เมื่อคุณเห็นป้ายจราจร “ห้ามเข้า” ควรรู้ว่าสถานที่นั้นหรือถนนบริเวณนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่านเข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้าย “ป้ายห้ามเข้า” เป็นป้ายบังคับที่ต้องปฏิบัติตามและมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย โดย ป้ายจราจร แบบนี้นิยมใช้ในงานจราจร งานไซต์ก่อสร้างและซ่อมแซมทางหลวง ตลอดโรงงานและอาคารสถานที่ต่าง ๆ การติดตั้งป้ายห้ามเข้ามีเหตุผลหลัก 2 ประการคือความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ฝ่ายอาคารและสถานที่ต้องทราบและเลือกป้ายบังคับให้เหมาะกับการใช้งาน
ป้ายห้ามเข้า ใช้งานที่ไหนได้บ้าง
ป้ายห้ามเข้าเป็นป้ายบังคับที่มีลักษณะเป็นรูปกลม พื้นป้ายสีแดง มีเครื่องหมายขีดสีขาวตรงกลางและเส้นขอบป้ายสีขาว โดยใช้เป็น สัญลักษณ์จราจร ที่ระบุว่าไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในสถานที่ใดที่หนึ่ง ห้ามเข้าพื้นที่นี้ หรือห้ามผ่านประตูเข้าไป ป้ายนี้มักจะติดตั้งปากทางเข้า-ออกหรือวางไว้ที่จุดเริ่มต้นของถนนเพื่อแจ้งให้ผู้ขับขี่รู้ว่าไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในถนนเส้นนั้น หากเห็นป้ายห้ามเข้าแสดงว่าห้ามเดินหรือขับรถผ่านป้ายนี้เข้าไปโดยเด็ดขาด
– ป้ายห้ามเข้า ในงานจราจร
ป้ายห้ามเข้าเป็นป้ายควบคุมผู้ขับขี่ หากขับรถไปเจอป้ายห้ามเข้าตรงไหนหมายความว่าห้ามมิให้ยานพาหนะทุกชนิดผ่านเข้าไปในช่องจราจรนั้น จุดประสงค์ของการใช้งานในแง่ของความปลอดภัย โดยใช้ป้ายห้ามเข้าเพื่อปิดกั้นเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งหรือบังคับให้เป็นทางเดินรถทางเดียว ป้ายนี้อาจพบเห็นได้ตามสถานที่ก่อสร้างหรือถนนที่กำลังก่อสร้างหรือกำลังซ่อมแซมพื้นผิวถนน ควรใช้อุปกรณ์จราจรอื่น ๆ เช่น กรวยจราจร หรือ รั้วตาข่าย
– ป้ายห้ามเข้าในโรงงาน
ในทำนองเดียวกัน การติดตั้งป้ายห้ามเข้าในโรงงานมีเป้าหมายเพื่อห้ามไม่ให้เข้าไปในบริเวณที่ติดตั้งป้าย การใช้ป้ายห้ามเข้าระบุพื้นที่นั้นเป็นสถานที่ที่อันตรายต้องอยู่ให้ห่าง เช่น ห้องเก็บสารเคมีในโรงงาน ห้องปลอดเชื้อ พื้นที่อันตรายจากรังสีเอ็กซ์ บริเวณที่มีเครื่องจักรหนักอันตราย หรือมีรถยกโฟล์คลิฟท์ขับผ่านไปมาที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุชนคนงานได้
– ป้ายห้ามเข้าในไซต์งานก่อสร้าง
การติดตั้งป้ายห้ามเข้าเพื่อให้คนงานตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่เสี่ยงซึ่งอาจทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ ป้ายห้ามเข้าถือเป็นป้ายความปลอดภัยที่ควรเลือกรูปแบบป้ายที่ชัดเจนและมองเห็นได้อย่างเหมาะสม
– ป้ายห้ามเข้าในไซต์งานก่อสร้าง
การติดตั้งป้ายห้ามเข้าเพื่อให้คนงานตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่เสี่ยงซึ่งอาจทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ ป้ายห้ามเข้าถือเป็นป้ายความปลอดภัยที่ควรเลือกรูปแบบป้ายที่ชัดเจนและมองเห็นได้อย่างเหมาะสม
– ป้ายห้ามเข้า ในพื้นที่สาธารณะ
ป้ายห้ามเข้าอาจใช้ประโยชน์ในกรณีจำกัดบริเวณทางเข้า-ทางออกเพื่อให้สิทธิพิเศษเฉพาะกลุ่มบุคคล เช่น คนเดินเท้า ผู้ใช้วีลแชร์ รถยกโฟล์คลิฟท์ หรือสุนัขและสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เท่านั้น
– ป้ายห้ามเข้า ในลานจอดรถ
ลานจอดรถในโครงการบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม หรืออาคารสำนักงาน เป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลที่คนภายนอกเข้าไปจอดรถไม่ได้และมักมีที่จอดรถจำนวนจำกัด เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถสามล้อ และรถพ่วง การใช้ป้ายห้ามเข้ายังเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ พร้อมทั้งแก้ไข ปัญหารถติด อีกด้วย
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับป้ายห้ามเข้า
เนื่องจากป้ายห้ามเข้ามีลักษณะคล้ายกับป้ายห้ามจอด ส่งผลให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยเส้นทางเกิดความเข้าใจผิดและฝ่าฝืนป้ายบังคับโดยไม่เข้าใจ ขับรถวิ่งเข้าไปในเส้นทางนั้นทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง ควรมีข้อความระบุห้ามเข้ากำกับไว้ให้เป็นที่เข้าใจตรงกันหรือใช้ป้ายจราจรอื่น ๆ ขยายความเพิ่มเติม ลักษณะของป้ายห้ามเข้าที่ระบุเฉพาะเจาะจงควรเป็นดังต่อไปนี้
“ป้ายห้ามคนผ่าน”
เป็นป้ายบังคับอีกรูปแบบที่ใช้ห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายนี้ มีลักษณะเป็นแผ่นป้ายวงกลมคาดเส้นขวางสีแดงทับรูปคนเดินสีดำ บ้างก็มีรูปแบบป้ายห้ามพร้อมกับข้อความเขียนบนป้ายด้วย เช่น “ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต” เหมาะสำหรับใช้ในอาคารสถานที่หรือประตูทางเข้า
“ป้ายห้ามรถผ่าน”
หมายถึง ห้ามรถยนต์ทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย มีลักษณะเดียวกันคือเป็นวงกลมสีแดงมีเส้นสีแดงตัดขวางทับรูปรถยนต์
“ป้ายห้ามเข้า” และ “ป้ายผิดทาง”
เช่น กรณีที่ขับรถบนถนนแล้วพบป้ายห้ามเข้าร่วมกับป้ายบอกทางที่ผิด เป็นการเตือนผู้ขับขี่ว่ากำลังขับมุ่งหน้าไปผิดทางแล้ว
“ป้ายห้ามเข้ายกเว้นทางจักรยาน”
หมายความว่าอนุญาตให้ขี่จักรยานเข้าถนนเส้นนั้นได้ แต่ห้ามขับรถเข้าไป
ป้ายห้ามเข้า เป็นส่วนสำคัญของระบบความปลอดภัยทางถนน และป้ายห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาตเป็นป้ายสำหรับอาคารสถานที่ต่าง ๆ เป็นป้ายความปลอดภัยในการก่อสร้าง รวมถึงป้ายความปลอดภัยในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีการติดป้ายห้ามเข้าเพื่อจำกัดพื้นที่ในหลายสถานที่สำหรับป้องกันเชื้อเข้าพื้นที่อาคารหรือป้องกันเชื้อแพร่กระจายออกไป
หากต้องการเลือกป้ายห้ามเข้า ป้ายเตือน และเครื่องหมายจราจรอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้งานตอบโจทย์ความต้องการ รวมไปถึง เสื้อกันฝน ไฟกระพริบ กรวยจราจร กระจกโค้ง ยางกันชนที่จอดรถ และ ถังดับเพลิง เป็นวิธีลดอุบัติเหตุในที่จอดรถ โรงงาน ไซต์งานก่อสร้าง และสถานที่อื่น ๆ หากต้องการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ สอบถามและสั่งซื้อได้ที่ ร้านไทยจราจร เว็บไซต์ https://trafficthai.com/
ที่มาข้อมูล
- https://trafficthai.com/
- https://www.labelsource.co.uk/label/safety-signs/prohibition-safety-signs/access-prohibition-safety-signs#:~:text=No%20entry%20signs%20are%20used,biological%2C%20demolition%20or%20asbestos%20risks.
- https://speedytests.co.uk/blog/what-does-the-no-entry-road-sign-mean
- https://www.whitecardaustralia.com.au/blog/importance-of-warning-signs-on-building-sites/
- https://www.roojai.com/article/road-tips/commonly-misunderstood-road-signs/