5 ประโยชน์ที่ควรใช้ ไฟกระพริบ แจ้งจุดเสี่ยงอันตรายบนทางหลวง

เชื่อว่าหลายคนเคยเห็น ไฟกระพริบ บนทางหลวงหรือตามทางแยกจนชินตา ถือเป็น ป้ายเตือน ที่มีความสำคัญ เหมาะกับการติดตั้งบนทางหลวงที่มีการใช้ความเร็วจราจรสูงและติดตั้งในพื้นที่อันตรายเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ซึ่งผู้ขับขี่ทุกคนต้องปฏิบัติตามเพื่อความปลอดภัย ช่วยลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตบนท้องถนน มาดูกันว่าประโยชน์ของการใช้ไฟกระพริบและอุปกรณ์เตือนอันตรายบนทางหลวง 5 ข้อมีอะไรบ้าง

1.เตือนบริเวณทางแยกทางโค้งที่เป็นจุดเสี่ยงอันตราย

สัญญาณไฟกระพริบใช้งานหลักทั่วไปเพื่อเตือนทางแยก ทางโค้ง และจุดเสี่ยงอันตรายบนทางหลวง หมดห่วงกับการมองเห็นไม่ชัดเจน พร้อมใช้งานทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ดังต่อไปนี้

– สัญญาณไฟกระพริบเป็น เครื่องหมายจราจร ที่พบเห็นบ่อยมากบริเวณทางแยกทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นทาง 3 แยกหรือ 4 แยก หรือวงเวียน สาเหตุที่เกิดปัญหาอุบัติเหตุเนื่องจากระยะการมองเห็นปลอดภัยไม่เพียงพอและไม่มีสัญญาณไฟจราจร ไฟกระพริบเตือนให้ผู้ขับขี่รู้ว่าทางข้างหน้าขับไปต่อไม่ได้แล้ว ต้องแยกเบี่ยงไปทางใดทางหนึ่งหรือต้องเลือกเลี้ยวซ้าย-เลี้ยวขวา 

– บริเวณหัวมุม ทางโค้งแคบอันตราย หรือทางแคบเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งเนื่องจากมองไม่เห็นเส้นทางข้างหน้า โดยเฉพาะเวลากลางคืนหรือกรณีที่ผู้ขับไม่ชินกับเส้นทางนั้น ไฟกระพริบเป็นอุปกรณ์เตือนให้ผู้ใช้ถนนชะลอความเร็วและขับระมัดระวังยิ่งขึ้น ซึ่งเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้นได้

2.มองเห็นเกาะกลางถนนชัดเจนในเวลากลางคืน

ป้ายเตือนไฟกระพริบลดการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากมองไม่เห็นเกาะกลางถนนในเวลากลางคืนบริเวณที่ไฟทางไม่สว่าง โดยเฉพาะทางหลวงในเขตชนบทจุดที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

– ป้ายไฟเตือนเป็นไฟกระพริบที่มองเห็นได้ในระยะไกล วิธีการติดตั้งไฟกระพริบบริเวณหัวเกาะกลางถนนทั้ง 2 ฝั่งทำให้ผู้ขับขี่สังเกตเส้นทางข้างหน้าได้ง่าย ช่วยแก้ปัญหามองไม่เห็นเกาะกลางถนนและเส้นแบ่งเลนไม่ชัดมากพอในเวลากลางคืน ลดความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนให้น้อยลง รวมถึงลดปัญหาความสับสนและการหลงทางในเวลากลางคืนอีกด้วย

– ไฟกระพริบแจ้งเตือนทำให้ผู้ขับขี่ทราบว่าบริเวณดังกล่าวคือเกาะกลางถนน มีประโยชน์ทั้งตอนกลางวันที่มีฝนตกหนักหรือมีหมอกที่ทำให้ทัศนวิสัยการมองเห็นไม่ดีนัก มองเห็นเกาะกลางถนนไม่ชัดเจน ทำให้ต้องเสียกำลังอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ในการตั้งด่านบริเวณจุดเสี่ยงที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงกรณีการเฉี่ยวชนบริเวณเกาะกลางถนนบ่อยครั้ง

3.เขตโรงเรียนหรือเขตชุมชนที่ห้ามใช้ความเร็ว

ไฟกระพริบเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างมากเพื่อเตือนให้ผู้ขับรถทุกคนเพิ่มความระมัดระวังในการใช้เส้นทางจราจรใกล้บริเวณโรงเรียนและแหล่งชุมชนบริเวณที่มีผู้คนพลุกพล่าน

– คนใช้รถค่อนข้างคุ้นเคยดีกับกรวยจราจรและแผงกั้นจราจรใช้กั้นแนวเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ผู้ใช้รถควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน พร้อมกับการติดตั้งไฟกระพริบที่มองเห็นได้ชัดจากระยะไกลเพื่อแจ้งเตือนให้ชะลอความเร็วล่วงหน้า ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุกับเด็กนักเรียนหรือประชาชนในบริเวณดังกล่าว 

– การติดตั้งไฟกระพริบก่อนถึงทางม้าลายซึ่งมักจะอยู่บริเวณโรงเรียนที่มีเด็กเล็ก ใกล้ตลาดที่มีผู้คนสัญจรบนถนนจำนวนมาก พร้อม เครื่องหมายจราจร เพื่อเตือนให้ผู้ใช้ควบคุมความเร็วในบริเวณชุมชนและเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วนเพราะมีโอกาสที่คนจะเดินข้ามถนนตรงทางม้าลายได้ตลอดเวลา การปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้

4.บริเวณที่มีการก่อสร้างและซ่อมถนน

โดยปกติแล้วไฟกระพริบและ กรวยจราจร เป็นอุปกรณ์จราจรที่เตือนให้ระวังทางข้างหน้าซึ่งเป็นเขตก่อสร้างหรือกำลังซ่อมถนน ใช้กั้นจุดก่อสร้างเป็นพื้นที่ห้ามเข้า หรือเตือนว่ามีสิ่งกีดขวางบนผิวถนน ให้ผู้ใช้รถชะลอความเร็วและเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้

– บริเวณที่มีการก่อสร้างจะใช้ ตาข่ายพลาสติก สำหรับการกั้นแนวเขตพื้นที่ก่อสร้างเพื่อความปลอดภัย โดยการติดตั้งเป็น รั้วตาข่าย ชั่วคราวตลอดแนวของถนนที่มีการก่อสร้าง ผู้ขับรถจะเห็นไฟกระพริบส่งสัญญาณเตือนตั้งแต่ระยะไกล ช่วยให้ชะลอความเร็วได้ทันและระมัดระวังเมื่อขับเข้าใกล้กับพื้นที่ก่อสร้างซึ่งมีฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศ หรือแม้แต่ในบริเวณที่มีหมอกหนา เกิดทัศนวิสัยบนท้องถนนไม่ดีที่ทำให้ผู้ขับขี่อาจมองไม่เห็นถนนจนเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนได้ง่าย 

– บริเวณที่มีการซ่อมถนนจะใช้ไฟกระพริบเตือนว่าข้างหน้ามีเขตก่อสร้าง ช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจนทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้รถและคนงานก่อสร้าง รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานบนถนนอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอันตราย ควรสวม เสื้อกันฝน ติดแถบสะท้อนแสงเพื่อให้เห็นชัดเจน เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก ไฟกระพริบและกรวยจราจรติดตั้งและเคลื่อนย้ายง่าย เมื่อซ่อมถนนเสร็จแล้วก็สามารถเก็บออกไปได้ในทันที 

5.เตือนเส้นทางที่มีพื้นที่เป็นมุมอับ

บริเวณถนนที่เป็นพื้นที่มีมุมอับต่าง ๆ ทั้งทางโค้งแคบ ทางโค้งหักศอก ทางแยกเลี้ยวขึ้นสะพาน ซึ่งเป็นจุดอันตรายที่มีทัศนวิสัยการมองเห็นไม่ชัดเจน ไฟกระพริบ กระจกมองทางโค้ง และอุปกรณ์จราจรอื่น ๆ ช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

– ป้ายเตือนและไฟกระพริบเป็นอุปกรณ์จราจรช่วยลดอุบัติเหตุบริเวณทางขึ้นสะพาน ขอบทางด่วน ทางยกระดับจากถนนปกติ และจุดที่ควรติดตั้งไฟกระพริบเพื่อเตือนให้ผู้ใช้รถขับระวัง โดยเฉพาะไฟกระพริบเพิ่มความสว่างทำให้มองเห็นป้ายเตือนในเวลากลางคืน ทำให้ผู้ใช้รถมองเห็นเส้นทางข้างหน้าและระมัดระวังไม่ขับชิดขอบทางมากเกินไปหรือเบียดชิดราวกำแพงของทางยกระดับ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้

ไฟกระพริบ ติดตั้งก่อนถึงทางลอดอุโมงค์เพื่อเตือนไม่ให้ขับรถเร็วบริเวณทางเข้าและออกซึ่งแสงสว่างไม่สม่ำเสมอ ไฟกระพริบบริเวณริมอุโมงค์เพิ่มความสว่างขณะขับรถผ่านอุโมงค์ทางลอด ทำให้มองเห็นเส้นทางในอุโมงค์ชัดเจน สามารถควบคุมรถอยู่กึ่งกลางช่องทางจราจรอย่างเหมาะสม ไม่ขับชิดมากเกินไปจนเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

– จุดตัดทางรถไฟ ป้ายเตือนและไฟกระพริบบริเวณทางข้ามรถไฟทั้งแบบมีเครื่องกั้นทางและไม่มีเครื่องกั้นทาง เมื่อเห็นไฟกระพริบจะชะลอความเร็วและมองซ้ายมองขวาสังเกตดูรถไฟที่กำลังจะแล่นผ่านทางรถไฟบริเวณนี้ ถ้ามีรถไฟวิ่งมา ผู้ใช้รถควรปฏิบัติตามกฎจราจร คือ จอดรถหยุดห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร รอจนรถไฟผ่านไปก่อน

– ทางเข้า-ทางออกของตึกอาคาร ห้างสรรพสินค้า โรงแรม อาจไม่มีเสาหรือเส้นตีแบ่งระหว่างเลนทำให้รถวิ่งคร่อมเลนของรถที่วิ่งสวนทาง ทำให้รถติดหรือเฉี่ยวชนกันได้ การติดไฟกระพริบช่วยให้ขับผ่านทางเข้า-ทางออกง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมี ป้ายเตือน ช่วยเตือนว่าถึงสถานที่สำคัญแล้ว ป้องกันปัญหาผู้ที่ไม่คุ้นเคยเส้นทางขับเลยทางเข้าได้อีกด้วย

– ทางเข้าออกซอยที่มีรถขับเข้า-ออกพลุกพล่านและเป็นมุมอับที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย ไฟกระพริบจะเตือนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนชะลอดูรถอย่างถี่ถ้วนก่อนขับเข้า-ออกจากซอย โดยบริเวณปากซอยที่เป็นทางแยกจะใช้ไฟกระพริบสีเหลืองเป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ขับรถอยู่ทางเอกชะลอความเร็วก่อนถึงทางแยก ส่วนไฟกระพริบสีแดงเป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ขับรถทางโทหยุดรถก่อน รอจนกว่าจะปลอดภัยแล้วจึงขับต่อไปได้

– ไฟกระพริบโซล่าเซลล์ใช้เตือนว่าข้างหน้าเป็นทางจราจรที่ผู้ใช้รถต้องขับอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะจุดที่เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนเนื่องจากเป็นมุมอับหรือเกิดอุบัติเหตุตอนกลางคืน ซึ่ง อปพร. นำมาวางไว้ชั่วคราวเพื่อป้องกันไม่ให้รถคันที่วิ่งตามหลังมาวิ่งชนซ้ำซ้อน ไม่เกิดความสูญเสียมากขึ้นไปอีก 

ปัจจุบันมีไฟกระพริบโซล่าเซลล์เป็นเสาที่ติดตั้งอิสระโดยไม่ต้องลากสายไฟ ใช้ง่ายและเคลื่อนย้ายสะดวก ไฟกระพริบเตือนให้ผู้ขับรถมองเห็นเส้นทางจราจรได้ในระยะไกล สามารถมองเห็นแสงไฟได้แม้มีแดดส่องและมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ติดเรียงกันไปบริเวณที่เป็นจุดอันตรายและบนเกาะกลางถนน ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมากขึ้น