การจัดการถังดับเพลิงในสำนักงานและโรงงานเพื่อให้มั่นใจว่าถังดับเพลิงพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

             ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) และกฎกระทรวงฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาคาร พ.ศ. 2522 รวมถึงกฎกระทรวงการแก้ไขอาคารที่มีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรืออาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552 และกฎกระทรวงเรื่องการกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ระบุให้อาคารและโรงงานต้องติดตั้งถังดับเพลิงตามชนิดและจำนวนที่กำหนด และต้องให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ 

          ถังดับเพลิงหรือเครื่องดับเพลิงแบบมือถือหรือเครื่องดับเพลิงยกหิ้วเป็นเครื่องดับเพลิงขนาดเล็ก สามารถใช้ได้กับเพลิงไหม้ที่มีขนาดเล็กหรือไฟที่เกิดการลุกไหม้ในระยะแรก (ประมาณ 3 นาที) มีขนาดบรรจุ 2 – 20 ปอนด์ สามารถหยิบยกหิ้ว เคลื่อนที่ไปยังที่เกิดเหตุได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ก่อนที่เพลิงจะลุกลาม

ประเภทของเพลิง

เพลิงจำแนกตามการเผาไหม้วัตถุเชื้อเพลิงได้ 5 ประเภท ดังนี้

ประเภท

วัตถุเชื้อเพลิง

A

เชื้อเพลิงธรรมดาทั่วไป เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ยาง และพลาสติกประเภทต่าง ๆ 

B

ของเหลวไวไฟ ของเหลวติดไฟ และแก๊สไวไฟ เช่น น้ำมันเบนซิน จารบี แอลกอฮอล์ 

C

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีการใช้กระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่

D

โลหะติดไฟ เช่น แมกนีเซียม ไททาเนียม โซเดียม และโปตัสเซียม

K

เครื่องครัวที่มีการปรุงอาหารโดยใช้น้ำมันพืช หรือไขสัตว์ซึ่งสามารถติดไฟ

ชนิดของ ถังดับเพลิง

ชนิดของ ถังดับเพลิง* จำแนกตามสารเคมีที่บรรจุ โดยมีความสามารถดับเพลิงประเภทต่าง ๆ ดังนี้ 

ชนิดถังดับเพลิง

ประเภทเพลิง

ลักษณะและการใช้งาน

1. น้ำสะสมแรงดัน

A

เป็นน้ำธรรมดา ใช้ดับไฟจากวัตถุเชื้อเพลิงที่เป็นวัสดุทั่วไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้ดับไฟประเภท B เพราะจะทำให้เพลิงไหม้กระจายออก และไม่สามารถดับไฟประเภท C เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า

2. ชนิดโฟม

A, B

เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมปกคลุมพื้นผิวของวัตถุเชื้อเพลิง เหมาะกับการใช้ดับไฟประเภท B แต่ไม่สามารถดับไฟประเภท C ได้ เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า

3. ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์

B, C

เมื่อฉีดออกมาแล้วจะเป็นไอเย็นปกคลุมพื้นผิวของวัตถุเชื้อเพลิง สามารถใช้ดับไฟประเภท C เพราะไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้าและไม่ทิ้งคราบสกปรกไว้หลังใช้งาน

4. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง

A, B, C

ทิ้งคราบสารเคมีไว้หลังใช้งาน และต้องนำไปบรรจุใหม่เมื่อมีการใช้งานแล้วถึงแม้จะยังใช้ไม่หมดถัง

5. ชนิดน้ำยาเหลวระเหย Halotron

A, B, C

ถังดับเพลิงบรรจุสารเหลวระเหย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นสื่อในการนำไฟฟ้า มองเห็นวัตถุเชื้อเพลิงได้ชัดเจนขณะใช้งานและไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังใช้

6. ชนิดน้ำยาเหลวระเหย BF2000

A, B, C, D, K

ถังดับเพลิงบรรจุสารเหลวระเหย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นสื่อในการนำไฟฟ้า มองเห็นวัตถุเชื้อเพลิงได้ชัดเจนขณะใช้งานและไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังใช้

ดูรายละเอียดได้ที่ https://trafficthai.com/shop/product-category/fire-protect-extinguisher00/ 

การติดตั้ง ถังดับเพลิง 

เนื่องจากมีกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งถังดับเพลิงไว้หลายฉบับ จึงควรเลือกใช้ฉบับที่เข้มงวดมากที่สุด เพื่อจะได้สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดฉบับอื่นเมื่อมีการตรวจสอบ

สำนักงาน

โรงงาน

 1. กำหนดให้มีถังดับเพลิง 1 เครื่องต่อพื้นที่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร อย่างน้อยชั้นละ 1 เครื่อง จำนวนถังดับเพลิงขั้นต่ำขึ้นอยู่ความสามารถของเครื่องดับเพลิง (Fire Rating)

 1. จำนวนเครื่องดับเพลิงขั้นต่ำ คำนวณจากระดับความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยของโรงงาน ขนาดพื้นที่ของโรงงาน และระดับความสามารถของเครื่องดับเพลิง (Fire Rating)
2. ถังดับเพลิงต้องมีขนาดและชนิดที่เหมาะสมกับการดับเพลิงที่เกิดจากประเภทวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ แต่ต้องมีขนาดบรรจุสารเคมีไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม 2. ถังดับเพลิงต้องมีขนาดและชนิดที่เหมาะสมกับการดับเพลิงที่เกิดจากประเภทวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ แต่ต้องมีขนาดบรรจุสารเคมีไม่น้อยกว่า 4.5 กิโลกรัม
3. ติดตั้งให้ส่วนบนของถังดับเพลิงอยู่สูงจากพื้นไม่เกิน 1.4 เมตร 3. ติดตั้งให้ส่วนบนของถังดับเพลิงอยู่สูงจากพื้นไม่เกิน 1.5 เมตร
4. ติดตั้งให้มีระยะห่างระหว่างเครื่องดับเพลิงไม่เกิน 45 เมตร 4. ติดตั้งให้มีระยะห่างระหว่างเครื่องดับเพลิงไม่เกิน 20 เมตร
5. ระยะการเข้าถึงถังดับเพลิงสำหรับเพลิงประเภท A ต้องไม่เกิน 22.50 เมตร และประเภท B ไม่เกิน 9 และ 15 เมตร ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยของโรงงาน และระดับความสามารถของเครื่องดับเพลิง (Fire Rating) 5. ระยะการเข้าถึงถังดับเพลิงสำหรับเพลิงประเภท A ต้องไม่เกิน 22.50 เมตร และประเภท B ไม่เกิน 9 และ 15 เมตร ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยของโรงงาน และระดับความสามารถของเครื่องดับเพลิง (Fire Rating)
6. มีป้ายหรือสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร 6. มีป้ายหรือสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
7. ไม่มีสิ่งกีดขวาง ต้องสามารถนำถังดับเพลิงมาใช้งานได้สะดวก และต้องสามารถอ่านวิธีการใช้ถังดับเพลิงได้ 7. ไม่มีสิ่งกีดขวาง ต้องสามารถนำถังดับเพลิงมาใช้งานได้สะดวก และต้องสามารถอ่านวิธีการใช้ถังดับเพลิงได้

          เมื่อติดตั้ง ถังดับเพลิง เรียบร้อย ต้องระบุตำแหน่งติดตั้งของถังดับเพลิงไว้ในแผนผังทางหนีไฟร่วมกับการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดับเพลิงอื่น ๆ ด้วย เช่น เครื่องตรวจจับควัน สวิตช์แจ้งเตือน อุปกรณ์ดึงแจ้งเหตุ ตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิง หรือหัวรับน้ำดับเพลิง เป็นต้น จากนั้นนำไปติดประกาศเพื่อให้พนักงานและผู้มาติดต่อรับทราบต่อไป

ตัวอย่างป้ายหรือสัญลักษณ์ถังดับเพลิง*

ตัวอย่างป้ายบอกวิธีการใช้ถังดับเพลิง*

ตัวอย่างที่วางถังดับเพลิงพร้อมป้าย*

Upload Image...