ข้อควรรู้สำหรับการออกแบบที่จอดรถบนอาคารให้มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน

       ในเขตพื้นที่ของเมืองขนาดใหญ่ ที่มีความแออัดของผู้คนจำนวนมากมาอาศัยอยู่รวมกัน ปริมาณการใช้งานรถยนต์ก็มีมากเป็นเงาตามตัว ส่งผลให้พื้นที่สำหรับใช้ในการจอดรถยนต์นั้นหายากด้วยเช่นกัน ในสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า คอนโดมิเนียม โรงพยาบาล ต่างก็มีอาคารสูงสำหรับให้บริการจอดรถแก่ผู้มาใช้บริการ รวมถึงได้มีธุรกิจให้เช่าอาคารที่จอดรถเกิดขึ้นอย่างมากมาย สำหรับบทความนี้ ทาง ร้านไทยจราจร จะมาแนะนำวิธีการบริหารจัดการออกแบบลานจอดรถให้มีความปลอดภัยและมีมาตรฐานเพื่อรองรับระบบลานจอดรถที่มีประสิทธิภาพ

 

 

       1. บริเวณทางเข้า-ออก

ในส่วนของการออกแบบทางเข้า-ออก ที่จอดรถ นั้น ผู้เกี่ยวข้องควรออกแบบโดยคำนึงให้มีความสะดวกปลอดภัยเป็นอันดับแรก สำหรับอุปกรณ์ที่ควรต้องมีไว้ประจำทางเข้า-ออก ที่แนะนำมีดังนี้
  • ป้ายเตือน ต้องแสดงป้ายเตือนบ่งบอกว่าทางใดคือทางเข้า ทางใดคือทางออกเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแก่ผู้ขับขี่ ป้ายเตือนต้องมีข้อความใหญ่พอที่จะมองเห็นได้จากระยะไกล และติดตั้งอยู่ในจุดที่มองเห็นได้ง่ายไม่มีสิ่งบดบัง
  • เสาหรือกรวย หากทางเข้า-ออกเป็นทางเดียวกันก็ควรใช้เสาล้มลุกหรือ กรวยจราจร เป็นตัวช่วยในการแบ่งช่องจราจรให้เป็นสัดส่วน จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ การใช้เสาหรือกรวยที่ผลิตจากพลาสติก จะช่วยไม่ให้เกิดความเสียหายต่อตัวรถในกรณีที่ผู้ขับขี่เผลอขับรถไปชนจากเหตุสุดวิสัย นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการวางให้มีความเหมาะสมได้ เช่น หากต้องการให้มีทางเข้ากว้างกว่าทางออก ก็ขยายช่องทางเดินรถได้อย่างยืดหยุ่นตามลักษณะการใช้งาน

 

 

 

 

  • คานจำกัดความสูง ในพื้นที่อาคารจอดรถนั้นมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของเพดาน ในส่วนของทางเข้าควรติดตั้งคานจำกัดความสูงเอาไว้เพื่อคัดกรองรถที่จะเข้าไปจอดให้มีความเหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยคานจำกัดความสูงนั้นมีทั้งแบบตั้งพื้นและแบบที่เป็นท่อเหล็กติดเอาไว้บนฝ้าเพดาน
  • อุปกรณ์กั้นทางเข้า-ออก หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าไม้กระดก นับเป็นอุปกรณ์สำคัญในการควบคุมการเข้าออกของยานพาหนะ โดยมีให้เลือกทั้งแบบควบคุมการเปิดปิดด้วยคนและควบคุมการเปิดปิดด้วยระบบอัตโนมัติซึ่งให้ความสะดวกที่มากขึ้นในการปฏิบัติงาน

 

 

 

 

       2. บริเวณช่องเดินรถ

ช่องเดินรถถือเป็นพื้นที่สำคัญของลานจอดรถบนอาคาร เพราะต้องใช้เป็นเส้นทางสำหรับการขับขี่ยานพาหนะ ช่องเดินรถต้องมีขนาดที่กว้างเพียงพอ และหากเป็นไปได้ควรกำหนดให้มีการเดินรถทางเดียว หรือทางวันเวย์ จะเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ในลานจอดรถได้วิธีหนึ่ง ป้ายจราจร ที่สามารถนำมาใช้ได้เพื่อเสริมความปลอดภัยให้มากขึ้นตรงส่วนของช่องทางเดินรถ มีดังนี้
  • ป้ายห้ามเข้า ในกรณีที่กำหนดให้มีการเดินรถทางเดียว ควรต้องมีการติด ป้ายห้ามเข้า เพื่อเตือนไม่ให้ผู้ขับขี่ขับรถเข้าไปผิดเส้นทางจนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

 

 

 

 

  • ป้ายควบคุมความเร็ว ในพื้นจอดรถบนอาคารต้องกำหนดการใช้ความเร็วอย่างเข้มงวด เนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ มีความลาดชันมาก การใช้ความเร็วที่มากเกินไปจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ โดยปกติจะกำหนดความเร็วเอาไว้ที่ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงควรติดป้ายควบคุมความเร็วเอาไว้ให้เห็นอย่างเด่นชัด
  • ป้ายบอกทางเลี้ยว การขับรถขึ้นลงอาคารจอดรถนั้น ควรกำหนดให้มีการเดินรถทางเดียวเพื่อง่ายต่อการสัญจร ควรมีป้ายบอกทางเลี้ยวที่ถูกต้องกำกับเอาไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้ขับขี่ขับรถเข้าไปผิดเส้นทางที่กำหนดไว้ ควรใช้ เครื่องหมายจราจร มาเป็นตัวช่วยในการบริหารการจราจรในลานจอดรถบนอาคารให้มีประสิทธิภาพ

 

 

 

 

       3. ช่องจอดรถ

ในการออกแบบช่องจอดรถ นั้นควรออกแบบให้รถสามารถเข้าออกได้อย่างสะดวก มีความปลอดภัยเพียงพอต่อการใช้งาน การออกแบบช่องจอดรถนั้นมีอยู่สองรูปแบบ ดังนี้
  • ช่องจอดรถแบบมาตรฐาน ช่องจอดแบบมาตรฐานสำหรับรถ 1 คัน ควรมีขนาดกว้าง 2.4 เมตร ยาว 5 เมตร และเผื่อพื้นที่ด้านข้างสำหรับเว้นระยะระหว่างรถแต่ละคัน 30-70 เซนติเมตรตามความเหมาะสม เพื่อมีระยะห่างสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารในการเข้าออกจากตัวรถได้สะดวก
  • ที่จอดรถแบบเส้นทแยงมุม 45 องศา เป็นการออกแบบช่องจอดรถให้มีความเฉียงเพื่อ เพิ่มพื้นที่ช่องทางเดินรถได้มากขึ้น เพราะส่วนท้ายของรถที่จอดจะยื่นออกมาน้อยกว่าการจอดในช่องจอดแบบปกติ ที่สำคัญมีประโยชน์ในเรื่องของความสะดวกของการเข้าออกช่องจอดรถ เพราะไม่ต้องนำรถเข้าจอดแบบถอยหลังให้เสียเวลา

 

 

 

 

       4. ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยสำหรับ ที่จอดรถ บนอาคารสูง

นอกจากการออกแบบช่องทางเดินรถ และช่องจอดรถให้มีมาตรฐานแล้ว การมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการเพิ่มความปลอดภัยในลานจอดรถก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย สำหรับอุปกรณ์ที่ควรมีไว้ในลานจอดรถบนอาคาร มีดังนี้
  • กรวยจราจร ควรมีไว้เพื่อใช้กั้นในตรงทางเลี้ยว เพื่อไม่ให้มีผู้ใช้รถขับรถสวนเลนเข้ามายังเส้นทางที่ห้ามไว้ หรืออาจจะใช้กั้นในช่องจอดรถที่เกิดความชำรุดเพื่อไม่ให้ผู้ใดเขาไปจอดอันอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

 

 

 

 

  • ยางกันกระแทก ในช่องจอดรถที่เป็นมุมเสาของอาคาร หรือเสาตรงบริเวณทางเลี้ยวขึ้นลานจอดรถ อาจจะมีความคับแคบ จนผู้ขับขี่อาจขับไปเบียดเสาได้ การติด ยางกันกระแทก ที่ผลิตจากยางคุณภาพสูง มีความยืดหยุ่นไว้ที่เสา จะช่วยลดความเสียหายของทั้งตัวรถและโครงสร้างของเสารับน้ำหนักได้ 
  • ที่กั้นล้อ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ลานจอดรถทุกแห่งควรมี การติดตั้งที่กั้นล้อไว้ในช่องจอดรถนั้น จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ขับขี่นำรถเข้าไปจอดเกินเขตช่องจอดรถที่อาจจะไปกระแทกเข้ากับแผงกั้นหรือขอบกั้นที่อยู่ด้านหลังช่องจอดรถได้ เพราะเมื่อผู้ขับขี่ถอยรถเข้าสู่ช่องจอดจนล้อรถสัมผัสเข้ากับที่กั้นล้อจะทำให้รถหยุด แรงสั่นสะเทือนก็เป็นสัญญาณที่ทำให้ผู้ขับขี่ทราบได้ว่าไม่ควรถอยรถมากไปกว่านี้อีก สำหรับที่กั้นล้อนั้นก็มีให้เลือกทั้งที่ผลิตจากปูนซีเมนต์ หรือยางชนิดพิเศษที่มีความเหนียว ทนทานเป็นพิเศษ

 

 

 

 

  • ถังดับเพลิง เพลิงไหม้นั้นถือเป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในอาคารจอดรถที่เต็มไปด้วยระบบไฟฟ้า อาจเกิดความชำรุดได้ทุกเมื่อ รถยนต์เองก็เช่นกัน อาจจะเกิดเหตุไฟไหม้ได้จากความชำรุดของอุปกรณ์ เช่น ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ ถังน้ำมันรั่ว ซึ่งเป็นสาเหตุในการเกิดเพลิงไหม้ได้ การติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงเอาไว้ตามจุดต่างๆอย่างเพียงพอ จะช่วยให้สามารถระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที สำหรับการติดตั้ง ถังดับเพลิง นั้น ควรติดตั้งเอาไว้ในจุดที่มองเห็นได้ชัด โดยอาจจะมีตู้สำหรับเก็บโดยเฉพาะ หรือจะเป็นการติดตั้งโดยมีป้ายกำกับเอาไว้ให้เห็นอย่างเด่นชัด และต้องมีป้ายเตือนไม่ให้ผู้ใดนำสิ่งของมาวางกีดขวางการใช้งานหรือจอดรถกีดขวาง
  • กระจกโค้ง ในทางขึ้น-ลงลานจอดรถบนอาคารนั้นค่อนข้างมีความชันและแคบ ทัศนวิสัยในการมองเห็นจำกัด การติดตั้งกระจกโค้งเอาไว้ตามทางขึ้น-ลงลานจอดรถ จะช่วยให้ผู้ขับขี่มองเห็นสถานการณ์ข้างหน้าได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น มีรถข้างหน้ากีดขวางการจราจร หรือมีสิ่งอื่นกีดขวางการเดินรถ จะได้ระมัดระวังได้ทันท่วงที

 

 

 

 

  • ป้ายไฟหยุดตรวจ ลานจอดรถบางแห่งนั้นจำเป็นต้องมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดสำหรับผู้ที่เข้า-ออก การติดตั้งป้ายไฟหยุดตรวจไว้ที่ทางเข้า จะเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้ขับขี่เห็นได้อย่างชัดเจนเพื่อเข้ารับการตรวจก่อนที่จะเข้าไปยังสถานที่จอดรถได้ โดยป้ายลักษณะนี้มักจะมีล้อเลื่อนเพื่อสะดวกต่อการใช้งาน ในบางครั้งก็สามารถใช้แทนไม้กระดกได้เช่นกัน
เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อมูลที่ทาง ร้านไทยจราจร นำมาบอกกล่าวแนะนำถึงข้อควรรู้สำหรับการออกแบบลานจอดรถบนอาคารสูง ยังมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการจราจรอื่นอีกหลายชนิดที่เจ้าของอาคารสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารลานจอดรถให้มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูงสุดสำหรับผู้มาใช้บริการ

ที่มาข้อมูล