อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในโรงงาน ป้องกันได้ด้วยอุปกรณ์เซฟตี้

        โรงงานอุตสาหกรรมไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ พนักงานจำเป็นต้องสวมใส่ชุดป้องกันอุบัติเหตุในระหว่างการปฏิบัติงาน แต่อุปกรณ์เซฟตี้ที่ใช้เพื่อป้องกันความเสียหายแก่อาคารโรงงานก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน เนื่องจากเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นย่อมสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน และความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ อันเป็นความเสียหายที่ประเมินราคามิได้ โดยอุบัติเหตุที่พบเห็นบ่อยในโรงงาน ได้แก่

  1. อุบัติเหตุจากการยกพัสดุ
  2. อุบัติเหตุจากไฟไหม้
  3. อุบัติเหตุจากการขนย้ายบรรจุภัณฑ์ภายนอกคลังสินค้า

         ดังนั้นฝ่ายจัดซื้อจึงควรเลือกอุปกรณ์เซฟตี้ที่เหมาะสมแก่การรับมือกับอุบัติเหตุ เพื่อลดความเสียหาย รวมทั้งลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุแก่พื้นที่โดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยการเลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ เช่น เครื่องหมายจราจร หรือ ยางกันกระแทก บริเวณที่มีการขนถ่ายสินค้าบ่อย เป็นต้น

อุบัติเหตุจากการยกพัสดุ พบได้บ่อยในคลังสินค้า

          อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าคลังสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรมมีขนาดใหญ่มาก และชั้นวางของมีจำนวนไม่น้อย แถมแต่ละชั้นตั้งสูงจนยากที่จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามว่าเป็นบรรจุภัณฑ์หรือพัสดุประเภทใด อีกทั้งพัสดุที่ผ่านกระบวนการผลิตจนถึงขั้นตอนพร้อมจัดจำหน่าย แน่นอนว่ามีน้ำหนักมากเป็นธรรมดา
หากผู้ปฏิบัติงานในคลังสินค้าไม่ชำนาญกับการขนถ่ายจากชั้นวางของที่สูง ด้วยบันไดพาดถึงพื้นด้านล่าง ย่อมมีโอกาสที่สินค้าจะตกลงมาจากชั้น และทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้รถโฟล์คลิฟท์ที่ใช้ในการขนย้ายอาจชนกันจากการไม่กำหนดทางเข้า – ออกที่กว้างมากพอ ดังนั้นคลังสินค้าของโรงงาน
ควรใช้งาน ป้ายจราจร และนำ เครื่องหมายจราจร มาใช้ในการทำงาน โดยป้ายจราจรที่ใช้ควรมี 2 รูปแบบดังนี้ 

1. ป้ายแนะนำ

          เหมาะสำหรับคลังสินค้ารูปแบบเก่าที่ไม่ได้ใช้งานเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยประมวลผล และต้องการแสดงพิกัดสินค้าในพื้นที่ ซึ่งป้ายนี้จะเป็นการกำหนดแถวของชั้นวางสินค้า ว่าอยู่แถวใดด้วยการแสดงจำนวนแถวด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตั้งแต่ A – Z และนำตัวเลขมาช่วยกำหนดพิกัดของชั้นวางของ เช่น B 6 ซึ่งบ่งบอกว่า สินค้าอยู่ในแถว B ชั้น 6 และอาจออกแบบป้ายแนะนำที่แสดงแผนผังในการทำงานในคลังสินค้าก็ได้เช่นกัน

2. ป้ายเตือน

          เพื่อบอกข้อกำหนดในการปฏิบัติงานว่ามีข้อบังคับอะไรบ้างที่ไม่สามารถทำได้ในพื้นที่ เช่น ป้ายห้ามสูบบุหรี่ ซึ่งใช้สำหรับคลังสินค้ามีวัตถุไวไฟ  หรือคลังสินค้าที่บรรจุสารเคมีอยู่ นอกจากช่วยป้องกันประกายไฟจากบุหรี่แล้ว ป้ายดังกล่าวยังช่วยสร้างสุขภาวะที่ดีในการทำงาน ลดการรบกวนการทำงานแก่ผู้ร่วมงานอีกด้วย และป้ายเตือนยังมีอีกหลายชนิด ให้เลือกใช้งาน เช่น  ป้ายห้ามเข้าใกล้ ที่ใช้เพื่อกันมิให้พนักงานเผลอเข้าไปยังพื้นที่ ซึ่งขนย้ายด้วยรถโฟล์คลิฟท์ หรือ ป้ายระวังไฟฟ้าแรงสูง หากคลังสินค้าอยู่ในระหว่างการปรับปรุง มีการเดินสายไฟใหม่ เป็นต้น

           นอกจากนี้เพื่อลดอุบัติเหตุในการยกพัสดุ จำเป็นต้องใช้งาน รถเข็น ที่ช่วยให้การจัดเก็บและขนย้ายในปริมาณเล็กน้อยมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้แรงงานขนคนย้ายโดยตรงมีความเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติเหตุจากของหล่นทับ และสุขภาพหลังมีปัญหาระยะยาว แน่นอนว่าการขนย้ายของจำนวนน้อย ไม่ควรใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ เพราะเสียเวลาโดยไม่จำเป็น ซึ่งรถเข็นที่ควรใช้งานในคลังสินค้ามี 2 ชนิด ดังนี้

รถเข็นอเนกประสงค์ พบเห็นได้ทั่วไปตั้งแต่โรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงสำนักงานที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง มีข้อดีคือ สามารถบรรทุกสิ่งของที่เป็นกล่องบรรจุภัณฑ์ได้จำนวนมาก ฐานล่างมีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้สูง แต่ข้อเสียสำคัญคือ หากรูปทรงของวัตถุที่ใช้ในการขนย้ายมีขนาดเล็ก และรับแรงกระแทกได้ต่ำ เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือขวดบรรจุน้ำมันพืช สิ่งเหล่านี้ก่อนการขนย้ายต้องบรรจุใส่กล่องอย่างดี มิเช่นนั้นแล้วจะตกหล่นนั่นเอง 

รถเข็นจับมือ 2 ล้อ มีความยืดหยุ่นสูงกว่ารถเข็นอเนกประสงค์ สามารถประยุกต์ใช้งานกับอุตสาหกรรมได้หลายประเภท เนื่องจากมีคุณสมบัติขนย้ายสินค้าได้หลายหลายตั้งแต่กล่องบรรจุภัณฑ์ จนไปถึงตู้ขนาดเล็ก รวมทั้งใช้งานได้ดีในพื้นที่แคบ เนื่องจากขนาดเล็ก แต่ข้อเสียคือ การขนย้ายใน 1 เที่ยว บรรทุกสิ่งของได้น้อยกว่ารถเข็นอเนกประสงค์

อุบัติเหตุที่เกิดจากอัคคีภัย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟไหม้ในโรงงาน มีสาเหตุมากมาย เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ความประมาทเลินเล่อของพนักงาน และเครื่องจักรทำงานขัดข้อง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ควรเลือกใช้กับการดับไฟภายในพื้นที่ต้องเป็น ถังดับเพลิง ประเภทผงเคมีแห้ง หรือถังดับเพลิงสีเขียวชนิดน้ำยา Halotron และ BF 2000 และไม่ควรใช้งานถังดับเพลิงแรงดันสูงชนิดน้ำ รวมทั้งน้ำเปล่าในการดับไฟ เนื่องจากอุบัติเหตุไฟไหม้ที่เกิดขึ้นในโรงงาน มักไม่ใช่ต้นเพลิงจากวัสดุปกติ อย่างเช่น กระดาษ และไม้ เป็นต้น

อุบัติเหตุจากการขนย้ายบรรจุภัณฑ์ภายนอกคลังสินค้า

           หลังจากขนบรรจุภัณฑ์ออกจากคลังสินค้า เพื่อเตรียมการบรรทุกสำหรับจัดจำหน่ายต่อไป ซึ่งรถยนต์ที่มีบทบาทในการขนส่งคงหนีไม่พ้นกับรถบรรทุก หรือรถกระบะ ด้วยความที่รถยนต์มีน้ำหนักมากและผู้ขับขี่มองไม่เห็นว่าหลังรถมีสิ่งกีดขวางอยู่หรือไม่ เพราะมีสินค้าวางบังการมองเห็นอยู่ ทำให้รถมีโอกาสถอยชนกำแพงอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นลานจอดรถของโรงงานจึงควรออกแบบให้มี ยางกันกระแทก
อยู่หลังช่องจอดรถ หรือหัวมุมกำแพงที่มีโอกาสรถชน เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดกับทรัพย์สินของโรงงาน

        อุบัติเหตุทั้ง 3 ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุภายในโรงงานเท่านั้น ซึ่งหากต้องการลดอุบัติเหตุที่มีประสิทธิภาพ ฝ่ายจัดซื้อควรเลือกใช้อุปกรณ์เซฟตี้ที่ช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นภายในโรงงาน การใช้อุปกรณ์เซฟตี้จึงถือเป็นหนึ่งใน วิธีลดอุบัติเหตุ สำหรับโรงงาน

        นอกเหนือการอบรมพนักงาน และการออกแบบผังโรงงานที่ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ถ้าฝ่ายจัดซื้อกำลังมองหาอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันและลดอุบัติเหตุ ร้านไทยจราจรมีอุปกรณ์ให้เลือกอย่างหลากหลาย มีคุณภาพได้รับการรับรองมาตรฐานจากมอก. ช่วยให้โรงงานของคุณปลอดภัยแน่นอน

[row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″] [row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″]
[/col_inner_4] [/row_inner_4] [/col_inner_3] [/row_inner_3]