ยนทันที อีกสิ่งที่ต้องสังเกตคือมีรอยแตกหรือรายขาดใด ๆ บนสายพานหรือเปล่า ถ้าพบเจอต้องรีบจัดการเปลี่ยนทันทีอย่าปล่อยทิ้งเอาไว้เพราะจะทำให้เกิดอันตรายระหว่างการขับขี่หากสายพานขาด
6.ระบบไฟหน้า – ท้ายรถ
ระบบไฟหน้าและไฟท้ายรวมถึงไฟเลี้ยวเป็นอีกสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม ด้วยสัญลักษณ์ไฟคือการบ่งบอกให้ผู้ขับขี่คนอื่น ๆ ที่อยู่บนท้องถนนรู้ว่าคุณกำลังจะทำอะไร หากหลอดไฟขาดต้องรีบเปลี่ยนทันทีไม่อย่างนั้นโอกาสเกิดอุบัติเหตุมีสูง เช่น ทางข้างหน้ามองเห็น ป้ายจราจร บอกว่ากำลังทำทางให้เบี่ยงรถก็ต้องเปิดไฟเลี้ยวให้คนหลังรู้ด้วยจะได้เกิดอันตราย
7.ระบบโช๊คอัพและการรับน้ำหนักของกระบะหลัง
รถที่ต้องบรรทุกของหนัก ๆ เป็นเรื่องปกติที่โช๊คอัพจะเสื่อมก่อนเวลา หากรู้สึกว่ารถเริ่มแข็ง ๆ เวลาเจอทางสะดุดหรือเวลาขับรถไปตามเส้นทางไม่ค่อยดีแล้วสัมผัสว่ารถกระแทกแรงกว่าปกติก่อนออกไปขับทุกครั้งอย่าลืมตรวจ เช่นเดียวกับกระบะหลังหากเห็นว่ามีอาการงอหรือเอียงผิดปกติอย่าปล่อยผ่านเด็ดขาด
8.ระบบเกียร์
รถขนส่งสินค้าส่วนมากเมื่อใช้รถกระบะก็ต้องเป็นเกียร์กระปุกเพราะมีสมรรถนะมากกว่า อย่าลืมตรวจสอบระบบเกียร์ให้ดีเสมอ เช่น ลองโยกแล้วมันแข็งขึ้นก็ต้องดูว่าเกิดจากอะไร รวมถึงน้ำมันเกียร์ที่ต้องคอยเช็คตลอดไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกียร์พังและเสียค่าซ่อมหลักหมื่นหรือแสนเอาง่าย ๆ เลย
9.ระบบคลัทช์
เมื่อใช้เกียร์กระปุกหรือเกียร์ธรรมดาก็ต้องดูแลเรื่องระบบคลัทช์ให้ดี อย่าให้น้ำมันคลัทช์แห้ง ขณะเดียวกันหากเหยียบแล้วรู้สึกผิดปกติ เช่น แข็งหรืออ่อนเกินไปก็ควรต้องรีบตรวจสอบก่อนออกไปขับว่าเกิดจากอะไร
10.ของเหลวอื่น ๆ
ยังมีของเหลวอื่น ๆ เช่น น้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำ, น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์, น้ำหม้อน้ำ ฯลฯ ต้องคอยตรวจสอบบ่อย ๆ อย่าให้พร่อง ไม่สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอาไว้
หากสามารถตรวจสอบทั้ง 10 หัวข้อที่ ร้านไทยจราจร บอกเอาไว้ได้ก่อนออกไปส่งสินค้ารับรองว่าปัญหาต้องเอา กรวยจราจร มาตั้งเพราะรถเสียยังไงก็ไม่มีทางเกิดขึ้นแน่ ๆ
Block "content-bottom" not found
Block "catalog-trafficfence" not found