หากกล่าวถึงงานก่อสร้างที่มีผู้คนจำนวนมากทั้งคนงาน วิศวกร นายช่าง คนขับรถและบุคคลภายนอกที่สัญจรไปมา รวมถึงการใช้งานเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง อุปกรณ์เหล่านี้ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถสร้างความอันตราย ทั้งยังมีน้ำหนักมาก หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ หรือขาดความระมัดระวังในการใช้งาน อาจส่งผลให้บุคลากรหน้างานเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยเพื่องานด้านการประเมินและควบคุมความเสี่ยง โดยเฉพาะการให้ความรู้ในเรื่องของความปลอดภัยขั้นพื้นฐานแก่บุคลากรหน้างาน ซึ่งการให้ความรู้นี้เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ที่มีประสิทธิภาพ หากบุคลากร หรือพนักงาน ปราศจากความรู้และขาดการรับการอบรมที่ดีแล้วย่อมนำมาซึ่งอันตรายร้ายแรงได้
ป้ายเตือนต่าง ๆ สำหรับไซต์งานก่อสร้าง
นอกจากการอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยขั้นพื้นฐานซึ่งถือ วิธีลดอุบัติเหตุ ที่มีประสิทธิภาพแล้ว พวกป้ายเตือนภัย ป้ายจราจร ต่าง ๆ ก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้ความรู้เช่นกัน เพราะในพื้นที่ก่อสร้างจะต้องได้รับการติดตั้งป้ายเตือนตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงการติดตั้งสัญญาณไฟหากมียานพาหนะเข้าออกพื้น ที่จอดรถ หรือป้ายเตือนอื่น ๆ บริเวณโดยรอบเพื่อแจ้งเตือนให้บุคคลทั้งภายในและบุคคลภายนอกให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ มาดูกันว่าในไซต์งานก่อสร้างควรติดป้ายเตือนแบบใดบ้าง
- ป้ายห้ามเข้า เป็น ป้ายจราจร ลักษณะบังคับ อาจมีข้อความระบุห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในบริเวณไซต์งานก่อสร้าง หรือบริเวณดังกล่าวอาจมีการใช้เครื่องจักรในการทำงาน ห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามา เป็นต้น ซึ่งป้ายดังกล่าวอาจติดตั้งไฟส่องสว่างร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้แจ้งเตือนในเวลากลางคืน
- ป้ายหยุดตรวจ ป้ายจราจร ส่วนใหญ่จะได้รับการติดตั้งบริเวณทางเข้า-ออกของไซต์งานก่อสร้าง เพื่อตรวจสอบรถ หรือบุคคลที่เข้าออกภายในไซต์งาน
- ป้ายเตือนการสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัย โดยป้ายอาจจะแสดงบริเวณจุดรวมพล หรือลานสำหรับการประชุมพนักงานและคนงานตอนเช้า โดยก่อนเริ่มงานในบริเวณป้อม รปภ. จะมีบุคลากรเพื่อเช็คความพร้อมก่อนทำงานว่าพนักงาน และคนงานแต่ละคนได้รับการสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือไม่ หากไม่ได้สวมใส่ หรือสวมใส่ไม่ถูกต้อง จะต้องได้รับการสวมใส่ให้เรียบร้อยถูกต้องเสียก่อนจึงจะสามารถเข้าทำงานได้ ในขณะที่บุคคลภายนอกที่มาติดต่องาน หรือส่งของ ก็ต้องสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน เช่น หมวกนิรภัย, รองเท้าเซฟตี้, แว่นตาเซฟตี้ และถุงมือ เป็นต้น
- แบริเออร์และรั้วกั้น ที่จอดรถ สำหรับการกั้นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุ หรือป้องกันคนไม่รู้เข้าไปในพื้นที่อันตราย
- ถังดับเพลิง พร้อมป้ายสัญลักษณ์ ในทุกไซต์งานก่อสร้างจะต้องมี ถังดับเพลิง พร้อมป้ายสัญลักษณ์เพื่อที่จะสามารถมองเห็นง่ายและนำมาใช้ได้อย่างสะดวก
- ป้ายเตือน ระวังของตกจากที่สูง ทุกพื้นที่ที่มีการทำงานก่อสร้างอาคารต่าง ๆ จะต้องได้รับการติดป้ายเตือนระวังของตกจากที่สูง พร้อมกับ ป้ายเตือน ให้สวมหมวกนิรภัยก่อนเข้าพื้นที่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
- ป้ายเตือน ไฟฟ้าแรงสูง ส่วนใหญ่จะติดตั้งบริเวณหม้อแปลงไฟขนาดใหญ่ หรือบริเวณที่มีการเดินสายไฟโดยที่ยังไม่ได้รับการป้องกันถาวร
- อุปกรณ์ป้องกันรถเฉี่ยวชน อาจติดตั้งบริเวณมุมตึกที่กำลังสร้าง ที่จอดรถ หรือเสาของอาคาร เพื่อป้องกันการเบียด การชน ที่อาจเกิดจากรถที่สัญจรเข้า-ออกไซต์งานก่อสร้าง
อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล
ในการทำงานก่อสร้างนอกจากป้ายเตือนต่าง ๆ แล้ว อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลสำคัญยิ่งกว่า โดยบริษัทผู้รับเหมาจะต้องจัดหาให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งนี่ก็ถือเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ที่สำคัญอีกทางหนึ่ง ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างความปลอดภัยให้กับบุคลากร ได้แก่
- หมวกนิรภัย พนักงาน คนงาน ที่เข้าในพื้นที่ทุกคนต้องได้รับการสวมใส่ รวมถึงบุคคลภายนอกด้วย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่ได้รับอนุญาตในการเข้าพื้นที่
- รองเท้านิรภัย เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับคนทำงานไซต์งานก่อสร้าง เพราะวัสดุที่อยู่บนพื้นมีทั้งเหล็ก หิน ปูน ทราย ตะปู กระจก และอื่น ๆ หากไม่สวมใส่ อาจพลาดพลั้งเตะ หรือได้รับบาดเจ็บจากวัสดุเหล่านี้ได้ ซึ่งรองเท้านิรภัยจะต้องมีคุณภาพดี สามารถป้องกันอันตรายเหล่านี้ได้
- เสื้อสะท้อนแสง หากต้องทำงานในเวลากลางคืน พนักงานทุกคนต้องสวมใส่เสื้อผ้าสะท้อนแสงเพื่อความปลอดภัยและสามารถมองเห็นในที่แสงน้อยได้
- เข็มขัดพยุงหลัง หากเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานในการยก เข็มขัดพยุงหลังเป็นอุปกรณ์สวมใส่ที่ช่วยปกป้องหลังของคนงาน ช่วยจัดระเบียบร่างกายในการยกของหนักเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย
- แว่นนิรภัย ในบางจุดของการทำงานท่ามกลางฝุ่นละออง การสวมใส่แว่นนิรภัยสามารถปกป้องดวงตาและช่วยให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
- หน้ากากเชื่อม เป็นอุปกรณ์เฉพาะช่างเชื่อมที่ต้องมีไว้ใช้งานเพื่อช่วยปกป้องสายตาจากแสงไฟที่กำลังเชื่อม
- เชือก หรือสายรัดนิรภัย เมื่อต้องทำงานในที่สูง การมีเชือก หรือสายรัดนิรภัย ช่วยป้องกันการตกจากที่สูง และสร้างความมั่นใจในการทำงานบนที่สูงให้แก่คนงานได้
ข้อบังคับสำหรับการทำงาน
นอกจากป้ายเตือน อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ต้องเตรียมไว้สำหรับคนทำงาน ยังมีในส่วนของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการทำงาน ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะหากฝ่าฝืน หรือละเลยกฎระเบียบดังกล่าว อาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่ชีวิต หรือทรัพย์สินได้
- กฎ ห้ามดื่มสุราในพื้นที่ทำงาน และห้ามเมาสุรามาทำงาน เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงและก่อให้เกิดอันตรายขณะปฏิบัติหน้าที่
- ต้องสวมใส่อุปกรณ์ความปลออดภัยส่วนบุคคลทุกครั้งที่เข้าพื้นที่ หากไม่ปฏิบัติตาม ห้ามเข้าโดยเด็ดขาด
- ควรมีจัดอบรมพนักงานทุกเช้าก่อนเข้าทำงาน เพื่อเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยและงานที่ทำ ทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างกันและกัน เพื่อสร้างจิตสำนึก ทัศนคติในการทำงานให้มีความปลอดภัย
- พนักงานและคนงานจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพ เพื่อหาความผิดปกติของร่างกายตามที่กฎหมายกำหนด
ความปลอดภัยในการทำงานร่วมกับเครื่องจักร
เป็นที่รู้กันดีว่าในงานก่อสร้าง ต้องมีเครื่องจักรในการทำงานจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ เครื่องจักรแต่ละชนิดแต่ละประเภทจะต้องใช้โดยช่างที่ชำนาญ ได้รับการฝึกอบรมวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง เพราะไม่ว่าเครื่องเล็ก หรือใหญ่ล้วนมีความอันตรายทั้งสิ้น ดังนั้นการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรต้องปฏิบัติงานอย่างถูกวิธี ซึ่งทำได้โดย
- ศึกษาและทำความเข้าใจของวัตถุประสงค์และการใช้งานของเครื่องจักรนั้น ๆ
- ต้องมีระบบความปลอดภัยของเครื่องมือและเครื่องจักร
- เครื่องจักรจะต้องได้รับการซ่อมบำรุงและดูแลอย่างสม่ำเสมอ หากเครื่องจักรไม่พร้อม หรือชำรุดเสียหาย จะต้องปิดตั้งป้าย ‘ห้ามใช้งาน’ เนื่องจากชำรุด เป็นต้น
- ต้องมีหน่วยปฐมพยาบาลประจำไซต์งานก่อสร้างเสมอ เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้ปฐมพยาบาลในเบื้องต้นก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษาต่อไป
- ห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในการใช้งานเครื่องจักรเข้าใช้งานโดยเด็ดขาด
ผลเสียหากไซต์งานก่อสร้างทำงานโดยไร้ระบบความปลอดภัย
- เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยครั้ง
- ผู้รับเหมา หรือผู้ประกอบการแบกรับภาระในการรักษาพยาบาลมากขึ้น
- เกิดความสูญเสียของพนักงาน คนงานก่อสร้าง
- บริษัทและองค์กรเสื่อมเสียชื่อเสียง
- หากปฏิบัติงานด้วยความเสี่ยงและส่งผลให้ได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต ไซต์งานอาจถูกสั่งปิดจากเจ้าหน้าที่รัฐฯได้
- เสียเวลา เสียเงินโดยใช่เหตุ
เนื่องจากการทำงานก่อสร้างต้องทำงานในที่โล่งแจ้ง ขั้นตอนการทำงานจึงต้องมีความชัดเจน โดยการแบ่งหน้าที่ แบ่งส่วนงาน ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการก่อสร้างแต่ละประเภทของโครงการ บางไซต์งานมีขนาดเล็ก บางไซต์งานมีขนาดใหญ่ ในการสื่อสาร ข้อห้าม กฎ ข้อบังคับในการทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ จะต้องทำอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ ผู้รับเหมาและบริษัทรับเหมาจะต้องประเมินความเสี่ยง วางแผนป้องกัน และหาวิธีลดอุบัติเหตุ การจัดซื้อ-จัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องได้รับการรับรอง มีมาตรฐาน และมีจำนวนเพียงพอต่อการใช้งานของพนักงาน นอกจากนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างควรทำประกันอุบัติเหตุให้แก่พนักงานทุกคนด้วยเพื่อความอบอุ่นใจในการรักษาพยาบาล
สำหรับไซต์งานก่อสร้างใด หรือบริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า หน่วยงานความปลอดภัย มีความประสงค์ที่จะจัดซื้อ จัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัย ป้าย สัญลักษณ์และอุปกรณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและไฟจราจร ร้านไทยจราจรมีหน้าร้านออนไลน์เว็บไซต์ www.trafficthai.com จำหน่ายอุปกรณ์ความปลอดภัยทุกชนิด สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการได้ เช่น ป้ายไฟ, แบริเออร์, เสาหลักจราจร, กรวย, ถังดับเพลิง, เนินชะลอความเร็ว รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ทุกชิ้นส่วนได้รับการรับรองและได้รับมาตรฐานการผลิตจาก มอก. และมาตรฐานจากต่างประเทศ
ที่มาของข้อมูล :
- https://www.safesiri.com/safety-of-construction/
- https://www.builk.com/th/ความปลอดภัย-ในไซต์งาน/
- http://www.bsa.or.th/กฎหมาย/การทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพศ๒๕๕๑.html