สถานที่เสี่ยงที่ควรติดตั้ง ป้ายจราจร

                ป้ายจราจรความปลอดภัย ถือเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนต่างก็คุ้นเคย เพราะพบเห็นได้ทั่วไปบนท้องถนน ซึ่งป้ายเหล่านี้มีเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุและช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการใช้รถใช้ถนน รวมทั้งความเป็นระเบียบเรียบร้อยบนท้องถนน แต่สิ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ก็คือ นอกจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแล้ว บุคคลทั่วไปก็สามารถติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจรในพื้นที่ส่วนบุคคลหรือสถานประกอบการของตัวเองได้เช่นกัน แต่จะต้องปฏิบัติการข้อกำหนดและมาตรฐานของกรมทางหลวงอย่างเคร่งครัด ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่าข้อกำหนดที่ว่านี้มีอะไรบ้างและสถานที่ใดบ้างที่ควรติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจร

วิธีติดป้ายสัญลักษณ์จราจรที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกรมทางหลวง

           จากการศึกษาของกรมทางหลวงพบว่า ผู้ขับขี่จะใช้เวลาอ่านป้ายที่มี เครื่องหมายจราจร แค่ 1 – 8 วินาทีเท่านั้น โดยจะใช้เวลาอ่านตัวอักษรและสัญลักษณ์บนป้ายที่มีขนาดประมาณ 10 ซม. แค่ 0.6 วินาที ดังนั้น การติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจรจึงต้องติดตั้งให้อยู่ในระดับความสูงและระยะห่างจากจุดที่ต้องระวังที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยสามารถทำตาม 5 วิธีดังต่อไปนี้

  • ติดตั้ง ป้ายจราจรความปลอดภัย เอียง 5 องศา 

การติดป้ายจราจรตามข้อกำหนดของกรมทางหลวง ต้องทำมุมเอียง 5 องศา และหันหน้าเข้าหาผู้ขับขี่ให้เห็นได้ชัดเจน สาเหตุที่ต้องทำมุมเอียงก็เพื่อลดการสะท้อนแสงแดด และหากจำเป็นต้องติดตั้งป้ายในบริเวณใกล้เคียงกันหลายป้าย ต้องเป็นป้ายแบบเดียวกัน สื่อความหมายเหมือนกัน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน 

  • ป้าย “หยุด” ต้องติดตั้งเดี่ยว ๆ 

หากเป็นป้าย “หยุด” ต้องเป็นป้าย 8 เหลี่ยม มีตัวอักษรภาษาไทย “หยุด” คู่กับภาษาอังกฤษ “STOP” บนพื้นสีแดงเท่านั้น และต้องติดตั้งเป็นป้ายแบบเดี่ยว ห้ามใช้ปนกับป้ายอื่น และห้ามติดใกล้กับทางแยกที่มีสัญญาณ ไฟจราจร ส่วนใหญ่จะติดตั้งบนถนนสายรองช่วงใกล้ถึงถนนสายหลักเพื่อให้ผู้ขับขี่ชะลอความเร็วก่อนถึงทางแยก 

  • ป้ายทางข้ามถนนให้ติดใกล้ทางม้าลาย

ตามข้อกำหนดของกรมทางหลวง การติดตั้งป้ายทางข้ามถนนต้องติดใกล้กับ “ทางม้าลาย” และต้องติดในพื้นที่ที่มีคนเดินข้ามถนนเฉลี่ยอย่างน้อย 100 คน/ชม. มีรถขับขี่ในเส้นทางอย่างน้อย 450 คัน/ชม. โดยจะต้องใช้ป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสพื้นสีน้ำเงินกรอบสีขาว มีรูปคนเดินข้ามทางม้าลายสีขาวดำ แต่หากบริเวณดังกล่าวไม่มีทางม้าลายแต่เป็นพื้นที่ชุมชนที่มักมีคนเดินข้ามไป-มาอยู่เสมอให้ติดตั้งป้ายระวังคนข้ามถนนเพื่อให้ผู้ขับขี่ขับรถช้าลงพร้อมหยุดรถเมื่อถึงจุดระวัง โดยจะต้องใช้ป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสพื้นสีเหลืองกรอบสีดำ มีรูปคนเดินข้ามถนนสีดำ 

  • ป้ายเตือนให้หยุดก่อนถึงจุดระวัง 100 – 150 เมตร 

ป้ายเตือนให้หยุดข้างหน้าจะต้องติดตั้งอยู่ก่อนถึงจุดที่รถจะต้อง “หยุด” ประมาณ 100 – 150 เมตร ส่วนใหญ่มักติดตั้งอยู่ในบริเวณที่ต้องระวัง เช่น ทางโค้ง เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุรถชน 

  • ป้ายเตือนสิ่งกีดขวางมีขนาดไม่เกิน 60×75 ซม.

ป้ายเตือนสิ่งกีดขวางต้องเป็นป้ายทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีพื้นเป็นสีเหลืองและสีดำสะท้อนแสงเพื่อให้ผู้ขับขี่สังเกตเห็นได้ชัดทั้งกลางวันและกลางคืน เตือนว่าอาจมีสิ่งกีดขวางข้างหน้า เช่น เกาะกลางถนน หรือ กรวยจราจร ต้องเพิ่มความระมัดระวังการขับขี่ โดยป้ายต้องมีขนาดไม่เกิน 60×75 ซม. และต้องอยู่สูงจากระดับพื้นไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร

รู้จัก 6 สถานที่ ที่ควรติดตั้งป้ายจราจรความปลอดภัย

          สำหรับสถานที่เสี่ยงที่ควรติดตั้ง ป้ายจราจรความปลอดภัย มีด้วยกันหลายที่ แต่หากพิจารณาโดยยึดจากทำเลที่ตั้ง จำนวนผู้ใช้รถ รวมทั้งคนเดินเท้าเป็นหลักแล้ว จะพบว่า 6 สถานที่ดังต่อไปนี้ควรจะต้องติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจรเพื่อความปลอดภัย

  • โรงพยาบาลและโรงงานอุตสาหกรรม 

ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างก็เป็นสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน มียานพาหนะประเภทต่าง ๆ ทั้ง รถเข็น รถยนต์, รถบรรทุก, รถจักรยายนต์ วิ่งเข้าออกหนาแน่น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจรเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ทั้งกับผู้ใช้รถและคนเดินเท้า รวมทั้งจัดระเบียบการใช้ถนนภายในสถานที่ ให้มีความคล่องตัวและปลอดภัยมากขึ้น โดยป้ายสัญลักษณ์จราจรที่พบได้ในโรงพยาบาลหรือโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ ป้ายหยุด, ป้ายห้ามรถยนต์, ป้ายห้ามรถบรรทุก, ป้ายห้ามจอด, ป้ายห้ามส่งเสียง, ป้ายจำกัดความเร็ว, ป้ายเตือนรถกระโดด เป็นต้น

  • ลานจอดรถ

ลานจอดรถถือเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีรถเข้าออกเป็นจำนวนมากในแต่ละชั่วโมง การถอยรถเข้า-ออกจากที่จอดรถ นอกจากจะต้องระวังรถชนกันแล้ว ยังต้องระวังรถชนคนด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจรให้ชัดเจนเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุ เช่น ป้ายบังคับเดินรถทางเดียว, ป้ายระวังคนข้ามถนน, ป้ายบังคับเลี้ยวซ้าย-ขวา, ป้ายห้ามแซง หากเป็นที่จอดเฉพาะรถยนต์ก็ควรมีป้ายห้ามรถจักรยานยนต์ติดตั้งไว้ หรือหากเป็น ที่จอดรถจักรยานยนต์ ก็ควรมีป้ายห้ามรถสามล้อและรถล้อเลื่อนลากเข็นติดตั้งไว้เพื่อป้องกันความสับสน 

  • บริเวณทางแคบ

หากในสถานประกอบการของคุณมีถนนที่แคบรถวิ่งได้ทางเดียว หรือเป็นถนนที่ใช้ได้เฉพาะรถจักรยานกับจักรยานยนต์เท่านั้น ควรติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจรให้ชัดเจน หากถนนเส้นนั้นเปิดให้รถยนต์วิ่งได้ควรมีป้ายให้เดินรถทางเดียว เพื่อป้องกันไม่ให้มีรถยนต์วิ่งสวนมาจากอีกฝั่งซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ แต่หากถนนเส้นนั้นใช้ได้เฉพาะรถจักรยาน, รถจักรยานยนต์ หรือคนเดินเท้าเท่านั้น ก็ควรติดตั้งป้ายห้ามรถยนต์, รถจักรยานยนต์ ให้ชัดเจน ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความสับสน 

  • บริเวณที่มีสิ่งกีดขวาง

หากเป็นบริเวณที่มีสิ่งกีดขวางเส้นทางเดินรถ เช่น เกาะกลางถนน, ที่กั้นแบ่งเลน, กรวยจราจร ฯลฯ หรือเป็นบริเวณที่กำลังก่อสร้าง สภาพถนนไม่เหมาะสมกับการขับขี่ และอาจทำให้ผู้ขับขี่ที่ไม่ทราบล่วงหน้าไม่ทันระวังตัวจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้นั้น ควรติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจรเพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่รถเพิ่มความระมัดระวังและชะลอความเร็วก่อนถึงจุดเสี่ยง เช่น ป้ายคนทำงาน, ป้ายเครื่องจักรทำงาน, ป้ายเตือนผิวทางขรุขระ, ป้ายระวังอันตราย เป็นต้น 

  • บริเวณแหล่งชุมชน 

สถานที่อย่างโรงเรียนและตลาดส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีคนและรถพลุกพล่าน และถือเป็นจุดเปราะบางที่มักเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรถกับรถ และรถกับคน ดังนั้น จึงควรต้องติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจรเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ทั้งกับผู้ใช้รถและคนเดินเท้า ให้การใช้รถใช้ถนนมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยป้ายส่วนใหญ่ที่เรามักคุ้นเคยกันดีในบริเวณรอบ ๆ โรงเรียนและตลาด ได้แก่ ป้ายระวังคนข้ามถนน, ป้ายห้ามจอดรถ, ป้ายห้ามจอดในช่วงเวลาที่กำหนด, ป้ายจำกัดความเร็ว เป็นต้น

  • บริเวณทางแยก

ในพื้นที่โรงงานหรือโรงพยาบาลที่มีทางแยกลักษณะเป็นทางรองเชื่อมต่อกับทางหลัก ควรติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจรเพื่อป้องกันความสับสน โดยควรต้องมีป้ายเตือนให้หยุดก่อนถึงทางแยกเพื่อให้ผู้ขับขี่เริ่มชะลอความเร็ว และหากเป็นถนนที่เดินรถทางเดียว ควรมีป้ายห้ามเลี้ยวซ้ายหรือห้ามเลี้ยวขวาบอกให้ชัดเจน

จุดเสี่ยงบนท้องถนนที่สำคัญในประเทศไทย ที่ควรติดตั้ง “ป้ายจราจรความปลอดภัย”

  1. ป้ายหยุดรถบรรทุก (Stop Sign): ป้ายที่บังคับให้รถหยุดในทุกกรณีที่มีการติดตั้ง โดยมักจะติดที่สี่แยกระหว่างถนนหลักและสามแยกทางขนาดใหญ่ ๆ
  2. ป้ายห้ามทับตรง (No Overtaking Sign): ป้ายที่ห้ามการทับตรงหรือการแซงข้ามรถในสถานการณ์ที่อันตราย
  3. ป้ายห้ามที่อาจมีการเข้ามีได้ในทุกทาง (No Entry Sign): ป้ายที่ห้ามการเข้ามีได้ บางครั้งมีที่ทางเข้าหรือทางออกจากทางหลัก
  4. ป้ายห้ามเลี้ยวซ้ายหรือขวา (No Left Turn/No Right Turn Sign): ป้ายที่ห้ามการเลี้ยวซ้ายหรือขวาตามที่ระบุ
  5. ป้ายโปร่งแสงสัญญาณไฟจราจร (Traffic Signal Ahead Sign): เตือนถึงการมีสัญญาณไฟจราจรในระยะทางที่กำหนด
  6. ป้ายเส้นแบ่งทาง (Divided Roadway Sign): เตือนถึงการมีทางที่แบ่งกั้นระหว่างทางจราจร
  7. ป้ายสัญญาณจราจร (Traffic Signal Ahead Sign): เตือนถึงการมีสัญญาณจราจรที่จะติดตั้ง
  8. ป้ายทางเข้าทางออกมีเตาอัญมณี (Toll Plaza Sign): เตือนถึงการมีทางเข้าทางออกที่มีการเก็บค่าผ่านทาง

            ทั้งหมดนี้คือข้อควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้งป้าย เครื่องหมายจราจร และสถานที่เสี่ยงที่ควรติดตั้งที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ ขอเพียงแค่ติดตั้งป้ายให้สื่อความหมายถูกต้องตามความเป็นจริงและถูกข้อกำหนดของกรมทางหลวง จะเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ และเพิ่มความคล่องตัวในการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากที่สุด และสำหรับใครที่ต้องการคำปรึกษาหรือมองหาอุปกรณ์เกี่ยวกับการจราจรที่ได้มาตรฐานและคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็น ป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ , อุปกรณ์เตือนภัย, โคมไฟส่องสว่าง, อุปกรณ์ดับเพลิง

           รวมทั้งป้ายจราจรสำหรับติดตั้งในบริเวณอาคารสำนักงานประเภทต่าง ๆ เพื่อมาใช้ติดตั้งในสถานประกอบการของท่าน ก็สามารถเข้าไปเลือกดูกันได้ที่ https://trafficthai.com/ มีทุกอย่างครบจบในที่เดียว ประหยัดเวลาและสะดวกในการเลือกซื้อ พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและดูหน้างาน ที่สำคัญคืออุปกรณ์ทุกชิ้นได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของกรมทางหลวง

[/col_inner_3] [/row_inner_3]