ทางด่วนเป็นถนนที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษ โดยไม่มีทางแยกหรือทางอื่นตัดผ่านในระดับเดียวกัน ทางด่วนนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด อาจมีการยกระดับถนนขึ้นสูงจากพื้นดิน ซึ่งส่วนมากจะพบทางด่วนในเขตเมืองที่มีความเจริญมากเนื่องจากมีการเติบโตทางระบบการคมนาคมที่สูงมากอย่างกรุงเทพมหานคร บ่อยครั้งที่เราอาจจะเคยได้ยินการเกิดอุบัติเหตุอันน่าเศร้าสลดใจจากการใช้รถใช้ถนนกันมาก็มาก หนึ่งในสถานที่หรือเส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง คือ ทางด่วน เพราะทางกฎหมายได้กำหนดให้สามารถใช้ความเร็วสูงได้ ทั้งนี้การใช้ทางด่วนยังมีเส้นทางที่สลับซับซ้อนจึงต้องอาศัยความชำนาญเป็นอย่างมาก หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นบนทางด่วนก็ย่อมทวีความรุนแรงได้มากกว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนเส้นทางสัญจรธรรมดา เช่น การที่รถขับมาด้วยเร็วสูงพลัดตกลงมากจากทางด่วน , รถที่ขับบนทางด่วนชนเข้ากับรถคันอื่น หรือรถที่ขับมาด้วยความเร็วพุ่งชนขอบกั้นถนน และการเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วน 1 สถานการณ์ มักไม่ได้เกิดขึ้นกับรถเพียงคันเดียว
ร้านไทยจราจร เป็นห่วงและอยากให้ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะที่จำเป็นต้องใช้ทางด่วนเป็นประจำมีความปลอดภัยในการเดินทาง จึงขอนำเสนอสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนทางด่วนให้ทุกท่านได้อ่านเป็นอุทาหรณ์ข้อเตือนใจและให้ท่านได้ระมัดระวังและสิ่งที่ได้จากบทความนี้นำไปปรับใช้กับพฤติกรรมการขับรถของท่านได้
ทำไมถึงเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วน? วันนี้ร้านไทยจราจรจะบอกคำตอบทั้ง 9 เหตุผลให้ทุกท่านได้ทราบดังนี้
1.ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วสูง
การขับขี่ยานพาหนะด้วยความเร็วสูงเป็นเรื่องที่ควรต้องทำเมื่อคุณต้องใช้ทางด่วน แต่ความเร็วนั้นต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดนั่นคือ ทางด่วนในเมืองสามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทางด่วนนอกเมืองสามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งการที่ต้องขับขี่รถยนต์ด้วยความเร็วสูงนั้น สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย
2.ไม่วางแผน ไม่ชำนาญเส้นทาง
ทางด่วนโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครนั้นมีหลายเส้นทางมาก และป้ายบอกทางบนทางด่วนนั้นมีเยอะมากและสังเกตได้ยาก หากเดินรถผิดช่องทางก็จะไม่สามารถเปลี่ยนเส้นทางได้ทันอย่างแน่นอน ทั้งยังไม่สามารถชะลอรถเพื่อสังเกตป้ายบอกทางได้ แต่หลายคนก็เลือกที่จะไม่ศึกษาเส้นทางที่จะใช้ให้ดีก่อน เมื่อไม่ชำนาญทางและเมื่อถึงเวลาขับจริงก็อาจจะเกิดปัญหาตามที่กล่าวมา ซึ่งนั่นก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะเคยเกิดกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่รู้เส้นทางและลังเลว่าจะไปช่องทางใด เลยทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนช่องทางได้ทันและพุ่งชนกับทางแยก
3.เส้นทางเบี่ยง , ทางแยกรูปตัววายบนทางด่วน , ทางยกระดับ และจุดขึ้น – ลง ทางด่วน
เป็นบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุดบนทางด่วน เนื่องจากผู้คนต้องใช้ความเร็วในการขับ จึงต้องเพ่งสมาธิไปที่การควบคุมรถ จึงไม่ได้ระมัดระวังในจุดต่าง ๆ ดังกล่าว นอกจากนี้ยังเกิดจากการไม่ชำนาญทางของผู้ใช้ทางด่วนตามที่กล่าวมาข้างต้นได้อีกด้วย
4.เปลี่ยนช่องทางการเดินรถกะทันหัน
การเปลี่ยนช่องทางการเดินรถกะทันหัน ไม่ว่าจะเป็นถนนธรรมดาหรือทางด่วนก็ย่อมก่อให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจากไม่ได้ให้สัญญาณและให้ระยะที่พอเหมาะแก่การเตรียมตัวชะลอความเร็วของรถคันที่อยู่ด้านหลังซึ่งก็ขับมาด้วยความเร็วสูงเช่นกัน การเปลี่ยนช่องการเดินรถแบบกะทันหันบนทางด่วนจึงเปลี่ยนเรื่องร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้ใช้รถคันอื่นเป็นอย่างยิ่ง
5.ไม่ปฏิบัติตามป้ายบอกทางและป้ายจำกัดความเร็ว
ป้ายบอกทางและป้ายจำกัดความเร็วเป็นสิ่งที่ห้ามละเลยและต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดที่สุด เพราะป้ายเหล่านี้ทำมาเพื่อจำกัดความเร็วของรถทุกคันในอยู่ในช่วงความเร็วที่ปลอดภัย อุบัติเหตุบนทางด่วนก็ล้วนมาจากการไม่ขับขี่ตามความเร็วที่ทางการกำหนดไว้ และการสังเกตป้ายบอกทางควรทำอย่างรวดเร็วและแม่นยำที่สุด เพราะถ้าหากเกิดความผิดพลาดจะไม่สามารถย้อนกลับไปยังเส้นทางเดิมได้อีก รถบางคันที่มัวแต่สังเกตป้ายก็อาจะทำให้รถพุ่งชนเข้ากับทางแยกตัววาย หรืออาจถูกรถคันอื่นพุ่งชนได้
6.ชะลอหรือหยุดรถในระยะกระชั้นชิด
กรณีนี้ให้ผลเหมือนกับการเปลี่ยนช่องทางการเดินรถ คือการที่รถบนทางด่วนทุกคันวิ่งมาด้วยความเร็วสูงแล้วไม่ได้รับสัญญาณเตือนให้ระวังจากรถคันด้านหน้าที่กำลังจะหยุดรถ ทำให้เสียหลักพุ่งเข้าชนคันด้านหน้า และอุบัติเหตุนี้มักเกิดในลักษณะที่รถพุ่งชนท้ายคันหน้าต่อ ๆ กันไป หรือการหักหลบจนทำให้พุ่งข้ามเลนไปชนกับรถคันอื่นที่ไม่รู้เรื่องด้วย ดังนั้นถ้าหากคิดจะชะลอรถต้องให้สัญญาณไฟล่วงหน้าในระยะไม่ต่ำกว่า 60 เมตร เพื่อให้รถคันอื่นทราบด้วย
7.จอดหรือหยุดรถในจุดที่ไม่ใช่จุดพักรถ
รถบนทางด่วนทุกคันล้วนขับมาด้วยความเร็วสูง ดังนั้นการที่ใครสักคนคิดจะจอดรถบนทางด่วนที่ไม่ใช่จุดพักรถ จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เพราะอาจเป็นเป้าให้รถคันอื่นเฉี่ยวชนได้
8.เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินไม่เปิดไฟฉุกเฉินและนำวัสดุสะท้อนแสงตั้งไว้หลังรถ
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินบนทางด่วนสิ่งที่ควรทำคือ การเปิดไฟฉุกเฉินและนำป้ายสามเหลี่ยมสะท้อนแสง รวมถึง กรวยจราจร ตั้งไว้หลังรถห่างจากจุดจอดในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร เพื่อให้รถที่ขับตามมาได้ระมัดระวังและเบี่ยงหลบทัน แต่ผู้คนส่วนมากมักไม่พกอุปกรณ์เหล่านี้เอาไว้ใช้ยามจำเป็น จึงก่อให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งเวลาจอดรถบนทางด่วน
9.ใช้เครื่องมือสื่อสารขณะขับรถ
ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางแบบไหนก็ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เราเสียสมาธิในการขับขี่ อุบัติเหตุจากกรณีการเล่นมือถือขณะขับรถก็สามารถพบเห็นในข่าวได้บ่อยครั้ง เพราะฉะนั้นขอให้ทุกคนอดใจรอให้ถึงที่หมายก่อนแล้วค่อยพูดคุยหรือเช็คข่าวสารต่าง ๆ มิฉะนั้นอาจจะได้เป็นข่าวเสียเอง
ร้านไทยจราจรขอให้ทุกท่านที่เดินทางด้วยทางด่วนสัญจรไปมาได้โดยสวัสดิภาพด้วยความมีสติและไม่ประมาท หากท่านใดต้องการอุปกรณ์ต่าง ๆ ติดรถไว้ใช้ยามฉุกเฉิน สามารถปรึกษาเราได้ที่ www.trafficthai.com
Block "content-bottom" not found
Block "catalog-trafficfence" not found