การข้ามทางม้าลายและกฎหมายทางม้าลาย

กฎหมาย ทางม้าลาย และข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการข้ามถนน

กฎหมายจราจรในแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกันออกไป โดยสำหรับ กฎหมายทางม้าลาย ในประเทศไทย สิ่งที่ผู้ขับรถบนท้องถนนและคนเดินเท้าจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับทางม้าลาย มีดังต่อไปนี้

กฎหมาย ทางม้าลาย สำหรับผู้ขับรถ

  • เมื่อขับรถเข้าใกล้บริเวณทางข้าม แต่ไม่มีคนข้ามทางข้าม ถ้าเจอทางม้าลาย ผู้ขับขี่ก็ต้องชะลอและเตรียมหยุดรถให้คนเดินข้ามถนน และห้ามจอดรถบนทางม้าลายและต้องจอดให้ห่างจากทางม้าลายอย่างน้อย 3 เมตร ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • ห้ามขับรถแซงรถคันอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางม้าลาย ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 400-1,000 บาท
  • ถ้าหากขับรถชนคนเดินเท้าจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตบริเวณทางม้าลายจะมีความผิดเพิ่ม

กฎหมาย ทางม้าลาย สำหรับคนเดินเท้า

  • การใช้ทางม้าลาย หากไม่ใช้ทางม้าลายหรือสะพานลอยภายในระยะ 100 เมตรจากทางข้าม ถือว่ามีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
  • หากคนข้ามถนนทำผิดกฎในข้อก่อนหน้าแล้วถูกรถชน ถือว่าคนข้ามถนนเป็นผู้มีความผิด

นอกจากข้อปฏิบัติเกี่ยวกับทางม้าลายในไทยที่หลาย ๆ คนมักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ตามมาตรกฏหมายก็ยังมีระบุไว้ชัดเจน โดยออกเป็น พระราชบัญญัติจราจรทางบกไว้เมื่อ พ.ศ. 2522 ซึ่งมีระบุไว้ดังนี้

   มาตรา 22 – ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้า

– (4) สัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป หรือสัญญาณ จราจรไฟสีแดงแสดงพร้อมกับสัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป ให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถหรือขับรถตรงไปได้ตามทิศทางที่ลูกศรชี้ และต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง “และต้องให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้ามหรือรถที่มาทางขวาก่อน”

หมายความว่า คนขับรถที่ต้องการเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา ต้องเลี้ยวด้วยความระมัดระวัง หากมีคนเดินข้ามถนนต้องหยุดรถให้คนเดินข้ามก่อน

    มาตรา 46 – ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในกรณีต่อไปนี้

– (2) “ภายในระยะสามสิบเมตรก่อนถึงทางข้าม” ทางร่วมทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ

หมายถึง เมื่อเห็นทางม้าลายข้างหน้า ห้ามแซงเด็ดขาดในระยะ 30 เมตร

   มาตรา 57 – ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ

– (4) ในทางข้าม หรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม

หมายถึง ห้ามจอดรถทับทางม้าลาย โดยนับจากเส้นไปก่อนและหลัง 3 เมตร เช่นเดียวกับเส้นเหลืองทแยง

   มาตรา 70 – ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก ทางข้ามเส้นให้รถหยุด หรือวงเวียน ต้องลดความเร็วของรถ

หมายถึง เมื่อเห็นทางม้าลาย ให้ชะลอความเร็วก่อนทุกครั้ง

   มาตรา 104 – ภายในระยะไม่เกินหนึ่งร้อยเมตรนับจากทางข้ามห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางนอกทางข้าม

หมายถึง ผู้ที่ต้องการข้ามถนน หากมีทางม้าลายหรือสะพานลอยในระยะ 100 เมตร ให้ข้ามตรงทางม้าลายหรือสะพานลอยเท่านั้น หากข้ามบริเวณอื่นจะโดนปรับ

   มาตรา 105 – คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางข้ามที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุมคนเดินเท้า ให้ปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจรที่ปรากฏต่อหน้า ดังต่อไปนี้

เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดง

ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าหยุดรออยู่บนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย เว้นแต่ทางใดที่ไม่มีทางเท้า ให้หยุดรอบนไหล่ทางหรือขอบทาง

เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียว

ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการอนุญาตให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถได้

เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวกะพริบทางด้านใดของทาง

ให้คนเดินเท้าที่ยังมิได้ข้ามทางเดินรถหยุดรอบนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถให้ข้ามทางเดินรถโดยเร็ว

ซึ่งในมาตรานี้ ก็ให้คนเดินถนนที่ข้ามทางม้าลายตรงจุดที่มีสัญญาณไฟ เคารพสัญญาณอย่างเคร่งครัด ถ้าไฟแดงขึ้นก็ห้ามข้าม ข้ามได้เฉพาะช่วงไฟเขียว และถ้าไฟเขียวกะพริบแล้วตัวยังอยู่บนทางเท้าก็ห้ามข้าม ส่วนคนที่เดินลงไปบนถนนแล้วก็ให้รีบข้ามด้วยความรวดเร็ว

          ทางม้าลายคือ เครื่องหมายจราจรที่เกี่ยวข้องกับทั้งผู้ขับรถและคนเดินเท้า ซึ่งถูกใช้เป็นสากลทั่วโลก แต่กลับเป็นหนึ่งในสิ่งที่ถูกละเลยมากที่สุด ทั้งคนขับรถบนท้องถนนที่ไม่ยอมจอดให้คนข้าม และคนเดินข้ามถนนที่ไม่ยอมข้ามทางม้าลาย (รวมทั้งสะพานลอย) ทำให้เกิดอุบัติเหตุครั้งแล้วครั้งเล่า วันนี้เราจึงจะพาไปทำความรู้จักกับที่มาและสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับทางม้าลายที่ทุกคนควรรู้กัน

         ทางม้าลาย ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Pedestrian Crossing โดยได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษช่วงปี ค.ศ. 1934 จากการแนะนำในกฎหมายข้อ 18 ของ Road Traffic Act ในสหราชอาณาจักร ที่กำหนดให้รถทุกประเภทต้องหยุดให้คนเดินข้ามถนน พร้อมกำหนดให้จุดข้ามถนนของผู้คน ต้องมีลักษณะเป็นเส้นตรงสลับช่องในแนวขวางของถนน

สีทางม้าลาย ก่อนหน้านี้ไม่ใช่ขาว-ดำ?

ในตอนนั้น เส้นตรงดังกล่าวยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ มีลักษณะเป็นเส้นตรงสลับช่องในแนวขวางกว้างประมาณ 40 – 60 เซนติเมตรเหมือนอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้ เพื่อให้คนใช้ข้ามถนน แต่ในช่วงแรกจะเป็นการทดลองใช้หลากหลายสี โดยเริ่มต้นจากเส้นสีทางม้าลาย เหลือง-น้ำเงิน ใน 1,000 ประเทศทั่วโลก ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีขาว-แดง หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1951 ก็ถูกปรับมาใช้เป็นสีเดียวกันหมดคือ สีทางม้าลายขาว-ดำ เนื่องจาก มีข้อสรุปว่า สีขาวกับสีดำตัดกับสีถนนได้ดี และมองเห็นชัดทั้งคนขับรถและคนข้ามถนนที่สุด

ทางม้าลายสีขาว-ดำเริ่มใช้ครั้งแรกบนถนนในเมือง Slough เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 1951ก่อนที่จะเริ่มถูกนำไปใช้แพร่หลาย พร้อมทั้งตั้งชื่อเรียกว่า Zebra Crossing ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภาษาไทยว่า “ทางม้าลาย” เนื่องจาก James Callaghan อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร (1976 – 1979) มองเห็นทางข้ามแล้วนึกถึงม้าลายขึ้นมานั่นเอง

สัญลักษณ์หนึ่งที่เราเห็นกันจนชินตาคู่กับทางม้าลายก็คือ ป้ายข้ามทางม้าลาย เนื่องมาจากทางม้าลายสีขาว-ดำที่เริ่มใช้ครั้งแรกบนถนนในเมือง Slough นั้นอยู่คู่กับเสาไฟสัญญาณ Belisha Beacon (เบลิชชา บีคอน) จากไอเดียของรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมอังกฤษ Leslie Hore-Belisha (เลสลี ฮอร์ เบลิสชา) ที่ต้องการให้เสาไฟและสัญญาณดังกล่าวเป็นจุดรอสัญญาณข้ามถนน เมื่อใดที่โคมไฟสีส้มบนเสาสว่างขึ้น รถบนถนนก็จะหยุดให้คนข้าม โดยต่อมา ได้เปลี่ยนจากโคมไฟเป็นสัญญาณไฟรูปคนข้ามถนนในปัจจุบัน

ไฟข้ามทางม้าลาย

สำหรับ ทางม้าลายบางแห่งที่คนพลุกพล่านจะมีไฟสัญญาณให้กับคนข้ามด้วย โดย ไฟแดง หมายถึงให้คนหยุดรอข้าม เมื่อ ไฟเขียว แล้วรถจะต้องหยุดเพื่อให้คนสามารถเดินข้ามได้ แต่ถ้าหากไฟสีเขียวกระพริบขณะที่กำลังข้าม ให้รีบเดินข้ามจนถึงอีกฝั่งก่อนที่ไฟจะกลายเป็นสีแดง

ประโยชน์ทางม้าลาย

กฎหมาย ทางม้าลาย ประโยชน์

ประโยชน์ทางม้าลาย คือ เป็นทางสำหรับให้คนใช้เดินข้ามถนนอย่างปลอดภัย โดยมีกฎและข้อบังคับให้รถที่วิ่งบนท้องถนนต้องชะลอความเร็วก่อนถึงทางม้าลาย และหยุดรถเพื่อให้คนข้ามถนน โดยคนข้ามก็ต้องใช้ทางม้าลายในการข้ามถนนด้วย นอกจากว่าบริเวณนั้นจะไม่มีทางม้าลายหรือสะพานลอยอยู่เลย

ปัญหาการข้ามทางม้าลาย ที่ควรระวัง

ทางม้าลาย ปัญหาทางม้าลาย

นอกจากการเคารพกฏอย่าวเคร่งครัดแล้ว การไม่ประมาทก็ถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไป ซึ่ง ปัญหาการใช้ทางม้าลาย ที่ควรระมัดระวังมีดังต่อไปนี้

การข้ามทางม้าลาย การข้ามถนนอย่างปลอดภัย

  1. คนเดินเท้าที่กำลังเดินข้ามถนนในทางม้าลายมีสิทธิไปก่อนรถ เพราะตามกฎมายรถต้องหยุดให้คนข้ามถนนในทางข้ามแต่จะต้องระวังให้โอกาสแก่รถที่จะชะลอความเร็ว และหยุดไม่ทันก่อนที่จะก้าวลงไปยังพื้นถนน ยิ่งเวลาฝนตกถนนลื่นต้องระวังให้มาก
  2. ถึงแม้ว่าคนขับรถจะหยุดให้ข้ามต้องข้ามด้วยความระวัดระวัง มองขวา – ซ้าย ตลอดเวลา เพราะอาจมีผู้ขับขี่บ้าบิ่นแซงรถทีหยุดรถอยู่ขึ้นมาก็ได้และการข้ามถนนต้องรวดเร็วอย่าเดินลอยชาย
  3. การข้ามถนนในช่องทางข้ามที่ยริเวณทางแยกให้ระวังรถที่จะเลี้ยวเข้ามาหาด้วย

อุบัติเหตุเป็นสิ่งไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ทั้งนี้นอกจากการเคารพ กฎหมาย ทางม้าลาย รวมทั้งมีน้ำใจในการใช้รถใช้ถนนกับเพื่อนร่วมทางแล้ว การระมัดระวังก็ถือว่าเป็นอีกข้อที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวคุณมากขึ้น นอกจากนี้แล้วผู้ขับขี่เองก็ต้องเคารพผู้ร่วมใช้ท้องถนนด้วยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้สัญจรด้วยและจะทำให้ท้องถนนนั้นดีขึ้นกว่าเดิมด้วย

ที่มา:

  • https://www.carsome.co.th/news/item/cross-road-story
  • https://www.directasia.co.th/blog/lifestyle/crosswalk-law/
  • สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก