สาระน่ารู้ ถังดับเพลิง ที่ใช้ภายในอาคารมีกี่ประเภท แบบไหนเหมาะใช้ในคลังสินค้า

          ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขาย จำเป็นจะต้องมีคลังสินค้าไว้เป็นพื้นที่ในการเก็บรวบรวมและคัดแยกประเภทของสินค้าเพื่อรอนำไปจำหน่าย คลังสินค้าบางแห่งยังใช้เป็นศูนย์กลางการขนส่งอีกด้วย ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการเก็บรักษา และต้องเข้มงวดกับระบบรักษาความปลอดภัยทั้งในด้านโจรกรรม

         และการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินจากภัยพิบัติต่าง ๆ โดยเฉพาะภัยที่เกิดบ่อยครั้งอย่างอัคคีภัย ด้วยความที่คลังสินค้าเต็มไปด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ วางรวมกันสำหรับเตรียมไว้ใช้ในกระบวนการโลจิสติกส์ และวัสดุเหล่านั้นอาจมีบางประเภทที่เป็นเชื้อเพลิงติดไฟได้ง่าย

คลังสินค้าต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัยที่ได้มาตรฐาน พร้อมติดตั้งอุปกรณ์พื้นฐานไว้เสมอ

        เจ้าของคลังสินค้าควรเตรียมมาตรการป้องกันเพลิงไหม้อย่างรัดกุมที่สุด โดยวางระบบดับเพลิงที่ได้มาตรฐาน และจัดหาอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้แบบต่าง ๆ อย่างครบครัน คลังสินค้าขนาดใหญ่โดยทั่วไปแล้วจะต้องติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติตามมาตรฐานสากล สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีอาคารคลังสินค้าไม่ใหญ่มาก จะต้องติดตั้งระบบดับเพลิงตามขนาดพื้นที่และลักษณะของธุรกิจ 

       อย่างไรก็ตาม คลังสินค้าทุก ๆ แห่งจะต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงขั้นพื้นฐานไว้ด้วยเสมอ ซึ่งก็คือ ถังดับเพลิง ซึ่งสามารถหยิบใช้ได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน สามารถยกเคลื่อนที่ได้เมื่อเกิดเพลิงไหม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นในจุดใดจุดหนึ่ง เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อยับยั้งการบาดเจ็บไว้ไม่ให้เกิดอาการสาหัส อุปกรณ์ชนิดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรับมือกับเหตุการณ์อัคคีภัยที่ไม่ได้คาดคิด ก่อนที่เพลิงไหม้จะลุกลามเสียหายใหญ่โต 

ก่อนใช้อุปกรณ์ดับเพลิง ควรรู้จักและทำความเข้าใจกับกับลักษณะที่แตกต่างกันของเพลิงไหม้ ดังนี้

เพลิงไหม้แบบ A

         เป็นการไหม้ของวัสดุติดไฟทั่วไป และวัสดุที่มีความแข็ง ได้แก่ กระดาษ ผ้า เศษขยะแห้ง ไม้ พลาสติกบางชนิด และวัสดุประเภทยาง มักเกิดในโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้า เป็นเพลิงไหม้ที่สามารถลุกลามได้ 2 ระดับ คือ ระดับเปลวไฟ

          เมื่อเริ่มเกิดการติดไฟขึ้นที่เชื้อเพลิงจะมีไอระเหยออกมาจากวัสดุที่ติดไฟ และเมื่อไอระเหยลอยออกมาเจอกับความร้อนและออกซิเจนในอากาศจะทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ระดับที่ 2 คือระดับเปลวเพลิงลุกไหม้เต็มที่

เพลิงไหม้แบบ B

          เป็นการไหม้ที่เกิดจากของเหลวที่มีไอระเหยออกมาสามารถติดไฟได้ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงต่าง ๆ เช่น น้ำมันก๊าด เบนซิน น้ำมันหล่อลื่น ทินเนอร์ แอลกอฮอล์ เพลิงไหม้แบบนี้จะมีอันตรายมากถ้าอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง 

เพลิงไหม้แบบ C

         เป็นการไหม้ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากสาเหตุของการใช้ไฟฟ้าเกินขนาด มีกระแสไฟฟ้าลัดวงจร การต่อสายไฟไม่ถูกต้อง หรือฉนวนกันไฟไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดการช็อตและลุกไหม้ เกิดขึ้นได้ในอาคารทุกประเภท คลังสินค้า บ้านพักอาศัย

เพลิงไหม้แบบ D

        เป็นการไหม้ของโลหะที่ติดไฟได้ การไหม้แบบนี้สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและสารเคมีบางอย่างได้ เป็นเพลิงที่อันตรายและน่ากลัวมากเพราะยากในการดับเพลิง ต้องใช้เทคนิคพิเศษและผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันอัคคีภัย

เพลิงไหม้แบบ K

        เป็นการไหม้ที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง และโอกาสน้อยที่จะเกิดในคลังสินค้า เพราะเป็นการไหม้ของน้ำมันชนิดที่ใช้ทำอาหาร 

เพลิงไหม้แบบไหนที่ควรระวัง และจะเลือกใช้อุปกรณ์ดับเพลิงที่ถูกต้องได้อย่างไร

        ลักษณะของเพลิงไหม้ที่มีโอกาสเกิดในคลังสินค้าได้ เป็น 4 แบบแรก คือ A, B, C และ D ขึ้นอยู่กับสาเหตุและตัวสินค้าที่จัดเก็บในคลัง เช่น คลังสินค้าประเภทเสื้อผ้า ถ้าเกิดเพลิงไหม้ก็จะเป็นแบบ A 

      เมื่อรู้จักกับลักษณะต่าง ๆ ของเพลิงไหม้แบบต่าง ๆ แล้ว ก็มาถึงเรื่องของการเลือกใช้ ถังดับเพลิง ให้ถูกประเภท เรามาดูกันว่ามีประเภทใดบ้าง

ชนิดผงเคมีแห้ง และแก๊สไนโตรเจน

         มีประสิทธิภาพในการขัดขวางเพลิงทุกรูปแบบ เชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย เช่นพวก ไม้ ผ้า กระดาษ ถังขยะ พลาสติก และเพลิงไหม้จากของเหลวติดไฟ เพลิงไหม้ที่มีกระแสไฟฟ้า เหมาะสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงอาคารที่พักอาศัย

ชนิดสารเคมีเหลวที่เย็นจัด และกลายเป็นไอระเหยเมื่อมีการฉีดพ่น

          สามารถขัดขวางการเผาไหม้ของแก๊สออกซิเจน เหมาะใช้กับอาคารที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือคลังสินค้าประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะสารเคมีชนิดนี้ไม่ทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าและไม่เกิดคราบสกปรกหลังจากเพลิงดับไปแล้ว สามารถกับเพลิงไหม้ชนิดเชื้อเพลิงธรรมดา ของเหลวติดไฟ เพลิงไหม้ที่มีกระแสไฟฟ้า สำหรับการเลือกใช้ ดูตามขนาดของถัง

ชนิดน้ำยาโฟม

        เมื่อฉีดพ่นออกมาโฟมจะเป็นฟองกระจายคลุมเพลิงไว้ ช่วยลดความร้อนและลดปริมาณออกซิเจนที่จะทำให้ไฟลุกลามต่อ เหมาะใช้กับเชื้อเพลิงธรรมดา ของเหลวติดไฟและแก๊สไวไฟ แต่ไม่เหมาะกับเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้า เพราะมีส่วนผสมของน้ำ สามารถใช้กับคลังสินค้าที่มีวัสดุเป็นสารติดไฟ และใช้กับที่พักอาศัยได้

ชนิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

        เมื่อฉีดพ่นจะมีไอเย็นจัดเช่นเดียวกับน้ำแข็งแห้ง ช่วยลดความร้อนและดับไฟในเวลารวดเร็ว ใช้ได้ทั้งเพลิงจากของเหลวติดไฟ และกระแสไฟฟ้า คลังที่ใช้เก็บสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ได้ดี

ชนิดน้ำ และแก๊ส

         ใช้ฉีดพ่นลดความร้อนจากเพลิงไหม้ธรรมดาทั่วไป ใช้กับที่พักอาศัย เหมาะกับคลังสินค้าที่มีของแข็งเป็นเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็นไม้ พลาสติก กระดาษ 

ชนิดละอองน้ำแรงดันต่ำ

          เป็นน้ำที่มีคุณสมบัติลดความร้อนได้เร็วกว่าน้ำธรรมดา ลดเพลิงปะทุซ้ำ ใช้งานได้ดีกว่าชนิดน้ำ ดับเพลิงได้ทุกประเภท รวมถึงเพลิงไหม้ที่เกิดจากการใช้น้ำมัน หรือของเหลวในการทำอาหาร 

ชนิด Wet Chemical

           ใช้สำหรับเพลิงไหม้ที่เกิดจากการใช้น้ำมัน หรือของเหลวในทำอาหาร ใช้กับอาคารบ้านเรือน ร้านอาหารได้

        การเลือกใช้ ถังดับเพลิง นอกจากจะต้องคำนึงถึงรูปแบบของเพลิงไหม้แล้ว ยังต้องดูด้วยว่าลักษณะของธุรกิจและสินค้าที่จัดเก็บในคลังเป็นอย่างไร ชนิดที่เหมาะสำหรับคลังสินค้ามากที่สุด คือชนิดผงเคมีแห้งเพราะใช้งานได้ครอบคลุมประเภทของเพลิงไหม้ได้มากที่สุด และราคาก็ไม่สูงมากด้วย สามารถหาข้อมูลอุปกรณ์ดับเพลิงเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดนี้ได้จากร้านไทยจราจร

การติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงอย่างถูกวิธีและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อยู่เสมอ

  • ควรจัดวางอุปกรณ์ไว้ในที่ที่ใช้งานได้สะดวก และมีป้ายบอกตำแหน่ง หรือป้ายเรืองแสงถังดับเพลิงเพื่อให้เห็นเด่นชัด 
  • อุปกรณ์ดับเพลิงควรมีจำนวนเพียงพอและเหมาะสมกับพื้นที่ รวมถึงมีการฝึกให้บุคคลากรทุกคนได้มีทักษะในการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ 
  • ติดตั้ง ป้ายเตือน ป้ายข้อความต่าง ๆ เช่น ห้ามสูบบุหรี่ สำหรับคลังสินค้าที่มีวัสดุติดไฟง่าย รวมถึงการติดตั้งป้ายทางออก ทางหนีไฟอย่างชัดเจน 
  • ตระหนักถึงระดับความเสี่ยงของคลังสินค้าด้วยว่า เสี่ยงสูงขนาดไหน โดยพิจารณาจากสินค้าที่จัดเก็บว่าเป็นประเภทใด ติดไฟง่ายหรือไม่ แล้วกำหนดมาตรการป้องกันให้เหมาะสมกับความเสี่ยง
  • หมั่นตรวจตราสภาพแวดล้อมในการทำงานของคลังสินค้า พฤติกรรมของบุคลากรเสมอ
  • คุมเข้มคลังสินค้าให้เป็นพื้นที่ปลอดวัตถุอันตราย เช่น ของเหลว หรือสารไวไฟ ไม่ควรนำมาเก็บรวมไว้ในคลังสินค้าอย่างเด็ดขาด
  • คอยตรวจสอบระบบไฟฟ้าอยู่เสมอ
  • จัดระบบการจัดเก็บให้มีพื้นที่วางสินค้าอย่างเหมาะสม ไม่ขวางทางเดิน และทางหนีไฟ

        อย่างไรก็ตาม ถังดับเพลิง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสกัดกั้นเพลิงในเบื้องต้นที่ยังมีความรุนแรงน้อย และไฟยังไม่ลุกลามมาก แต่หากเมื่อเห็นว่าสถานการณ์ไม่ดี เพลิงไหม้ขยายตัวรุนแรง ให้รีบติดต่อ 199 เพื่อความปลอดภัย จะมีเจ้าหน้าที่และหน่วยงาน อปพร. (อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) เข้าช่วยเหลือและระงับเหตุในทันที

ธุรกิจที่มีคลังสินค้าไม่ควรละเลยการดูแลความปลอดภัย เพราะคลังสินค้าเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของระบบโลจิสติกส์ เทียบเท่ากับเป็นคลังสมบัติทางธุรกิจ หากเกิดเพลิงไหม้และระงับไม่ทัน จะนำไปสู่ความเสียหายที่ไม่อาจเรียกกลับคืน และสำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการป้องกันอัคคีภัยเบื้องต้นนั้น สามารถเข้าเยี่ยมชมและเลือกซื้อได้ที่ ร้านไทยจราจร https://trafficthai.com/  ขอเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้กับธุรกิจของท่าน 

ที่มาข้อมูล

  • https://trafficthai.com/shop/?s=ถังดับเพลิง&post_type=product
  • https://trafficthai.com/content_blog-201.html
  • https://www.babcn.net/extinguishers/