ป้าย ‘ห้ามเข้า’ หรือ ‘พื้นที่อันตราย’ มีความสำคัญอย่างไรในพื้นที่ทำงานบนที่สูง?

ป้าย ‘ห้ามเข้า’ หรือ ‘พื้นที่อันตราย’ มีความสำคัญอย่างไรในพื้นที่ทำงานบนที่สูง?

ป้ายความปลอดภัย ที่มักเจอใน “งานบนที่สูง”

ป้ายความปลอดภัย ในการทำงานบนที่สูง คือ สิ่งที่จะคอยบอกสถานะด้านต่างๆ ที่มักมาในรูปแบบป้ายเตือน เพื่อให้คนที่อยู่ใกล้บริเวณนั้นๆ ระมัดระวังมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ของป้ายความปลอดภัยมักจะเป็นสัญลักษณ์ สี และข้อความสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ที่พบเห็นป้ายสามารถเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อสารได้ทันที การมีป้ายเตือน หรือ สัญลักษณ์ความปลอดภัยตามจุดต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดอันตรายทำให้สามารถช่วยลดอุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝันลงได้

ซึ่งอันตรายจากการทำงานบนที่สูง แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ลื่น สะดุด ตกจากบันได ตกจากที่สูง การตกกระทบจากวัสดุ จึงจำเป็นต้องมีป้ายเตือน ป้ายห้าม ป้ายบังคับ และป้ายแสดงภาวะความปลอดภัย ป้ายเหล่านี้เราอาจพบเห็นได้บ่อย ในโรงงานอุตสาหกรรม ไซต์ก่อสร้าง หรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่างๆ เพื่อย้ำเตือนพนักงานลูกจ้างที่ต้องทำงานอยู่บนความเสี่ยง ทั้งไฟฟ้า เครื่องจักร สารเคมี ให้ตระหนักถึงความปลอดภัยอยู่เสมอ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายจากการทำงานบนที่สูง

  • การจัดการความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพ
  • มาตรการควบคุม ป้องกันอันตรายจากการทำงานบนที่สูง ที่ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสม
  • ข้อกำหนดและข้อบังคับในการทำงานบนที่สูง ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสม รวมทั้งขาดการควบคุม ดูแลให้ปฏิบัติตามอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การเลือกใช้เครื่องมือ วัสตุและอุปกรณ์ ในการทำงานบนที่สูง ที่ไม่เหมาะสมและไม่ได้ตามมาตรฐาน

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการตกจากที่สูง

1. สภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่ที่มีไอระเหย ของสารเคมี ฟังกระจายน้ำ น้ำมัน ฝุ่นผง หรือตินโคลน
  • การปฏิบัติงานบนที่ลาดชัน บนชอบอาคารหรือหลังบริเวณที่คับแคบ พื้นที่จำกัด หรือมีสิ่งกีดขวาง
  • การปฏิบัติงานขณะฝนตก ลมแรง แสงแดดและอุณหภูมิร้อนจัด
  • สภาพพื้นที่ที่มีอันตราย เช่น ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง หรือใกล้บริเวณพื้นที่เสี่ยง เป็นต้น
  • สภาพพื้นที่ที่ไม่มีที่ยึด คล้อง เกาะเกี่ยว
  • การปฏิบัติงานบนโครงสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
  • การปฏิบัติงานในสภาพการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของอันตรายใหม่

2. ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง

  • ไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยจากการตกจากที่สูง
  • ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง
  • ไม่มีความรู้ ขาดการฝึกอบรม และประสบการณ์ในการทำงานบนที่สูง
  • ไม่มีผู้ควบคุม ตรวจสอบ และกำกับดูแลต้านความปลอดภัย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ หรือสภาพร่างกายไม่พร้อมในการทำงานบนที่สูง

3. สาเหตุของวัสดุและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายจากการตกจากที่สูง

  • มีการออกแบบ และติดตั้งระบบป้องกันการตกจากที่สูงที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ทำงาน และการใช้งาน
  • ใช้วัสดุ และอุปกรณ์ที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ
  • ไม่มีระบบการตรวจสอบ และบำรุงรักษา

สัญลักษณ์ความปลอดภัย

ป้ายความปลอดภัย ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

  1. ป้ายห้าม (Prohibition signs) คือ ห้ามทำ พฤติกรรมที่เป็นอันตราย เพื่อความปลอดภัย เช่น ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามจุดไฟ ห้ามสวมรองเท้าแตะ เป็นต้น

2. ป้ายเตือน (Warning signs) คือ เตือนให้ระมัดระวัง เตือนถึงเขต หรือพื้นที่อันตราย เช่น ป้ายระวังอันตราย ป้ายระวังพื้นลื่น ป้ายระวังวัตถุไวไฟ เป็นต้น

3. ป้ายบังคับ (Mandatory signs) คือ บังคับให้ทำการกระทำที่เจาะจง บังคับ ให้สวมใส่ อุปกรณ์ป้องกัน เพื่อความปลอดภัย เช่น ป้ายสวมที่ครอบหู ป้ายสวมหมวกนิรภัย เป็นต้น

4.ป้ายแสดงถึงต้องระมัดระวังอย่างเต็มที่ เพราะพื้นที่ตรงนี้อาจจะมีอันตรายร้ายแรง ใช้กับอันตรายอันดับสูงสุด นอกจากอาจเกิดการบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต

5.ป้ายแสดงภาวะปลอดภัย (No danger signs) คือ ป้ายที่แสดงภาวะปลอดภัย หรือพื้นที่ที่ปลอดภัย เช่น ป้ายทางหนีไฟ ป้ายจุดปฐมพยาบาล เป็นต้น

การใช้ป้ายความปลอดภัยที่เหมาะสมและถูกต้องในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไซต์งานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงนั้น มีความสำคัญอย่างมากต่อการเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย อีกทั้งยังช่วยเตือนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับขั้นตอนและสร้างความเป็นระเบียบและด้านความปลอดภัยในการทำงานได้อีกด้วย

ดังนั้นไม่เพียงแต่จะมีการติดป้ายตามความเสี่ยงของงานในพื้นที่ต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานก็ต้องปฏิบัติตามป้ายความปลอดภัยที่กำหนดไว้ เช่น การสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ในพื้นที่ที่มีความสูงหรือเสี่ยงต่ออันตราย หรือป้ายห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปยังพื้นที่อันตราย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *