ความปลอดภัยในที่ทำงานถือเป็นหัวใจหลักของทุกองค์กร เพราะพนักงานทุกคนจะต้องได้รับการดูแล เอาใจใส่ถึงกระบวนการทำงาน สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน ให้มีความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่อาชีวอนามัยและส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องสำรวจและประเมินความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สินของพนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกตำแหน่งงาน เช่น ความปลอดภัยจากการจราจรภายใน, ความปลอดภัยจากการใช้งานเครื่องจักร, ความปลอดภัยจากสารเคมีและอื่น ๆ
อันตรายจากสถานที่ทำงาน
อันตรายจากสถานที่ทำงาน คือ สภาพการณ์ในที่ทำงานจะต้องปลอดภัยและไม่เกิดอันตรายใด ๆ แก่คนทำงานและบุคคลภายนอก เช่น โรงงานสารเคมี, โรงงานผลิตรถยนต์, โรงงานผลิตสติ๊กเกอร์, โรงพิมพ์, ห้างสรรพสินค้า, สถานที่ราชการ ล้วนต้องมีความปลอดภัย ดังนั้น ทุกคนที่เกี่ยวข้องในสถานที่ทำงานทุกแห่งไม่เว้นแม้แต่ในโรงเรียนควรตระหนักถึงความปลอดภัยและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น รถยนต์ที่สัญจรไปมาในสถานที่, ระดับเสียงรบกวน, ความเพียงพอของแสงในที่ทำงานหรือในสถานศึกษา, เครื่องจักรและอื่น ๆ ซึ่งหากมีการตรวจพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบดำเนินแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้นตามกฎมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
ปัจจัยของการเกิดอุบัติเหตุ
การเกิดอุบัติเหตุจะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ดังต่อไปนี้
- สภาพการณ์ หมายถึง สถานการณ์ที่อาจจะไม่ปลอดภัยหรือเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงเครื่องมือ เครื่องจักรที่ชำรุดหรือไม่ปลอดภัย เช่น เครื่องจักรที่ไม่ได้รับการติดตั้งระบบเซฟตี้หรือการ์ดป้องกันอันตราย เครื่องจักรหรือเครื่องมือที่ชำรุด พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
- วิธีการทำงาน คือ ขั้นตอนในการทำงานหรือการใช้เครื่องมือผิประเภท ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้รับการอบรมหรือฝึกฝนการใช้เครื่องมือให้เกิดความชำนาญ
- บุคคล ตัวผู้ปฏิบัติงานไม่พร้อมที่จะปฏิบัติงาน เช่น เมาแล้วขับ, พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบอย่างเคร่งครัดและการกระทำโดยประมาท หรือ รู้ทั้งรู้ว่าจะเกิดอันตรายก็ยังทำ เป็นต้น
ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดจะเป็นในส่วนของตัวบุคคล หรือคิดเป็น 85% ของสถิติการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้แก่
- ไม่ปฏิบัติตามกฎและ เครื่องหมายจราจร
- ทำงานลัดขั้นตอน
- เหม่อลอย
- ประมาท
- ไม่สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือ PPE
- ใช้เครื่องมือไม่ถูกประเภท
- เมา
วิธีลดอุบัติเหตุ และการป้องกันอุบัติเหตุในที่ทำงาน
วิธีลดอุบัติเหตุ และการป้องกันเหตุ อันตราย ที่จะเกิดขึ้น โดยมีวิธีในการแก้ไขตามหลักความปลอดภัยด้วยกันดังนี้
- การป้องกันที่ต้นเหตุ เป็นการแก้ไขที่ดีที่สุด เพราะหากไม่มีอันตรายที่เกิดจากต้นเหตุก็จะไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ซึ่งการแก้ไขดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องมีงบประมาณมาเกี่ยวข้อง เช่น การเปลี่ยนผ้าเบรก, การเปลี่ยนยางรถยนต์, การเปลี่ยนเครื่องจักร ซึ่งโอกาสที่จะเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้ มีความเป็นไปได้น้อยเพราะของบางอย่างต้นทุนสูง อย่างเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตที่มีมูลค่าตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลายร้อยล้าน
- การป้องกันที่ทางผ่าน โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะนิยมเลือกใช้วิธีนี้ เพราะสะดวก ใช้งบประมาณที่น้อยกว่า เช่น การติดตั้งเซนเซอร์ หากพบว่ามีอวัยวะของผู้ทำงานล้ำผ่านเซนเซอร์เข้าไปเครื่องจักรจะหยุดทำงานทันที, การติดตั้งปุ่มฉุกเฉินเพื่อให้เครื่องจักรหยุดทำงาน, การใช้ปุ่มควบคุม 2 มือ หรือไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วยมือข้างเดียวได้ เป็นต้น
- การป้องกันที่ตัวบุคคล เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ตัวเลือกในลำดับแรก ๆ ที่หลายหน่วยงานเลือกใช้ เพราะประหยัดและรวดเร็วที่สุดในการแก้ไขปัญหา เช่น การให้พนักงานสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล แต่ข้อเสียของการแก้ไขที่ตัวบุคคลหากไม่ระมัดระวังก็จะทำให้ได้รับอันตรายซ้ำ ๆ แบบเดิมและยังคงเป็นปัญหาการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดเช่นเดิม
อื่น ๆ การติดตั้ง ป้ายเตือน เครื่องหมายจราจร การใช้ กรวยจราจร ถังดับเพลิง ในการแก้ไขและป้องกัน การแก้ไขและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น การเพิ่มแสงสว่าง, การติดตั้งพัดลมระบายอากาศ, การติดตั้งเนินชะลอความเร็ว, การติดตั้งที่กั้นล้อรถ, การติดป้ายจำกัดความเร็ว, ป้ายหยุด รวมไปถึงการจัดอบรมและให้ความรู้พนักงานก่อนเข้าทำงานและจัดอบรมซ้ำ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการทำงานที่ปลอดภัย เป็นต้น
อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์จราจรเพื่อลดอุบัติเหตุ
สำหรับอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์จราจร เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวบุคคลให้ปลอดภัยจากอันตรายในขณะที่กำลังปฏิบัติงานหรือการขับขี่รถภายในองค์กร
อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล
ถังดับเพลิง ทุกหน่วยงาน จะต้องมี ถังดับเพลิง ติดตั้งตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้
รองเท้านิรภัย
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันเท้า โดยในบางรุ่นจะมีหัวเป็นเหล็กตัวรองเท้าทำจากหนัง เพื่อป้องกันสิ่งของตกกระแทกเท้าหรือเตะโดนของแข็ง ของมีคม ตัวพื้นเป็น PU TPU NBR แข็งและหนา ป้องกันการเหยียบตะปูได้ เหมาะสำหรับงานปิโตรเลียม งานก่อสร้าง งานไฟฟ้าเนื่องจากป้องกันไฟฟ้าได้
รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต
เหมาะสำหรับพนักงานที่ต้องทำงานภายในห้องปรับอากาศ หรือห้องอัดอากาศที่มีไฟฟ้าสถิต การใส่รองเท้าดังกล่าวจะทำให้ผู้สวมใส่ปลอดภัยต่อไฟฟ้าช็อตจากไฟฟ้าสถิตได้
เข็มขัดพยุงหลัง
ใช้สำหรับงานที่ต้องยกสินค้าหรือยกสิ่งของที่หนัก เป็นเข็มขัดที่ช่วยให้ผู้สวมใส่ไม่ใช้ท่าทางในการยกของหนักที่ผิดและป้องกันอาการบาดเจ็บ
แว่นตานิรภัย
สำหรับงานซ่อมบำรุง รับเหมาก่อสร้างหรือผู้ปฏิบัติงานห้องสารเคมีการสวมใส่แว่นตานิรภัยมีความจำเป็นมาก เพราะสามารถป้องกันฝุ่นผง สารเคมีและสิ่งของตกใส่ดวงตา
หมวกนิรภัย
ช่วยป้องกันและลดอาการบาดเจ็บจากของแข็งตกใส่ศรีษะในขณะปฏิบัติหน้าที่ในการทำงาน เช่น งานซ่อมบำรุง งานก่อสร้าง เป็นต้น
เสื้อชูชีพ ห่วงชูชีพ
สำหรับผู้ปฏิบัติงานทางน้ำ เช่น เรือโดยสาร เรือสำราญ เรือประมง เป็นต้น
อุปกรณ์จราจรและป้าย
สำหรับอุปกรณ์จราจรและป้ายจราจร สามารถที่จะพบเห็นได้ทั่วไปบนท้องถนนและการสอบ การอบรมการต่อใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งผู้ขับขี่รถทุกคนจะต้องเข้ารับการอบรมและสอบให้ผ่าน โดยอุปกรณ์จราจรประกอบไปด้วย
ป้ายห้าม
เป็นป้ายที่มีพื้นสีแดง ตัวหนังสือสีขาวหรือพื้นสีขาว ตัวหนังสือและขอบสีแดง ผู้ขับขี่เมื่อพบเห็นจะต้องปฏิบัติตามในทันที เช่น ป้ายหยุด ป้ายบังคับเลี้ยวต่าง ๆ ป้ายห้ามเข้า
ป้ายเตือน
เป็นป้ายที่ใช้แจ้งเตือนให้ผู้ขับขี่รู้ถึงสถานการณ์ข้างหน้าหรือให้ระมัดระวังเหตุการณ์ข้างหน้า ซึ่งจะใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นและใช้สีดำเป็นรูปสัญลักษณ์ เช่น ป้ายข้างหน้าทางโค้ง, ป้ายจำกัดความสูง, ป้ายจำกัดความกว้างของตัวรถ, ป้ายข้างหน้าทางเลี้ยวหักศอก, ป้ายกลับรถ เป็นต้น
ป้ายข้อมูล
เป็นป้ายที่ใช้บอกข้อมูลหรือแจ้งให้ผู้ขับขี่ทราบเกี่ยวกับสถานที่ที่ต้องไป ระยะทางและอื่น ๆ โดยตัวป้ายจะเลือกใช้สีน้ำเงินเป็นสีพื้นและสีขาว ขอบขาวเป็นสัญลักษณ์ เช่น ป้ายจอดรถสำหรับผู้พิการ, ป้ายบอกทางต่าง ๆ
กรวยจราจร
เป็นอุปกรณ์สำหรับบังคับทิศทางหรือใช้สำหรับกั้นเพื่อมิให้ยานพาหนะผ่าน กรวยจราจร
ไฟหมุน/ไซเรน
อุปกรณ์ช่วยลดอุบัติเหตุ ช่วยแจ้งเตือนเหตุการณ์ให้ผู้ขับขี่ระมัดระวัง เช่น แจ้งเตือนการทำถนน แจ้งเตือนการตั้งด่านของเจ้าหน้าที่
เนินชะลอความเร็ว
ติดตั้งเพื่อให้รถลดความเร็วลง โดยเฉพาะในบริเวณชุมชน เช่น บ้านจัดสรร, โรงเรียน, มหาวิทยาลัย, ห้างสรรพสินค้า มีทั้งแบบยางและยางมะตอย
ที่กั้นที่จอดรถ
สำหรับลานจอดหรือที่จอดรถภายในบริษัท เพื่อป้องกันการพุ่งชนของรถและเพื่อความมีระเบียบในการจอดรถ มีให้เลือกทั้งแบบยางและแท่นปูน
กระจกโค้ง
สำหรับติดตั้งบริเวณทางแยก ทางโค้งที่มีมุมอับสายตา ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาปกติ ต้องใช้กระจกโค้งในการเลี้ยวหรือวิ่งผ่านทางแยก เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ความปลอดภัยทางด้านจราจรอีกหลายอย่าง เช่น เสาหลักจราจร, แผงกั้นจราจร, แบบริเออร์, ที่ล็อกล้อ, ยางกันลื่น เสากั้นรถ, เสากั้นทางเดินและอื่น ๆ อีกมาก สำหรับหน่วยงานและองค์กรใดที่สนใจเกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ, อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล, เครื่องหมายจราจร trafficthai.com ยินดีให้บริการอุปกรณ์ความปลอดภัยแบบครบวงจร พร้อมทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษาและประเมินความปลอดภัยหน้างานให้ฟรี การันตีด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี
ที่มาของข้อมูล
- https://www.safesiri.com/safety-at-work/
- trafficthai.com