เหตุผลที่ควรใช้ เครื่องหมายจราจร และไฟจราจร ช่วยให้สะดวกขับรถเวลากลางคืน

Copy-Recovered

           การขับรถช่วงเวลากลางคืนน่ากลัวและอันตราย มีโอกาสเกิดขึ้นอุบัติเหตุร้ายแรงมากกว่าเวลากลางวันถึง 3 เท่า การปฏิบัติตาม  เครื่องหมายจราจร และ ไฟจราจร อย่างเคร่งครัดช่วยให้ขับรถอย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ผู้ขับขี่ต้องศึกษาเส้นทางให้ดีก่อน หากเป็นเส้นทางที่ไม่คุ้นชินต้องเพิ่มความระมัดระวังเพราะไฟถนนสว่างไม่พอ

           ต้องเช็คความพร้อมของระบบไฟรถและความพร้อมของร่างกายคนขับด้วย ถ้าร่างกายอ่อนเพลียนอนหลับไม่พอหรือขับรถมาทั้งวันเสี่ยงหลับในเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การขับรถตอนกลางคืนต้องมีความมั่นใจและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก

ขับรถกลางคืนอย่างไรให้ปลอดภัย

          การขับรถตอนกลางคืนต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด แม้ว่าการจราจรจะเบาบางลงแต่คนฝ่าฝืนขับรถโดยประมาทมีจำนวนไม่น้อยทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมากกว่าและรุนแรงกว่าเวลากลางวัน เนื่องจากระยะการมองเห็นมีจำกัดยิ่งต้องขับรถระมัดระวังมากขึ้นในเวลากลางคืน ควรชะลอความเร็ว

         สังเกตไฟจราจรและ สัญลักษณ์จราจร บริเวณจุดเสี่ยงอันตราย เช่น ทางร่วมทางแยก จุดกลับรถ ทางขึ้น-ลงสะพาน ยิ่งคนที่มองเห็นไม่ชัดช่วงเวลากลางคืนควรหลีกเลี่ยงการขับรถตอนกลางคืนจนกว่าสายตาจะกลับมามองเห็นเป็นปกติ เมื่อต้องการขับรถเดินทางหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน รวมเคล็ดลับขับปลอดภัยบนถนนที่ควรคำนึงถึงมาแนะนำให้ ดังนี้

1.ขับรถในที่มืดใช้ไฟให้เหมาะสม

         ถนนหนทางยามค่ำคืนขับรถยาก ไหนจะไฟถนนที่ไม่ได้มีแสงสว่างเพียงพอไปทุกที่ ไหนจะสภาพถนนที่มีจุดเสี่ยงอันตราย บางครั้งต้องขับบนเส้นทางที่ไม่เคยชิน ประกอบกับสายตาที่มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืนด้วยแล้ว การใช้ไฟหน้าส่องสว่างบนถนนต้องเลือกใช้ไฟต่ำและไฟสูงอย่างเหมาะสมเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับตัวเองและไม่รบกวนสายตาเพื่อร่วมทางที่ขับสวนมาด้วย

-โคมไฟต่ำ ส่องพื้นทางได้ชัดเจนไม่น้อยกว่า 30 เมตร

-โคมไฟสูง ส่องพื้นทางได้ชัดเจนไม่น้อยกว่า 100 เมตร

-โคมไฟเล็กหรือโคมไฟหรี่ ส่องให้มองเห็นได้ไม่น้อยกว่า 150 เมตร

2.ตรวจสอบระบบไฟของรถและใช้งานอย่างเหมาะสม

           การปรับตั้งไฟหน้าอย่างเหมาะสมช่วยให้ขับรถปลอดภัยในเวลากลางคืน หากไฟหน้าหรือไฟท้ายชำรุดหรือปรับตั้งค่าไม่ถูกต้องถือว่าผิดกฎหมาย ตรวจสอบระบบส่องสว่างของรถไม่ต้องทำบ่อยก็ได้ เช็คอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้งและปรับตั้งค่าในเวลากลางคืนเพื่อให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม เช่น

-เมื่อสังเกตเห็นว่าไฟสว่างไม่พอ สภาพการทำงานไม่สมบูรณ์จะต้องเปลี่ยนหลอดไฟใหม่เพื่อให้มองเห็นช่องจราจรบนถนนได้ชัดเจน

-หากโคมไฟต่ำเกินไปจะมองเห็นถนนไม่ชัด หากปรับสูงไปทำให้แสงไฟแยงตารถคันอื่น

-หากเป็นถนนในชนบทที่ไม่มีแสงไฟควรใช้ไฟสูงเพื่อให้ระยะการมองเห็นของผู้ขับขี่ไกลเพียงพอต่อการขับขี่ที่ปลอดภัย และเปลี่ยนไปใช้ไฟต่ำเพื่อไม่ให้รบกวนรถที่ขับสวนมา

-เริ่มเปิดไฟหน้าและไฟท้ายก่อนและหลังพระอาทิตย์ประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อให้มองเห็นถนนชัดเจนและทำให้รถคันอื่นมองเห็นรถของคุณชัดเจน

3.วิสัยทัศน์ของผู้ขับขี่เป็นสิ่งสำคัญ

          มองเส้นทางไม่ชัดเป็นอันตรายร้ายแรงที่สุดเมื่อต้องขับรถในเวลากลางคืน นอกเหนือจากไฟหน้าและไฟท้ายที่ส่องสว่างเพียงพอแล้ว กระจกหน้ายังต้องสะอาดและไม่มีรอยแตกร้าวเพื่อให้มองเห็นถนนและ เครื่องหมายจราจร ตั้งแต่ระยะไกล สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้รวดเร็วและทันท่วงที ส่วนกระจกข้างและกระจกมองหลังก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ควรปรับตำแหน่งให้เหมาะสมเพื่อลดจุดบอดการมองเห็นที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการขับขี่ 

4.เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือรถเสีย 

          หากรถเสียหรือรถดับช่วงเวลากลางคืนให้ขับรถแอบข้างทางบริเวณที่มีแสงสว่างพอให้มองเห็นมากที่สุด คนขับรถควรพกอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการขับรถตอนกลางคืนไปด้วย เช่น 

-เตรียม กรวยจราจร ติดท้ายรถไว้ให้พร้อมในกรณีฉุกเฉิน หยิบมาใช้ได้ทุกที่จะช่วยอุบัติเหตุบนท้องถนนตอนรถเสียได้ 

-มี ไฟกระพริบ ที่เห็นได้จากระยะไกลป้องกันรถคันอื่นที่มาข้างหลังวิ่งชนท้าย และเปิดไฟเตือนอันตรายไว้ระหว่างรอความช่วยเหลือ

-ไฟฉายมีประโยชน์มากในตอนกลางคืน ใช้เป็นสัญญาณไฟขอความช่วยเหลือ ตรวจสอบรถเสียและเปลี่ยนยางด้วยตัวเอง เตรียมไฟฉายคาดศีรษะไว้เพื่อให้ใช้สองมือได้อย่างเต็มที่

เสื้อกันฝน และ  เสื้อชูชีพ มีติดรถไว้อุ่นใจมากขึ้น สวมเสื้อที่มีแถบสะท้อนแสงมองเห็นชัดจากระยะไกล ช่วยป้องกันฝนระหว่างรอคนมาช่วยและลดปัญหารถวิ่งชนท้ายในที่มืด

5.ป้ายเตือน และป้ายจำกัดความเร็ว

             การขับรถเวลากลางคืนมีระยะการมองเห็นค่อนข้างจำกัด เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมากกว่าเวลากลางวัน โดยเฉพาะในบริเวณที่มีจุดเสี่ยงอันตรายจะมี ป้ายจราจร ให้ชะลอความเร็วเพื่อที่จะสังเกตป้ายเตือน ป้ายบอกทางจุดสำคัญบนเส้นทาง เช่น ทางแยก ทางโค้ง ทางลาดชัน จุดกลับรถ ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในกรณีที่มีการซ่อมบำรุงพื้นทางที่มักจะทำกันในเวลากลางคืน มีวัสดุก่อสร้างกองอยู่ใกล้ขอบทาง ให้สังเกต ป้ายห้ามเข้า เป็นป้ายบังคับที่ไม่ให้ขับเข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นและแก้ไขสถานการณ์คับขันได้ทันท่วงที

6.มองเครื่องหมายจราจรบนพื้นถนน

         การขับรถตอนกลางคืนเสี่ยงเกิดอันตรายจากไฟหน้าของรถคันอื่น เมื่อเข้าใกล้รถที่ขับสวนทางมาให้ละสายตาจากไฟหน้าของรถคันอื่นที่จะทำให้สายตาพร่ามัว ควรก้มหน้ามองไปที่ขอบด้านซ้ายของถนนแทนหรือมองเครื่องหมายช่องจราจรบนพื้นถนนนำทางให้ขับอยู่ในช่องจราจร เมื่อรถสวนกันไปแล้วค่อยเงยหน้าขึ้นขับต่อไป

        การมองไปในทิศทางที่ถูกต้องจะช่วยให้ขับปลอดภัยยิ่งขึ้น พร้อมกับลดความเร็วของรถลงเพื่อให้สวนทางกันได้อย่างปลอดภัย หากในสภาพกลางคืนที่ฝนตกจะมองเห็นเครื่องหมายช่องจราจรบนพื้นถนนได้ยาก ให้สังเกตเม็ดลูกแก้วสะท้อนแสงไฟที่ฝังอยู่ในเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางที่ช่วยให้มองเห็นง่ายขึ้นในเวลากลางคืน

7.ไฟกระพริบทางแยกตอนกลางคืน

            สัญญาณไฟจราจร  ทางแยกปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบกะพริบโดยอัตโนมัติในตอนกลางคืนเมื่อรถน้อยและการจราจรเบาบางลงแล้ว จุดประสงค์เพื่อให้รถยนต์ระมัดระวังกันทุกด้านเพื่อลดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากความประมาทของฝ่ายไฟแดงที่เห็นว่ารถน้อยและมักจะขับฝ่าไฟแดงไปเลย ฝ่ายไฟเขียวที่ขับเหยียบเต็มตามสัญญาณไฟจึงไม่ทันระวังอีกฝ่าย ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ไฟกระพริบมี 2 สี คือเหลืองกระพริบหมายถึงระวัง ชะลอความเร็วก่อนผ่านแยก และแดงกระพริบหมายถึงชะลอหยุดรถตรงทางแยกก่อน ดูให้ดีค่อยไป

8.ขับห่างจากรถคันหน้าพอสมควร

            การขับรถบนถนนควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าพอสมควร เพื่อป้องกันการชนท้ายโดยไม่ตั้งใจในกรณีที่รถคันหน้าเบรกกะทันหัน ระยะปลอดภัยขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนขับและความเร็วที่ใช้ในการขับรถ โดยประเมินจากความเร็ว เช่น ถ้าขับความเร็ว 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ให้เว้นระยะห่างจากคันหน้าครึ่งหนึ่งของความเร็ว คือ 40 เมตร

           หากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย มีฝนตก หมอกลง หรือสภาพเส้นทางมีจุดเสี่ยงอันตรายต่างๆ ควรเพิ่มระยะห่างให้มากขึ้นอย่างน้อยสองเท่า รวมถึงการเว้นระยะห่างมากขึ้นในกรณีที่ขับขึ้นสะพาน ทางขึ้นลานจอดรถ ขับตามรถใหญ่หรือรถบรรทุกส่งของ

9.หยุดขับเมื่ออ่อนเพลียหรือง่วง

            คนขับควรเตรียมพร้อมร่างกายไม่ให้อ่อนเพลีย ยิ่งเป็นการเดินทางไกลต้องขับรถตลอดทั้งคืนทำให้เมื่อยล้าและเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หยุดพักทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเพื่อกระตุ้นให้สมองตื่นตัว

          กินของขบเคี้ยวไม่ให้ง่วงนอนเพื่อป้องกันการหลับใน ระหว่างขับรถตอนกลางคืนควรใช้สายตากวาดมองเส้นทางจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ไม่ใช้สายตาจ้องจุดเดียวนานเกินไป ทันทีที่รู้สึกง่วงนอนให้หยุดพัก ที่สำคัญคือดื่มไม่ขับเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวเองและผู้ใช้ถนนรายอื่นๆ 

การใช้อุปกรณ์จราจรที่มีคุณภาพเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถทั้งกลางวันและกลางคืน หากต้องการใช้ กรวยจราจร ไฟกระพริบ เสื้อกันฝน อุปกรณ์ความปลอดภัยและเครื่องหมายจราจรที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ สอบถามได้ที่ ร้านไทยจราจร เรามีอุปกรณ์ให้เลือกมากมายและครบถ้วนทุกรายการ สามารถสั่งซื้อได้ที่เว็บไซต์ https://trafficthai.com/

ที่มาข้อมูล: 

-https://trafficthai.com/

-https://www.rac.co.uk/drive/advice/driving-advice/driving-in-the-dark-tips/

-https://pantip.com/topic/35792895

-https://autoinfo.co.th/article/86397

-https://www.popularmechanics.com/cars/how-to/g106/10-safety-tips-for-driving-after-dark/

-https://www.safedrivereducation.com/en/articles.php?n_id=15