ป้ายความปลอดภัย ป้ายเซฟตี้ safety sign เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
ป้ายความปลอดภัย หรือ ป้าย safety first เป็นป้ายที่จำเป็นต้องมีในโรงงาน เพื่อเตือนและย้ำระวังถึงความปลอดภัยภายในพื้นที่การทำงานที่มีความเสี่ยง ป้ายเซฟตี้มีหลายชนิด เช่น ป้ายเครื่องหมายห้าม ป้ายเครื่องหมายบังคับ ป้ายเครื่องหมายเตือน เป็นต้น แต่ละป้ายปลอดภัยก็จะมีสีและสัญลักษณ์แตกต่างกันออกไป ในบทความนี้บริษัท สมาร์ท เบสท์บายส์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายป้ายความปลอดภัย ป้ายเซฟตี้ รวมถึงถังดับเพลิงประเภทต่างๆ จะนำคุณไปทำความรู้จักกับป้ายปลอดภัยไว้ก่อนแต่ละชนิด ว่ามีความหมายอย่างไรบ้าง
- ป้ายเพิ่มความปลอดภัย
เป็นป้ายความปลอดภัย Landscape Sign แนวนอน มขนาด 15 x 40 เซนติเมตร - ป้ายเครื่องหมายสภาวะปลอดภัยในการทำงาน
เป็นเครื่องหมายแสดงสภาวะปลอดภัยในการทำงาน เครื่องหมายวสารนิเทศเกี่ยวกับสภาวะปลอดภัย - ป้ายเครื่องหมายบังคับ
แสดงข้อความบัคบให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานปฏิบัติ ทำตามข้อบังคับที่ระบุไว้ในป้ายเครื่องหมายบังคับ - ป้ายเครื่องหมายห้าม
ป้ายห้ามกระทำตามป้ายสัญลักษณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมีระเบียบ - ป้ายเครื่องหมายเตือน
ป้ายเตือนเพื่อความปลอดภัย เช่น ป้ายระวงลื่น ป้ายระวังวัสดุไวไฟ - ป้ายเครื่องหมายผสม
ป้ายเครื่องหมายผสม Multiple Signs รวมเครื่องหมายประเภทต่างๆ - ป้ายจุดรวมพล
ป้ายเพื่อแสดงจุดรวมพล นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือตามสถานที่ต่างๆ
ความหมายของสีและป้ายความปลอดภัยแต่ละประเภท
สีเพื่อความปลอดภัย
ความหมาย
ตัวอย่างป้ายความปลอดภัย
ตัวอย่างการใช้งาน
สีแดง
หยุด
ป้ายเครื่องหมายห้าม
เครื่องหมายหยุดเครื่องหมายห้าม
สีน้ำเงิน
บังคับให้ปฏิบัติ
ป้ายเครื่องหมายบังคับ
เครื่องหมายบังคับบังคับให้สวมหมวกนิรภัย
สีเขียว
แสดงสภาวะความปลอดภัย
ป้ายเครื่องหมายแสดงสภาวะความปลอดภัย
หน่วยกู้ภัยทางออกฉุกเฉิน
สีเหลือง
ระวังมีอันตราย
ป้ายเครื่องหมายเตือน
ป้ายระวังลื่นป้ายระวังสารไวไฟ
ความหมายของเครื่องหมายบนป้ายความปลอดภัยแต่ละชนิด
ประเภท
รูปแบบ
สีที่ใช้
สีตัด
เครื่องหมายห้าม
สีพื้น: สีขาว
สีแถบขอบวงกลมและแถบขวาง: สีแดง
สีขาว
เครื่องหมายบังคับ
สีพื้น: สีฟ้า
สีสัญลักษณ์ภาพ: สีขาว
สีขาว
เครื่องหมายแสดงสภาวะความปลอดภัย
สีพื้น: สีเขียว
สีสัญลักษณ์ภาพ: สีขาว
สีขาว
เครื่องหมายเตือน
สีพื้น: สีเหลือง
สีสัญลักษณ์ภาพ: สีดำ
สีดำ
เครื่องหมายเสริมมีรูปแบบอย่างไร
เครื่องหมายเสริมในป้ายความปลอดภัยคือ ส่วนของข้อความที่ใช้สำหรับอธิบายสัญลักษณ์บนป้ายความปลอดภัยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของป้ายมากขึ้น รูปแบบของเครื่องหมายเสริม จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยจะใช้สีเดียวกับความหายความปลอดภัยนั้นๆ สีของข้อความในเครื่องหมายเสริมจะใช้ตามสีตัดของเครื่องหมายดังกล่าว เช่น ป้ายเครื่องหมายห้าม มีสีตัดคือสีขาว ให้ใช้ตัวอักษรสีขาวในเครื่องหมายเสริม ส่วนป้ายเครื่องหมายเตือน มีสีตัดคือสีดำ ให้ใช้ตัวอักษรสีดำในเครื่องหมายเสริม
ความหมายของป้ายความปลอดภัยแต่ละชนิด
ป้ายห้าม PROHIBITION SIGNS
ป้ายเครื่องหมายห้าม เป็นป้ายที่ห้ามกระทำตามสัญลักษณ์เพื่อมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีความปลอดภัย เช่น ป้ายห้ามเข้า ป้ายห้ามจุดไฟ ป้ายเครื่องหมายห้ามอ้างอิง มอก. 635-2554 ขนาด 20 x 30 , 30 x 45 เซนติเมตร
ป้ายบังคับ MANDATORY SIGNS
ป้ายเครื่องหมายบังคับ เป็นป้ายแสดงข้อความบังคับให้เจ้าหน้าที่ หรือพนักงานที่ปฏิบัติงานในที่ทำงาน ให้ปฏิบัติตามข้อความในป้ายบังคับความปลอดภัยนั้นๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่บุคคล ป้ายเครื่องหมายบังคับอ้างอิง มอก. 635-2554 ขนาด 20 x 30 , 30 x 45 เซนติเมตร
ป้ายเตือน WARNING SIGNS
ป้ายเครื่องหมายเตือน เป็นป้ายแสดงข้อความเตือนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ หรือพนักงานปฏิบัติ ให้ปฏิบัติตามข้อความเตือนบนป้ายนั้นๆ ให้ระมัดระวังหรือเตือนไม่ให้เข้าใกล้ ป้ายเครื่องหมายเตือนอ้างอิง มอก. 635-2554 ขนาด 20 x 30 , 30 x 45 เซนติเมตร
ป้ายแสดงสภาวะความปลอดภัย SAFETY CONDITION SIGNS
ป้ายแสดงความปลอดภัย คือป้ายแสดงถึงความปลอดภัยในสถานที่นั้นๆ เช่น ป้ายทางออก ป้ายห้องปฐมพยาบาล ป้ายทางหนีไฟ ป้ายเครื่องหมายแสดงสภาวะความปลอดภัยอ้างอิง มอก. 635-2554 ขนาด 20 x 30 , 30 x 45 เซนติเมตร
ป้ายเครื่องหมายอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย FIRE EQUIPMENT SIGN
ป้ายเครื่องหมายอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย คือป้ายแสดงถึงอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัยในสถานที่นั้นๆ เช่น แสดงถึงถังดับเพลิงในอาคาร หรือป้ายห้ามใช้ลิฟท์ขณะเกิดเพลิงไหม้ ป้ายเครื่องหมายอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัยปลอดภัยอ้างอิง มอก. 635-2554 ขนาด 20 x 30 , 30 x 45 เซนติเมตร
ป้ายจุดรวมพล ASSEMBLY SIGN
ป้ายจุดรวมพล คือป้ายใช้แสดงจุดที่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานปฏิบัติจะมารวมพลกันที่สถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีไฟไหม้ กรณีไฟฟ้าลัดวงจร กรณีสารเคมีรั่วไหล หรือไว้ใช้เป็นจุดรวมตัว ป้ายจุดรวมพลปลอดภัยมีหลายขนาด
ป้ายความปลอดภัยชนิดเรืองแสง LUMINOUS SIGNS
ป้ายเรืองแสงเหมาะสำหรับใช้งานในอาคาร เช่น ป้ายทางออก ทางหนีไฟ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินไฟฟ้าดับ ฟิล์มเรืองแสงของป้ายเรืองแสงจะเรืองแสงขึ้นมา ทำให้สามารถมองเห็นป้ายได้ จนกว่าฟิล์มเรืองแสงจะคายพลังงานออกหมด
ป้ายเครื่องหมายผสม Multiple Signs
ป้ายเครื่องหมายผสม เป็นป้ายรวมเครื่องหมายแสดงความปลอดภัยหลายประเภท เช่น ในหนึ่งป้ายเครื่องหมายผสม จะมีป้ายเครื่องหมายเตือน ป้ายเครื่องหมายบังคับ ป้ายเครื่องหมายห้ามอยู่ในแผ่นป้ายเดียวกันได้
ป้ายความปลอดภัยหรือป้ายเซฟตี้มีความสำคัญอย่างไร
ป้ายบังคับความปลอดภัยหรือป้าย safety คือป้ายที่ใช้สัญลักษณ์และข้อความเพื่อสื่อความหมายแจ้งเตือน บังคับหรือห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ พนักงานปฎิบัติ หรือบุคคลภายนอก เข้าใจว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่อัตรายห้ามเข้าใกล้ ต้องปฏิบัติตามป้ายเตือนนั้นๆ หรือเพื่อแสดงถึงพื้นที่ปลอดภัย ข้อความและสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นมาตรฐานสากลเพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าใจความหมายของป้ายความปลอดภัยตรงกันได้
ป้ายความปลอดภัยมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทก็จะติดตั้งในสถานที่แตกต่างกันไปตามการใช้งาน เช่น ป้ายความปลอดภัยในโรงงาน ป้ายเตือนในโรงงานอุตสาหกรรม ป้ายความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ป้ายเตือนความปลอดภัยไฟฟ้า หรือหากใช้ในอาคารทั่วไป หรือตามโรงเรียน ก็อาจจะใช้ป้ายทางหนีไฟหรือป้ายความปลอดภัยในโรงเรียนได้ได้ สามารถพบป้ายความปลอดภัยได้ตามสถานที่ต่างๆ เช่น สถานที่ก่อสร้าง ห้างสรรพสินค้า โรงงาน และอื่นๆ
วิธีเลือกป้ายความปลอดภัยให้เหมาะกับการใช้งาน
วิธีเลือกป้ายความปลอดภัยให้เหมาะกับการใช้งาน ควรเลือกวัสดุที่ใช้ในการทำป้ายความปลอดภัยให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยพิจารณาจากรายละเอียดดังต่อไปนี้
- วัสดุแผ่นรองหลัง ควรเลือกชนิดที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น แผ่นอลูมิเนียม มีความทนมานสุง ใช้งานกลางแจ้งได้ดี แผ่นอะคริลิก มีความแข็งแรง สวนงาม ราคาสูง แต่ไม่เหมาะกับการใช้งานกลางแจ้ง
- วัสดุแผ่นปิดผิวหน้า ควรคำนึงว่าหน้างานมีแสงเพียงพอต่อการมองเห็นที่ชัดเจนหรือไม่ วัสดุที่นิยมจะมี 3 ประเภท ได้แก่
• ป้ายความปลอดภัยสะท้อนแสง มองเห็นได้ชัดเจนแม้ในกลางคืน
• ป้ายความปลอดภัยแบบเรืองแสง เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่ทางหนีไฟหหรือทางออกฉุกเฉิน เพราะป้ายเรืองแสงสามารมองเห็นได้ในที่มืด
• ป้ายความปลอดภัยแบบทึบแสง มองเห็นได้เฉพาะในเวลากลางวันที่มีแสง ไม่มีการสะท้อนแสงใดๆ - คุณภาพวัสดุผิวหน้าแผ่นป้ายความปลอดภัย
• สติ๊กเกอร์แบบ Commercial Grade มีอายุใช้งานราว 1 ปี 6 เดือน
• สติ๊กเกอร์แบบ Engineer Grade มีอายุใช้งานประมาณ 5 ปี
เครื่องหมายความปลอดภัยมักมีกี่ขนาด
ขนาดเครื่องหมายความปลอดภัย และตัวอักษรในผป้ายความปลอดภัย มีตามตารางต่อไปนี้
ความสูงพิกัดของ แผ่น เครื่องหมาย (a)
เส้นผ่านศูนย์กลาง หรือความ
สูงของ เครื่องหมาย (b)
ความสูงของตัวอักษร ใน
เครื่องหมายเสริม
75
60
5.5
100
80
6.6
150
120
10.0
225
180
15.5
300
240
20.0
600
480
40.0
750
600
50.0
900
720
60.0
1200
960
80.0