อุปกรณ์ที่สามารถช่วยชีวิตคนได้เมื่อเกิดเพลิงไหม้ภายในอาคาร

อุปกรณ์ที่สามารถช่วยชีวิตคนได้

        ในอาคารสถานที่ขนาดใหญ่ เช่น อะพาร์ตเม้นท์ คอนโดมิเนียม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สำนักงานต่างๆ รวมไปถึงอาคารอื่นๆนั้น จะต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัยที่ได้มาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น อันจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

         การออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารประกอบด้วยหลายส่วน ทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเบื้องต้น รวมไปถึงการระงับเหตุเมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ซึ่งทางร้านไทยจราจรจะมาแนะนำวิธีการออกแบบการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยที่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงอุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้ในการช่วยเหลือผู้คนได้หากต้องเผชิญเหตุเพลิงไหม้ เพื่อให้ทุกชีวิตมีความปลอดภัย

อุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย

1. เครื่องดับเพลิง

ถังดับเพลิง นั้นถือเป็นอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้พื้นฐานที่อาคารทุกแห่งต้องมีติดตั้งเอาไว้ โดยข้อกฎหมายที่ใช้บังคับสำหรับการติดตั้งถังสำหรับดับเพลิงในอาคารนั้น มีดังนี้

  • ขนาดของถังที่ใช้ดับเพลิงต้องมีความจุไม่น้อยกว่า 10 ปอนด์ (4 กิโลกรัม) เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง เพียงพอต่อการระงับเหตุเพลิงไหม้เบื้องต้น การใช้ถังที่มีขนาดเล็กเกินไปจะทำให้การดับเพลิงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
  • จุดติดตั้งถังสำหรับดับเพลิงต้องมีความสูงไม่เกิน 1.5 เมตร ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
  • ต้องมีป้ายบอกจุดติดตั้งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ไม่นำวัสดุอื่นใดมาวางกีดขวางที่หน้าจุดติดตั้ง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาที่จำเป็นต้องใช้งาน จะได้เข้าถึงอุปกรณ์ได้ง่าย นำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
  • ในบริเวณพื้นที่ต้องมีเครื่องดับเพลิงอย่างเพียงพอ โดยต้องติดตั้งอย่างต่อเนื่องในระยะไม่เกิน 45 เมตร และมีระยะการเข้าถึงอุปกรณ์ไม่เกิน 25 เมตร และทุกชั้นของอาคารต้องมีจุดติดตั้งเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่า 1 จุด

2. ถังดับเพลิง อัตโนมัติ

          นอกจากถังสำหรับดับเพลิงแบบควบคุมการทำงานด้วยคนแล้ว ทาง ร้านไทยจราจร ยังจำหน่ายถังสำหรับดับเพลิงระบบอัตโนมัติ เพื่อติดตั้งเอาไว้ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้แล้วไม่มีผู้พบเห็น ถังแบบอัตโนมัตินี้จะทำงานได้เองเมื่อเกิดเพลิงไหม้ที่มีอุณหภูมิสูงมากกว่า 68 องศาเซลเซียส ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าเพลิงไหม้จะลุกลามจนควบคุมไม่ได้

          ประเภทสารเคมีแห้งที่เหมาะสมกับการติดตั้งเอาไว้ในบริเวณทั่วไป เช่น โถงอาคาร หรือ ที่จอดรถ , ถังประเภทสารเหลวระเหย Halotron ที่เหมาะสำหรับติดตั้งเอาไว้ในห้องที่มีระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ห้องควบคุมไฟฟ้า ห้องควบคุมกล้องวงจรปิด เพราะสารเหลวระเหย Halotron นั้นมีคุณสมบัติที่ไม่ทำลายระบบไฟฟ้าให้เกิดความเสียหาย

[row_inner_3] [col_inner_3 span=”6″ span__sm=”12″]
[/col_inner_3] [col_inner_3 span=”6″ span__sm=”12″]

3. ผ้าห่มกันไฟ

ผ้าห่มกันไฟนั้นเป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยชีวิตผู้คนเมื่อเกิดเพลิงไหม้ได้ ในกรณีที่หนีไม่ทันและติดอยู่ท่ามกลางไฟไหม้ที่มีความร้อนสูง การใช้ผ้าห่มกันไฟที่มีคุณสมบัติไม่ติดไฟ ป้องกันความร้อนมาคลุมร่างกายจะช่วยปกป้องเปลวเพลิงและความร้อน

[/col_inner_3] [/row_inner_3] [row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″] [row_inner_4] [col_inner_4 span=”6″ span__sm=”12″]
[/col_inner_4] [col_inner_4 span=”6″ span__sm=”12″]

4. สัญญาณเตือนภัย

เมื่อเกิดเพลิงไหม้การกดสัญญาณเตือนภัยด้วยเสียง จะช่วยส่งสัญญาณให้ผู้คนภายในอาคารหนีออกมาได้ทัน ซึ่งสัญญาณเตือนภัยด้วยเสียงนั้นมีทั้งแบบที่กดด้วยมือและสัญญาณอัตโนมัติที่จะทำงานเมื่อใช้งานร่วมกับระบบตรวจจับควันและความร้อน

[/col_inner_4] [/row_inner_4] [row_inner_4] [col_inner_4 span=”6″ span__sm=”12″]
[/col_inner_4] [col_inner_4 span=”6″ span__sm=”12″]

5. เครื่องตรวจจับควัน

เครื่องตรวจจับควัน (Smoke detector) เป็นอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติในการตรวจจับอนุภาคควันไฟได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นภายในอาคารและจะส่งสัญญาณเตือนภัยเพื่อให้ทุกคนได้รับรู้เพื่อหาทางหนีออกมาจากอาคารได้ทัน

[/col_inner_4] [/row_inner_4] [row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″] [row_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]
[/col_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]

6. ป้ายจราจร

การติดตั้งป้ายประเภทต่างๆในพื้นที่ลานจอดรถก็เป็นการช่วยชีวิตคนขณะเกิดเพลิงไหม้ได้ เพราะลานจอดรถของอาคารนั้นมีความซับซ้อน การมีป้ายบอกช่องทางเดินรถ ป้ายบอกทางออก หรือ เครื่องหมายจราจร กำกับเอาไว้ จะทำให้ทราบว่าควรจะหนีไปทางใดที่เป็นทางออกที่ถูกต้อง

[/col_inner_5] [/row_inner_5] [row_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]
[/col_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]

7. ท่อดับเพลิง

บริเวณอาคารนั้นจะต้องทำการติดตั้งระบบดับเพลิงที่ประกอบไปด้วย หัวรับน้ำดับเพลิงที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่าย ต้องติดตั้งระบบท่อยืนเอาไว้ทุกชั้นที่ต่อเข้ากับระบบท่อดับเพลิงของอาคารและต้องมีหัวต่อสายดับเพลิงทุกชั้น

[/col_inner_5] [/row_inner_5] [row_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]
[/col_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]

8. สายดับเพลิง

ทุกชั้นของอาคารต้องมีจุดติดตั้งสายดับเพลิงเอาไว้ โดยต้องบรรจุอยู่ในตู้เก็บสาย และมี ป้ายเตือน กำกับไว้เพื่อไม่ให้นำสิ่งกีดขวางมาวางเอาไว้ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการใช้งาน และสายต้องมีความยาวเพียงพอในการใช้งานได้ครอบคลุมทั้งชั้นของอาคาร

[/col_inner_5] [/row_inner_5] [row_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]
[/col_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]

9. ไฟฉุกเฉิน

เมื่อเกิดเพลิงไหม้ภายในอาคาร ระบบไฟฟ้าจะถูกตัดลง หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ในช่วงเวลากลางคืนที่แสงสว่างไม่เพียงพอ จะเป็นอุปสรรคในการหนีออกมาของผู้คนที่อยู่ภายในอาคาร แต่ถ้าหากติดตั้งไฟฉุกเฉินที่มีระบบแบตเตอรี่ในการสำรองไฟเอาไว้ จะช่วยให้มีแสงสว่างในระยะเวลาที่มากเพียงพอต่อการอพยพผู้คนออกมาได้ทัน

[/col_inner_5] [/row_inner_5] [row_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]
[/col_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]

10. ป้ายทางออกฉุกเฉิน

การหนีออกมาจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็วจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต แต่ในสถานการณ์เพลิงไหม้ที่มีความโกลาหล รวมทั้งมีควันที่ส่งผลต่อการมองเห็น อาจทำให้การหนีออกมาทำได้ยาก

[/col_inner_5] [/row_inner_5] [row_inner_5] [col_inner_5 span__sm=”12″] [row_inner_6] [col_inner_6 span__sm=”12″] [row_inner_7] [col_inner_7 span__sm=”12″] [row_inner_8] [col_inner_8 span__sm=”12″] [row_inner_9] [col_inner_9 span__sm=”12″]
[/col_inner_9] [/row_inner_9] [row_inner_9] [col_inner_9 span__sm=”12″]

การปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในสถานการณ์เพลิงไหม้

  1. หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ไม่รุนแรง ประเมินแล้วว่าสามารถใช้อุปกรณ์ดับเพลิงมาระงับเหตุได้ ให้นำถังสำหรับดับเพลิงมาฉีดพ่นไปที่จุดเพลิงไหม้นั้นจนดับลง โดยวิธีการใช้ถังในการดับเพลิงเบื้องต้น มีดังนี้
  • ดึงสลักที่อยู่ตรงถังดับเพลิงออกเพื่อให้พร้อมใช้งาน
  • ปลดสายดับเพลิงออกมาแล้วจับไปที่ปลายสายเพื่อให้กระชับมือในการใช้งาน
  • กดไปที่กลไกหัวฉีดเพื่อให้สารเคมีภายในถังพุ่งไปยังเปลวเพลิง
  • ส่ายหัวฉีดดับเพลิงไปมาให้ครอบคลุมรัศมีของเปลวเพลิงเพื่อระงับเหตุ
  1. หากประเมินแล้วว่าเพลิงไหม้นั้นรุนแรงเกินกว่าจะทำการดับได้เบื้องแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้
  • หาปุ่มสัญญาณเตือนภัยแล้วกดส่งสัญญาณให้ผู้อื่นที่อยู่ในอาคารได้รู้ตัว
  • มองหาป้ายทางออกฉุกเฉิน ซึ่งจะเป็นทางหนีที่ปลอดภัยมากที่สุด เนื่องจากทางออกฉุกเฉินหรือบันไดหนีไฟนั้นทำจากวัสดุที่ไม่ติดไฟ ป้องกันความร้อนจากเปลวเพลิงได้ จะช่วยให้เราปลอดภัยกว่าการหนีไปตรงทางออกปกติ
  • ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด เพราะเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ระบบไฟฟ้าจะมีปัญหา หากเราใช้ลิฟท์จะทำให้เราติดอยู่ภายในลิฟท์ อาจส่งผลให้ขาดอากาศหายใจหรือเพลิงลุกลามมาถึงลิฟท์จนเกิดอันตรายได้
  • หากพบกลุ่มควันจำนวนมากจนไม่สามารถฝ่าออกไปได้ให้ก้มลงให้ต่ำที่สุด เพราะกลุ่มควันนั้นจะลอยเหนือจากพื้น การก้มต่ำจะทำให้เราไม่สำลักควัน และหากหาผ้าชุบน้ำมาปิดปากปิดจมูกด้วยก็จะช่วยป้องกันเราจากการสำลักควันได้ดียิ่งขึ้น เพราะสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตจากเพลิงไหม้คือสำลักควันจนหมดสติ ทำให้ไม่สามารถหนีออกมาได้ทัน จากนั้นค่อยๆคลานไปตามทางด้วยการคลำไปตามผนังเพื่อไปยังทางหนีไฟ สิ่งสำคัญเมื่อเผชิญเหตุเพลิงไหม้คือต้องไม่ตื่นตระหนก จะช่วยให้เรามีสติในการหนีเอาชีวิตรอด 
[row_inner_10] [col_inner_10 span__sm=”12″]

          การติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถช่วยชีวิตคนได้เมื่อเกิดเพลิงไหม้ จะเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ จากเพลิงไหม้ได้ และที่สำคัญหลังจากระงับเหตุได้แล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เจ้าของอาคาร ต้องห้ามไม่ให้ใครเข้าไปภายในเด็ดขาดเพื่อป้องกันอันตรายจากการถล่มจากโรงสร้างอาคารที่ได้รับความเสียหาย

         อาจจะนำ กรวยจราจร หรือป้ายห้ามเข้ามาวางกั้นเอาไว้ก็ได้ เหตุเพลิงไหม้ภายในอาคารนั้นสามารถป้องกันได้ด้วยการมีระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีประสิทธิภาพและปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารอย่างเคร่งครัด 

[row_inner_11] [col_inner_11 span__sm=”12″]

ที่มาข้อมูล

  • https://trafficthai.com/content_blog-143.html
  • https://www.pinthong-group.com/tab/detail.php?id=36
  • http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER11/DRAWER060/GENERAL/DATA0000/00000044.PDF
  • https://trafficthai.com/content_blog-163.html
[/col_inner_11] [/row_inner_11] [row_inner_11] [col_inner_11 span__sm=”12″]
[/col_inner_11] [/row_inner_11] [/col_inner_10] [/row_inner_10] [/col_inner_9] [/row_inner_9] [/col_inner_8] [/row_inner_8] [/col_inner_7] [/row_inner_7] [/col_inner_6] [/row_inner_6] [/col_inner_5] [/row_inner_5] [/col_inner_4] [/row_inner_4] [/col_inner_3] [/row_inner_3]