กฎ ข้อบังคับ ป้ายจราจร และความปลอดภัย สิ่งที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานต้องดูแล

                         ว่าด้วยเรื่องการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 สถานประกอบการทุกแห่งจะต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในที่ทำงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ความปลอดภัยในที่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้างด้วยการ ควบคุม ดูแลความปลอดภัยทั้งหมดในองค์กร ไม่เว้นแม้แต่งานจราจร เพื่อลดอุบัติเหตุให้เป็น 0 โดยจะต้องบริหารจัดการให้เป็นไปตามคู่มือความปลอดภัยในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการฝึกอบรม ทำแผนอพยพหนีไฟ ซ้อมดับเพลิง ออกกฎ ข้อบังคับ ดูแลอุปกรณ์ความภัยและ ป้ายจราจร ให้อยู่ในสภาปกติและพร้อมที่จะใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา

 

 

งานจราจรกับหน่วยงานความปลอดภัย

     ยังมีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำงานด้านความปลอดภัยในงานจราจร ซึ่งจะต้องเป็นหน้าที่ของ ตำรวจจราจร รปภ และหน่วยงานความปลอดภัย ซึ่งจริง ๆ แล้วงานจราจรเป็นหน้าที่ของคนทุกคน เพียงแต่คนที่ออกกฎ และควบคุมนั้นเป็นหน่วยงานความปลอดภัย ซึ่งก่อนที่จะออกกฎหรือบังคับให้ทุกคนปฏิบัติตาม จะต้องทำการประเมินความเสี่ยง ทำแบบสำรวจพื้นที่ทำงานและสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในที่ทำงาน การจราจรภายในตลอดจนพื้น ที่จอดรถจักรยานยนต์ เพราะถือว่าเป็นงานด้านความปลอดภัยทั้งหมด จากนั้นค่อยลงประชามติและบังคับใช้กฎระเบียบที่ทุกคนให้ความร่วมมือ บางอย่างก็เป็นข้อกฎหมายบังคับ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเพียงแค่ปฏิบัติตามให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นเอง เมื่อมีมติเอกฉันท์จึงค่อยสั่งซื้ออุปกรณ์ความปลอดภัย ป้ายจราจร แต่งตั้งทีมงานในการติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยหรือทาสีสัญลักษณ์บนพื้นถนน เพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบ

 

 

อุปกรณ์ความปลอดภัยกับงานจราจร

           เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการบริหารจัดการงานจราจร บางครั้งอาจต้องพึ่งพาอุปกรณ์ความปลอดภัย โดยเฉพาะอุปกรณ์ภาคบังคับหรือกำหนดทิศทางให้บุคคลอื่นปฏิบัติตาม เช่น กรวยจราจร แบริเออร์ เสาจราจร สัญญาณไฟแจ้งเตือน ซึ่งการทำงานของอุปกรณ์ก็จะแตกต่างกัน จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย

  • กรวยจราจร มีให้เลือกหลากหลายวัสดุทั้ง PE, PVC และ EVA มีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก จัดเก็บง่าย เพียงวางซ้อนกันได้เลย บางรูปแบบมีไฟกะพริบเปล่งแสงได้ หลากหลายขนาดให้เลือก ราคาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับงบประมาณของหน่วยงานและการนำไปใช้ อย่าง กรวยจราจร EVE สามารถทนแรงรถเหยียบทับได้หลายครั้ง 

 

 

  • แบริเออร์ พลาสติก กำแพงกั้นเคลื่อนที่ได้ สีสันสดสวย มองเห็นจากที่ไกลได้ถนัดตา เหมาะสำหรับกั้นเพื่อแบ่งเลนจราจรหรือปิดกั้นพื้นที่ ที่มีการซ่อมแซมหรือห้ามคนเข้าใกล้ เป็นอีกหนึ่ง วิธีลดอุบัติเหตุ  เนื่องจากทำจากพลาสติก จึงทำให้ขนย้ายง่าย ไม่หนัก 
  • กระจกโค้ง เหมาะสำหรับติดตั้งบริเวณทางเลี้ยวที่เป็นมุมอับสายตา ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ โดยเฉพาะบริเวณมุมตึกหรือมีต้นไม้บดบังทางเลี้ยวหรือทางแยกด้านหน้า มีให้เลือกใช้งานได้หลายวัสดุ เช่น กระจกแท้, สแตนเลสหรือโพลี มีความแข็งแรง ทนทานแตกต่างกัน
  • ที่กั้นที่จอดรถ เหมาะสำหรับนำมาใช้ในพื้น ที่จอดรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ เพื่อป้องกันการชนของฟุตบาท, ผนังตึก หรือใช้แยกโซนกั้นแบ่งระหว่าง ที่จอดรถจักรยานยนต์ ขนาดเล็กและ Big Bike ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันรถใหญ่ล้มและยกขึ้นลำบาก เพราะมีน้ำหนักมากกว่า

 

 

  • เสากั้นทางเดิน ใช้สำหรับกั้นทางเดินชั่วคราว เพื่อกั้นการจอดรถหรือใช้กั้นให้คนห้ามเดินผ่าน เนื่องจากมีการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ 
  • ไฟเตือน ไฟหมุนไซเรน เป็นไฟสัญญาณเพื่อบอกเหตุการณ์ฉุกเกฉินหรือแจ้งเตือนให้ผู้สัญจรไปมาให้ระวังบริเวณดังกล่าว เนื่องจากอาจมีหลุม มีการซ่อมแซมทางข้างหน้าหรือห้ามเข้าใกล้ โดยอาจใช้ร่วมกับแบริเออร์ เพื่อสร้างเป็นตัวป้องกัน เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ได้
  • แผงกั้นยืดหดได้ เหมาะสำหรับหมู่บ้านจัดสรร บริษัท ห้างร้าน ที่สามารถขับรถผ่านเข้าไปได้ โดยก่อนไปจะต้องได้รับการหดแผงกั้นก่อน จากนั้นเมื่อรถผ่านค่อยยืดแผงกั้นออก ที่แผงกั้นจะมีล้อเพื่อความสะดวกในการยืด-หด แผงกั้น

 

 

  • ถังดับเพลิง หลายคนมองว่าอาจไม่เกี่ยวข้องกับงานจราจร แต่บางครั้งหากเกิดเหตุฉุกเฉินเมื่อจะเรียกใช้ถังดับเพลิงก็หายากเช่นกัน รถยนต์ทุกคันหากเป็นไปได้ควรซื้อถังดับเพลิงขนาดเล็กติดรถเอาไว้เผื่อฉุกเฉิน จากเสียหายหนักจะเสียหายเบาได้ ดังจะเห็นได้จากข่าวรถเกิดเพลิงไหม้ แม้ไม่ใช่รถติดแก๊สก็ตาม 

ป้ายจราจร และเครื่องหมายจราจร

      สำหรับป้ายและเครื่องหมายจราจรสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ป้ายห้าม, ป้ายเตือน และป้ายแนะนำ อาจอยู่ในรูปแบบของป้ายหรือบนพื้นถนน ซึ่งหน่วยงานความปลอดภัยควรจัดอบรมให้แก่พนักงานและส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะได้เข้าใจความหมายของป้ายต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

 

  • ป้ายห้าม เป็นป้ายที่ห้ามรถทุกชนิดกระทำการฝ่าผืนกฎ ระเบียบ เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือสูญเสียเกิดขึ้นได้  เช่น
  • ป้ายหยุด หรือ STOP ส่วนใหญ่จะได้รับการติดตั้งบริเวณทางแยก หรือทางเข้าออกโรงงาน พื้น ที่จอดรถจักรยานยนต์ รถยนต์ เพื่อให้ทุกคนรับบัตรจอดรถหรือบันทึกการเข้าออก รถทุกชนิดต้องหยุด เพื่อความปลอดภัย จากนั้นให้พิจารณาถึงสิ่งที่ขวางกั้นหรือไม่มีอะไรที่จะก่อให้เกิดอันตรายได้แล้ว ค่อยขับรถออกไปอย่างช้า ๆ 
  • ป้ายห้ามจอด มักจะเห็นการติดตั้งป้ายดังกล่าวบริเวณริมถนน หรือ หน้าทางเข้าโรงเรียน ห้างร้านและบริษัท เพื่อป้องกันการจราจรที่ติดขัดและอุบัติเหตุได้ ซึ่งรถทุกคันห้ามหยุดหรือจอด ไม่ว่ากรณีใด ๆ 

 

 

  • ป้ายห้ามเลี้ยวซ้าย, ห้ามเลี้ยวขวา เป็นป้ายที่ใช้กำหนดทิศทางเพื่อให้ผู้ขับขี่ไม่ขับรถไปในทิศทางที่ห้าม เช่น อาจเป็นทางตันหรืออาจเป็นพื้นที่อันตราย จึงห้ามรถเลี้ยวผ่านเข้าไป หรือเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายหากเลี้ยวเข้าไป เป็นต้น
  • ป้ายเตือนตั้งพื้น อาจใช้ในพื้นที่หวงห้ามหรือพื้นกำลังได้รับการปรับปรุงหรือทำความสะอาด โดยห้ามรถทุกคันวิ่งผ่าน เพื่อป้องกันความเสียหาย
  • ป้ายเตือน ป้ายเตือน ส่วนใหญ่จะเป็นการแจ้งให้ผู้ขับขี่ทราบและปฏิบัติตามก่อนที่จะถึงบริเวณที่เตือน โดยป้ายดังกล่าวมีทั้งติดตั้งบนเสาและพื้นถนน 
  • ป้ายเตือนระวังโรงเรียน จะเป็นป้ายที่แจ้งให้ผู้ขับขี่ทราบล่วงหน้าว่าข้างหน้าอีกไม่ไกลจะมีโรงเรียน ให้ระวังนักเรียนข้ามถนน โดยบนพื้นก็จะมีตัวอักษรระบุ ขับช้า ๆ ระวังโรงเรียน หรือ ใช้เตือนทางโค้ง เป็นต้น
  • ป้ายทางออกฉุกเฉิน ส่วนใหญ่จะมาพร้อมไฟฉุกเฉินหรือมีสารเรืองแสง มักติดตั้งและบอกทิศทางให้รู้ว่าตรงไหนคือทางออกประตู ส่วนใช้ภายในอาคาร หรือภายนอก อาจใช้คำว่า ทางออก

 

 

  • ป้ายจำกัดความสูง บางบริษัทมีคลังสินค้าที่สามารถให้รถขนส่งเข้าไปส่งและรับสินค้าได้ ซึ่งทางเข้าจะมีป้ายแสดงถึงความสูงของประตูหรือระดับความสูงที่รถสามารถวิ่งผ่านไปได้ เช่น 4.50 โดยจะมีลูกศรสีดำกำกับบน-ล่าง เพื่อแสดงว่า ณ ประตูบานนี้มีความสูงจากพื้นถึงประตู 4.50 เมตร ดังนั้น รถที่มีความสูงเกิน 4.50 เมตร จะไม่สามารถผ่านได้ ส่วนใหญ่จะเห็นติดตั้งบริเวณทางขึ้นลานจอดรถห้างสรรพสินค้า, โรงแรม เพื่อจำกัดความสูงของรถในการเข้าไปจอด โดยอาจใช้ควบคู่กับคานจำกัดความสูงได้
  • ป้ายเตือนทางแยกและอื่น ๆ ป้ายเตือนทางแยก จะแจ้งล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ขับขี่ระมัดระวัง เช่น ข้างหน้าเป็นทางแยก หรือ ข้างหน้าเป็นทางโค้ง ควรชะลอความเร็วและขับขี่ด้วยความระมัดระวัง

จัดทำแบบฟอร์มการทำความสะอาด ตรวจเช็กอุปกรณ์ 

 

 

    หลังจากที่รู้จักกับอุปกรณ์ความปลอดภัยและป้ายสัญญาลักษณ์จราจรไปบ้างส่วนแล้ว หน่วยงานความปลอดภัยจะต้องจัดทำ check list หรือ ใบตรวจเช็กอุปกรณ์หรือป้าย ให้มีความสะอาดและสามารถใช้ได้ทุกเวลาที่ต้องการ ถือเป็นการซ่อมบำรุง ดูแลรักษาอุปกรณ์ความปลอดภัย โดยการตรวจสอบขึ้นอยู่กับความถี่ที่รับได้ เช่น รายวัน, รายสัปดาห์หรือรายเดือน เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดหน่วยงานความปลอดภัย จะต้องกำหนดหัวข้อวิธีการตรวจเช็ก ปกติเป็นอย่างไร อย่างไรไม่เป็นปกติ จากนั้นให้หน่วยงานที่ดูแลเป็นคนรับผิดชอบ เช่น รปภ. ดูแลแผงกั้นยืดหด, ถังดับเพลิงภายในป้อม หน่วยงานในพื้นที่ทำงานดูแลไฟฉุกเฉินในพื้นที่, อุปกรณ์ กรวยจราจร และไฟจราจร ให้หน่วยงาน อปพร. ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแล 

       ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ความปลอดภัยและเครื่องหมายจราจร หากใครสนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://trafficthai.com  หากท่านใดสนใจสามารถที่จะติดต่อและสั่งซื้อได้โดยตรง 

ที่มาข้อมูล :