บริหาร ที่จอดรถ คอนโดอย่างไร ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

             ตามที่พักอาศัยที่เป็นอาคารสูงอย่างคอนโดมิเนียม มักจะมีพื้นที่จัดสรรเอาไว้สำหรับรองรับการสร้าง ที่จอดรถ  ไว้ให้บริการผู้พักอาศัย ทั้งกลางแจ้งและภายในอาคารจอดรถ ซึ่งคอนโดแต่ละแห่งนั้นจะมีปริมาณรถเข้า-ออกในแต่ละวันมาก ทางร้านไทยจราจรมีแนวทางการบริหารจัดการลานจอดรถให้มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูงสุด มานำเสนอสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปประยุกต์ใช้ได้

หลักการออกแบบลานจอดรถสำหรับคอนโด

       อาคารสำหรับการพักอาศัยอย่างคอนโดมีเนียมนั้น นอกจากจะมีการออกแบบพื้นที่ในการสร้างเป็นห้องพักสำหรับผู้อยู่อาศัยให้มีความสะดวกสบายแล้ว ยังมีพื้นที่ของการสร้างลานจอดรถที่ควรต้องให้ความสำคัญเช่นกัน ซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานทั้งความสะดวกและปลอดภัยควบคู่กัน ซึ่งมีหลักดังนี้

 

 

  1. การออกแบบช่องจอดรถ

ช่องสำหรับจอดรถนั้นต้องออกแบบให้มีความกว้างเพียงพอต่อการใช้งาน ช่องจอดรถที่แคบเกินไปอาจจะทำให้ผู้ขับขี่นำรถเข้าจอดได้ยากและมีโอกาสเฉี่ยวชนรถที่จอดอยู่ในช่องข้าง ๆ ได้ สำหรับมาตรฐานของช่องจอดรถสำหรับรถยนต์นั้น ควรมีขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า 2.4 เมตร มีความยาวไม่น้อยกว่า 5 เมตร มีการเว้นระยะห่างระหว่างรถแต่ละคันไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร แต่หากเป็นช่องจอดรถผู้พิการ หรือช่องจอดรถสำหรับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ต้องออกแบบช่องจอดรถให้มีความกว้างเป็นพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกกลุ่มคนดังกล่าว

 

 

นอกจากนี้คอนโดบางแห่งยังมีการสร้าง ที่จอดรถจักรยานยนต์ เอาไว้อย่างเป็นสัดส่วนเพื่อให้บริการ โดยขนาดช่องจอดรถสำหรับรถจักรยานยนต์นั้นต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 2 เมตร และสำหรับรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ หรือบิ๊กไบค์นั้นควรแยกที่จอดออกจากรถจักรยานยนต์ทั่วไปเนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่กว่าและเป็นรถที่ค่อนข้างมีราคาแพง หากเกิดเหตุเฉี่ยวชนในลานจอดรถจะเกิดข้อพิพาทมาก

  1. การออกแบบช่องทางจราจร

ในลานจอดรถนั้นพื้นที่ส่วนหนึ่งที่ถูกใช้งานมากที่สุดนั่นคือพื้นที่ของการเดินรถ หรือถนนในอาคารจอดรถนั่นเอง การออกแบบช่องทางเดินรถที่เหมาะสมจะช่วยให้มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำเป็นช่องจอดรถมากขึ้น หลักการสำคัญคือการกำหนดให้มีการเดินรถแบบช่องทางเดียว เพราะเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ได้เป็นอย่างดี การออกแบบการเดินรถแบบสวนทางได้นั้น นอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองพื้นที่แล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอีกด้วย หลักการออกแบบช่องจราจร มีดังนี้

 

 

  • ทางเข้า-ออก ในส่วนของทางเข้า-ออกลานจอดรถนั้นต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ในกรณีที่ใช้ทางเข้า-ออกร่วมกัน หากมีทางเข้า-ออกแยกกัน แต่ละช่องทางต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3.5 เมตร เพื่อความสะดวกในการสัญจร
  • ขนาดช่องจราจร สำหรับในส่วนของช่องทางการเดินรถในพื้นที่ลานจอดรถควรมีความกว้างอย่างน้อย 5.5-6 เมตร ในกรณีออกแบบการเดินรถแบบสวนทางได้และมีช่องจอดรถแบบมาตรฐาน หรือการจอดแบบตั้งฉาก แต่ถ้าหากเป็นช่องจอดรถแบบเฉียงลักษณะ 45 องศา และกำหนดให้เป็นการเดินรถแบบทางเดียว ต้องเว้นช่องทางสำหรับใช้ในการเดินรถไม่น้อยกว่า 3.5 เมตร

 

 

  1. มีการใช้ เครื่องหมายจราจร กำกับการใช้งานลานจอดรถ

การนำเครื่องหมายต่าง ๆ มาเป็นสัญลักษณ์เพื่ออำนวยความสะดวก หรือเพื่อกำกับการจราจรในพื้นที่จอดรถ จะทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น ดังนี้

  • ทำเครื่องหมายการเดินรถไว้ที่พื้นถนน ผู้เกี่ยวข้องต้องทำการทาสีเส้นทางเดินรถให้เป็นรูปลูกศรเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าผู้ขับขี่ควรขับรถไปตามเครื่องหมายอย่างถูกต้อง หากไม่มีสัญลักษณ์บอกเส้นทางอาจทำให้เกิดความสับสนได้
  • ใช้ป้ายจราจรควบคุม เช่น ติด ป้ายห้ามเข้า ตรงบริเวณทางแยกเพื่อไม่ให้ผู้ขับขี่ขับรถเข้าผิดช่องทาง ติดป้ายควบคุมความเร็วเป็นระยะเพื่อไม่ให้ขับขี่ด้วยความเร็วเกินกำหนด ติดป้ายห้ามจอดตรงบริเวณทางเข้า-ออก และบริเวณทางเลี้ยว หรือบริเวณที่ไม่ได้กำหนดเป็นช่องจอดรถ เป็นต้น

 

 

  1. มีอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย

ในพื้นที่จอดรถนั้นมีความคับแคบในช่องทางเดินรถ หรือช่องจอดรถ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น ขับรถเบียดเสาตรงทางขึ้น-ลง หรือเสาที่จอดรถ ถอยรถชนกำแพงด้านหลังช่องจอดรถ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งตัวรถและโครงสร้างอาคาร การนำ ยางกันกระแทก มาติดไว้บริเวณช่องจอดรถ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยหากผู้ขับขี่ถอยรถเข้าจอดลึกเกินไปจนไปชนผนังด้านหลัง หรือการใช้ยางกันชนขอบเสาไปติดตั้งที่เสาของอาคารจะช่วยลดความเสียหายในกรณีที่มีผู้ขับมาเฉี่ยวชนได้ 

  • ยางชะลอความเร็ว ในลานจอดรถต้องมีการควบคุมความเร็ว การติดตั้งยางชะลอความเร็ว จะช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่สามารถใช้ความเร็วเกินกำหนดได้ จุดที่ควรติดตั้งยางชะลอความเร็ว เช่น ทางเข้า-ออกที่มีรถมาก รวมถึงทางเดินรถภายในอาคารที่ไม่ควรใช้ความเร็ว ซึ่งยางชะลอความเร็วนั้นติดตั้งได้ง่าย สามารถย้ายตำแหน่งติดตั้งได้ทุกเมื่อตามต้องการ 

 

 

           ในพื้นที่ลานจอดรถนั้นอาจจะมีบางจุดที่เป็นมุมอับสายตาของผู้ขับขี่ เช่น ตรงทางแยก ทางโค้งหักศอก ทางขึ้น-ลงอาคารจอดรถ การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มมุมมองที่เรียกว่ากระจกโค้งนั้นจะช่วยให้ทัศนวิสัยของผู้ขับขี่ในบริเวณมุมอับดีขึ้น ซึ่งกระจกโค้งนั้นมีทั้งผลิตจากกระจกแท้ที่มีความคมชัดมาก ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถกะระยะได้แม่นยำ แบบที่ผลิตจากวัสดุอื่น เช่น โพลีคาร์โบเนต มีคุณสมบัติเหนียวทน ไม่แตก หรือแบบที่ผลิตจากสแตนเลสที่มีความแข็งแรง ทนทานสูง แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็มีความสำคัญต่อการเพิ่มความปลอดภัยให้กับการใช้งานลานจอดรถเช่นกัน

เป็นอุปกรณ์ที่มีความหลากหลายในการใช้งาน สามารถใช้ได้ในหลายสถานการณ์ เช่น ใช้กั้นขอบทางเพื่อไม่ให้รถมาจอดกีดขวางทางเข้า-ออก ใช้วางกำหนดช่องทางจราจรชั่วคราว ใช้ปิดกั้นพื้นที่ที่เกิดความชำรุดหรือพื้นที่หวงห้าม โดย กรวยจราจร นั้นมีความเหนียวและทนทานมาก มีทั้งผลิตจากวัสดุประเภท EVE ,PE และ PVC โดยมากจะผลิตให้มีสีสะท้อนแสงเพื่อให้สังเกตเห็นได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ เช่น ไฟสัญญาณ ป้ายเตือน เทปกั้นการจราจร เป็นต้น

 

 

         เพลิงไหม้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะภายในอาคารจอดรถที่เต็มไปด้วยระบบไฟฟ้าและยานพาหนะจำนวนมาก ซึ่งอาจเกิดการชำรุดขึ้นได้ จึงควรมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการดับเพลิงเอาไว้ตามจุดต่าง ๆ อย่างเพียงพอ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงนั้นต้องติดเอาไว้ในจุดที่มองเห็นได้ง่าย สามารถนำไปใช้ได้สะดวก ไม่ควรวางสิ่งกีดขวาง เช่น ถังขยะ หรือ รถเข็น กีดขวางหน้าตู้เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง ซึ่งจะทำให้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อาจจะไม่สามารถนำอุปกรณ์ดับเพลิงมาใช้งานได้ นอกจากนี้ยังต้องมีการหมั่นตรวจสอบ ถังดับเพลิง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เช่น ตรวจสอบแรงดันภายในถังด้วยการสังเกตหน้าปัทม์เกจวัดแรงดันของถัง หากแรงดันต่ำต้องนำถังไปเติมแรงดันใหม่ ตรวจสอบสายและหัวฉีดว่ามีการชำรุดฉีกขาดหรืออุดตันหรือไม่ และต้องเปลี่ยนถังใหม่ทุกๆ 3-5 ปี เพราะสารเคมีภายในถังจะเสื่อมสภาพจนไม่สามารถใช้งานได้

                      สำหรับผู้บริหารที่พักอาศัยขนาดใหญ่อย่างเช่นคอนโดมิเนียม นอกจากการสร้างที่พักอาศัยให้มีความสะดวกสบายต่อผู้อาศัยแล้ว การมี ที่จอดรถ เพียงพอต่อการใช้งาน มีความปลอดภัยนั้น ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ผู้อาศัยพึงพอใจได้ ไม่เช่นนั้นแล้วหากเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากความไม่พร้อมของระบบบริหารลานจอดรถจนส่งผลเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยแล้ว อาจจะต้องทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและชดเชยให้ผู้พักอาศัยอันเนื่องมาจากลานจอดรถที่ไม่มีมาตรฐาน มากกว่าการลงทุนในการจัดการลานจอดรถให้มีประสิทธิภาพ

 

ที่มาข้อมูล :