การขนส่งสินค้าถือเป็นอีกหัวใจสำคัญของทุกธุรกิจ ไม่แปลกเวลาเราขับรถไปตามท้องถนนจึงมักเห็นว่ามีบรรดารถกระบะหรือรถบรรทุกจำนวนมากขนส่งสินค้าจากต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางที่พวกเขาวางแผนเอาไว้ แต่ปัญหาคือเรามักเห็นบ่อยครั้งเวลาผ่านจุดที่มี ป้ายไฟหยุดตรวจ ว่ารถหลายคันจะโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจพร้อมออกใบสั่งว่าบรรทุกของเกินอันเป็นเรื่องผิดกฎหมาย บทความนี้ ร้านไทยจราจร จึงอยากมานำเสนอ 9 วิธีที่แม้บรรทุกของเกินก็มีผิดกฎหมายจราจรแน่นอน
1.ความกว้างของสินค้าต้องไม่เกินขนาดตัวรถ
วิธีบรรทุกวิธีแรกที่อยากแนะนำและให้ปฏิบัติตามก็คือสินค้าหรือสิ่งของต่าง ๆ ที่จะบรรทุกนั้น ขนาดความกว้างต้องไม่เกินจากขนาดของตัวรถ เหตุผลก็เพื่อหากขนาดกว้างกว่าตัวรถ รถที่ขับมาเลนข้าง ๆ อาจเกิดการชน เฉี่ยวจนกลายเป็นอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นต่อให้บรรทุกน้ำหนักเกินขนาดไหนไม่ใช่ปัญหาถ้าหากว่าสินค้านั้นไม่กว้างล้นจากตัวรถออกไปด้านข้าง
2.ความยาวต้องมีขนาดเหมาะสมกับตัวรถ
เรื่องความกว้างยังถือว่าเป็นเรื่องที่พอควบคุมได้เนื่องจากรถหลายคนมีคอกกระบะปิดไว้ชัดเจน แต่เรื่องความยาวเป็นอีกสิ่งที่ผู้ขับขี่บรรทุกสินค้าหลายคนมักโดนตำรวจจับเพราะทำผิดกฎหมายจราจรกันบ่อยครั้ง การบรรทุกของเกินที่จะไม่ได้จับแน่ ๆ หากของนั้นมีขนาดยาวคือ เมื่อพาดไปทางด้านหน้าแล้วต้องไม่เลยหม้อน้ำรถยนต์ ขณะที่ด้านหลังต้องห่างจากตัวรถไม่เกิน 2.50 เมตร
3.ระดับความสูงของสินค้าต้องเหมาะสม
มาต่อกันที่เรื่องระดับความสูง นี่เป็นอีกปัญหาที่เรามักพบเจอในการบรรทุกสิ่งของ หากต้องการบรรทุกอย่างถูกต้องกรณีเป็นรถกระบะบรรทุกต้องสูงจากพื้นทางไม่เกิน 3 เมตร แต่รถคันไหนมีขนาดรถกว้างกว่า 2.3 เมตร สามารถบรรทุกได้สูงจากพื้นทางไม่เกิน 3.8 เมตร คราวนี้ต่อให้ของหนักแต่ถ้าเราทำตามวิธีที่ถูกต้องก็ไม่มีทางโดนจับชัวร์
4.สิ่งป้องกันในการบรรทุกสินค้าต้องมีให้เรียบร้อย
วิธีต่อมาที่ผู้บรรทุกสินค้าทุกคนต้องปฏิบัติและเน้นย้ำมาก ๆ ว่าต้องทำก็คือ หาสิ่งป้องกันไม่ให้คน สัตว์ สิ่งของ ร่วงหล่นจากกระบะด้านหลัง รวมไปถึงการสะท้อนแสง ส่งกลิ่น หลุดปลิวออกไปจากตัวรถด้วย เนื่องจากหากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอาจทำให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญกับผู้ขับขี่ เช่น มีแสงสะท้อนออกมาคนขับตามหลังมองไม่เห็นเกิดรถเบรกกะทันหันเพราะ สัญญาณไฟจราจร รถคันหลังมีสิทธิ์ขับชนได้
5.หากของเกินความยาวอย่าลืมทำสัญลักษณ์ให้คันข้างหลังเห็นด้วย
นี่เป็นอีกวิธีบรรทุกของที่เวลาตำรวจเห็นก็อาจปล่อยไปคือมีสัญลักษณ์ติดเอาไว้เสมอหากสิ่งของนั้นมีขนาดยาวกว่าตัวรถไปทางด้านหลัง (ส่วนใหญ่เป็นผ้าสีแดง) ขนาดของผ้ากว้าง 30 ซม. ยาว 45 ซม. หรือถ้าเป็นกลางคืน / ช่วงเวลาที่ทำให้มองเห็นไม่ชัดต้องติดสัญลักษณ์หรือไฟสีแดงให้มองเห็นจากระยะ 150 เมตร แบบนี้โอกาสบรรทุกผ่านแบบสบาย ๆ มีสูง
6.หากไม่จำเป็นไม่ต้องเปิดกระบะท้ายดีกว่า
จริง ๆ แม้จะบอกว่าการเปิดกระบะท้ายเพื่อบรรทุกของกรณีที่ของสิ่งนั้นมีความยาวมาก ๆ และเราเองก็ติดธงสีแดงไว้เรียบร้อยมันไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย ทว่าในบางพื้นที่ตำรวจที่อยู่ในด่านตรวจขันจราจรก็อาจมองว่าเป็นอันตรายกับผู้ขับขี่คนอื่น ๆ ได้ นั่นจึงทำให้มีสิทธิ์ผิดกฎหมายอยู่เหมือนกัน ทางที่ดีหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ต้องเปิดกระบะท้ายบรรทุกของก็ได้จะมั่นใจมากกว่า
7.อย่ามีสุราเกิน 10 ลิตรเป็นใช้ได้
กรณีที่บางคนมีการขนของหลากหลายอย่างเต็มรถไปหมดรวมถึงสุราด้วย หากเราเป็นคนทั่วไปไม่ได้มีใบอนุญาตในการขนส่งสุราให้จำไว้เสมอว่าห้ามมีอยู่บนรถระหว่างบรรทุกเกิน 10 ลิตร เป็นอันขาด ไม่อย่างนั้นจะผิดกฎหมาย พอขับไปเจอ กรวยจราจร จากการตั้งด่านแล้วตำรวจขอค้นยังไงก็ผิดแน่ ๆ ถ้าเกิน 10 ลิตร
8.ขับด้วยความเร็วปกติไม่เกินกฎหมายกำหนด
เรื่องความเร็วเป็นอีกสิ่งที่จะช่วยเลี่ยงปัญหาของการโดนจับเพราะบรรทุกของหนักเกินกฎหมายกำหนดได้ แนะนำว่ารถที่บรรทุกของมาเยอะ ๆ ให้ขับช่องทางซ้ายแล้วขับด้วยความเร็วปกติตามกฎหมายกำหนด รับรองว่าโอกาสจะโดนจับมีน้อยหรือต่อให้เข้าด่านจริง ๆ ถ้าไม่ขับรถเร็วเกินไป ตำรวจก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรถึงขั้นต้องโดนปรับหรือโดนออกใบสั่งง่าย ๆ
9.ไมบรรทุกบริเวณส่วนอื่นของตัวรถนอกจากกระบะท้าย
หลาย ๆ คันเวลาบรรทุกของหนักเกินกฎหมายมักชอบบรรทุกไว้มากกว่ากระบะหลังรถ แน่นอนว่ามันสะดุดตาเจ้าหน้าที่อย่างมาก โอกาสจะโดนเรียกเข้าด่านจึงมีสูง แนะนำว่าต่อให้บรรทุกหนักหรือมีของเยอะแค่ไหนก็ไม่ควรบรรทุกล้นไปถึงส่วนอื่นของตัวรถ เช่น หลังคาคนขับ เป็นต้น
จริง ๆ แล้วการขับรถไปเจอ ป้ายไฟหยุดตรวจ สำหรับ ร้านไทยจราจร มองว่านี่คือความปลอดภัยในการขับขี่อย่างหนึ่ง แต่ถ้ามีปัญหาบรรทุกของน้ำหนักเกินมาก็ควรทำตามรายละเอียดต่าง ๆ ที่แนะนำไปจะได้ไม่ต้องเสียเงินค่าปรับรวมถึงเสียเวลาในการทำมาหากินด้วย เอาเวลาไปทำอย่างอื่นคุ้มกว่าเยอะ
Block "content-bottom" not found
Block "catalog-trafficfence" not found