10 สิ่งที่คุณมักทำพลาด ในการประมูลรับงานภาครัฐ

      การประมูลงานจากภาครัฐถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้บริษัทมีรายได้มากขึ้น ไม่ใช่แค่การมองหาจากลูกค้าฝั่งเอกชนเพียงอย่างเดียว ซึ่งการประมูลงานจากภาครัฐนี้จะมีช่องทางในการประมูลหลัก ๆ คือการเข้าไปตรวจสอบว่ามีงานใดบ้างที่ตรงกับกิจการของบริษัทเราก็เข้าไปทำการประมูลตามขั้นตอนที่ได้มีการระบุเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ร้านไทยจราจร เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่ยังไม่ค่อยมีความรู้ทางด้านนี้อาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ และนี่คือความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ เกี่ยวกับการประมูลรับงานจากภาครัฐ

1.คำนวณต้นทุนการรับงานผิดพลาดทำให้ขาดทุนหรือได้กำไรน้อยมาก ๆ 

     สิ่งแรกที่มักทำผิดพลาดกันบ่อย ๆ ก็คือเรื่องของการคำนวณต้นทุนที่ต้องนำไปประมูลแข่งกับคนอื่น ถ้าหากเป็นการประมูลสินค้ายังไม่ใช่เรื่องยากเท่าไหร่แต่ถ้าเป็นงานบริการต่าง ๆ ถือว่าการคำนวณต้นทุนคือหัวใจสำคัญจริง ๆ เพราะหากคำนวณผิดแม้แต่นิดเดียวหมายถึงผลกำไรที่หายไปและตรงนี้เองมักเกิดความผิดพลาดจากการประมูลรับงานภาครัฐอยู่บ่อย ๆ 

2.ไม่ศึกษา TOR ของการประมูลงานให้ดีเสียก่อน 

     TOR หรือ Term of Reference คือกำหนดที่ผู้ว่าจ้างเองทำขึ้นมาให้กับผู้รับจ้างได้เห็นว่าเขาต้องการอะไรบ้าง ซึ่งการประมูลรับงานจากภาครัฐโดยทั่วไปจะต้องมีการนำ TOR ออกมาให้ผู้รับจ้างซึ่งก็คือบริษัทอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ได้ศึกษาก่อนเสมอ บางรายศึกษาอย่างไม่ละเอียดมากพอ เช่น ซื้อ แผงกั้นจราจร เฉย ๆ แต่เข้าใจเป็น แผงกั้นจราจรบรรจุน้ำ เมื่อถึงเวลาประมูลจริง ๆ สเปคผิดก็ถือว่าไม่ผ่านทันที

3.กรอกเอกสารผิดพลาดทำให้ไม่ผ่านการพิจารณา 

      เรื่องการกรอกเอกสารก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่หลายคนมักพลาดกันบ่อย ๆ คือเอกสาร ในการกรอกข้อมูลนั้น ต้องกรอกให้ครบถ้วนตามที่ระบุเอาไว้ทั้งหมด ห้ามตกหล่นหรือเกินมาเป็นอันขาด กรณีที่เขียนผิดปกติแล้วจะห้ามลบให้ใช้การขีดฆ่าแล้วเซ็นชื่อกำกับ หากเอกสารมีร่องรอยการลบก็ไม่ผ่านการพิจารณาเช่นกัน ข้อนี้หลายคนไม่รู้และทำให้ตกรอบเอาง่าย ๆ เลย

4.เอกสารที่ยื่นประมูลไม่ครบถ้วนตามที่ภาครัฐต้องการ 

        ข้อนี้ก็เป็นอีกความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ บางทีลืมเอกสารบางอย่างไม่ได้ใส่เข้าไปในซอง เช่น สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่น, เอกสารบริษัท เป็นต้น เมื่อคณะกรรมการเปิดออกมาดูแม้มีราคาต่ำที่สุดแต่ถ้าเอกสารไม่ครบเป็นไปตามข้อกำหนดแบบนี้ก็ปรับตกเอาได้ง่าย ๆ ถือเป็นการผิดพลาดที่ก่อนปิดซองทุกครั้งควรตรวจทานให้เรียบร้อยเสมอ

5.บุคคลผู้ยื่นประมูลไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง 

      มีหลายหน่วยงานของภาครัฐที่ผู้ยื่นประมูลจำเป็นต้องมายื่นซองด้วยตนเองเพราะเหตุผลบางประการ แต่ด้วยความที่บางคนชะล่าใจว่าครั้งก่อน ๆ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ก็ให้คนอื่น เช่น แมสเซนเจอร์ ไปยื่นให้ได้ เราเองคงไม่ต้องไป ปรากฏกรรมการต้องให้มีลายเซ็นของผู้ยื่นกำกับในเอกสารรับซองอีกที แบบนี้เท่ากับว่าการยื่นซองประมูลของเราแทบจะจบลงเลยด้วยซ้ำเนื่องจากไม่ได้ทำตามกฎที่หน่วยงานนั้น ๆ วางเอาไว้ ทางที่ดีคือไปยื่นด้วยตนเองทุกครั้งดีกว่า

6.ไม่มีการคำนวณระยะเวลาการเดินทางไปยื่นประมูลอย่างเหมาะสม

      เข้าใจดีว่าพื้นฐานของคนที่ยื่นซองประมูลมักยื่นกันวันสุดท้ายเป็นส่วนใหญ่เพื่อจะได้ไม่ต้องมีความกังวล แม้จะเตรียมตัวมาอย่างดีว่าจะยื่นวันสุดท้ายแต่ดันกะเวลาผิดพลาดไม่สามารถไปถึงสถานที่ยื่นซองรับประมูลได้ทันตามเวลาที่กำหนดแบบนี้เท่ากับว่าทุกสิ่งที่ทำมาไม่มีความหมายใด ๆ เลย

7.เมื่อถึงวัน เวลา ที่ประกาศไม่ได้ไปฟังด้วยตนเอง 

      บางแห่งเมื่อมีการประกาศผลแล้วหากมีการเสนอราคาเท่ากันก็จะให้ยื่นเรื่องแข่งกันภายในวันนั้นเลยว่าใครสามารถให้ราคาที่ต่ำกว่านี้ได้อีก เช่น จัดซื้อ เสื้อกันฝน มี 2 บริษัทให้ราคาเท่ากันที่ 100,000 บาท แต่บริษัทแรกคนที่ยื่นไม่มาฟังทำให้บริษัทที่ 2 ยื่นต่ำกว่านิดหน่อยก็ได้งานไปทันที

8.ไม่รู้นโยบายหรือติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงของภาครัฐ

    บางคนคิดว่าการยื่นซองประมูลก็ทำในแบบเดิม ๆ ทั้งหมดแต่ดันลืมไปว่าบางหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งตรงนี้เมื่อไม่มีการศึกษารายละเอียดให้ดีพอถึงเวลายื่นจริงก็ตกไปตามระเบียบ

9.ไม่เข้าใจระบบการทำงานของหน่วยงานที่ยื่นประมูล

     พูดง่าย ๆ ตรงนี้ก็คือไม่ได้รู้วัฒนธรรมองค์การของหน่วยงานภาครัฐนั้น ๆ มาก่อน ทำให้มีข้อผิดพลาดบางอย่างที่คณะกรรมการไม่พึงพอใจและตัดสิทธิ์ให้เจ้าอื่นได้งานไปแทน

10.ความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พลั้งเผลอ หรือคาดไม่ถึง 

     ต้องเข้าใจว่าภาครัฐบางหน่วยงานเน้นระเบียบวินัยสูงมาก บางทีเราเขียนไม่ชัดเจนในการประมูล ห่วงชูชีพ แค่นิดเดียวก็มีสิทธิ์ไม่ผ่านการพิจารณาได้ ทางที่ต้องตรวจสอบและรอบคอบในทุก ๆ เรื่อง

ทั้ง 10 ความผิดพลาดนี้ ร้านไทยจราจร เชื่อว่าอาจเคยเกิดขึ้นกับบางคน ทางที่ดีควรเตรียมตัวให้พร้อมในทุก ๆ ขั้นตอนของการประมูล มีความรอบคอบและติดตามการประมูลจนเสร็จสิ้น ก็มีโอกาสสูงที่จะได้งานนั้นมา

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found