10 วิธีทำอย่างไร เมื่อเจอคนถูกไฟฟ้าซ๊อต!!

               เคยหรือไม่ที่เราเห็นคนที่ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแล้วเราอยากเข้าไปช่วย แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะกลัวจะได้รับอันตรายไปด้วย และคงมีบ่อยครั้งที่คุณได้ดูจากละครหรือมีใครบอกให้เราถีบผู้ถูกไฟดูดให้หลุดจากบริเวณนั้นทันที โดยเขาบอกเราด้วยว่ามันเป็นวิธีซึ่งทำได้เร็วและง่ายที่สุดแล้ว เคยสงสัยหรือไม่ว่าวิธีนี้ถูกต้องหรือเปล่า และเราจะไม่เป็นอันตรายไปด้วยจริงหรือไม่ หากเรื่องนี้คือความสงสัยของคุณ วันนี้ ร้านไทยจราจร ผู้จำหน่าย อุปกรณ์จราจร และอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยทุกประเภท มีคำตอบมาให้ทุกคนหายสงสัยและช่วยเหลือคนใกล้ชิดหรือเพื่อนร่วมทางได้อย่างถูกต้อง
            1. กรณีเหตุเกิดในบ้าน หากเราอยู่ใกล้กับสะพานไฟหรือจุดควบคุมไฟ ให้รีบทำการตัดไฟก่อนเป็นอันดับแรก การรีบวิ่งไปยังผู้ที่ได้รับอันตราย อาจเป็นเรื่องที่ช้าเกินไป
           2. แต่หากคุณอยู่ใกล้กับคนที่ถูกไฟดูดมากกว่า ให้หาอุปกรณ์ที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้ามาพันมือและดึงคนที่ได้รับอันตรายออกมา อย่าใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสัมผัสโดยตรง เพราะคุณจะถูกไฟดูดไปด้วย ฉะนั้นการถีบผู้ถูกไฟดูดโดยตรง จึงเป็นเรื่องไม่ควรทำอย่างไม่ต้องสงสัย ดึงคนที่ได้รับอันตรายออกมาแล้ว จึงทำตามวิธีแรกคือทำการตัดไฟ
           3. หากพบจุดต้นทางของไฟรั่ว เช่นสายไฟให้รีบใช้ไม้หรือสิ่งที่ไม่ใช่อุปกรณ์นำไฟฟ้าในการเขี่ยสายไฟนั้นให้ออกไปจากผู้ที่กำลังประสบภัย อย่าใช้โลหะเป็นอันขาด เพราะคุณจะได้รับอันตรายไปด้วย
          4. กรณีพบเห็นเหตุการณ์ระหว่างการเดินทาง หากเป็นผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง หรือสงสัยว่าเป็นไฟฟ้าแรงสูงเพราะเห็นสายไฟแรงสูงพาดผ่านบริเวณนั้น สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือโทรศัพท์ไปที่สายด่วนการไฟฟ้า 1130 เพื่อทำการตัดไฟบริเวณนั้น ก่อนให้การช่วยเหลือตามวิธีที่เหมาะสมต่อไป
            5. หลังดำเนินการตัดไฟแล้ว หากพบว่าผู้ประสบอันตรายมีบาดแผลตามร่างกาย เช่นมีรอยไหม้ตามจุดต่าง ๆ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลซึ่งใกล้ที่สุดโดยเร็ว
            6. หากพบเห็นเหตุเกิดขึ้นในจุดที่มีน้ำขัง สิ่งแรกที่เราทำได้คือตั้งสติให้มั่นคง เตือนตัวเองว่าอย่าเพิ่งลงไปช่วยในทันที เพราะนอกจากจะช่วยไม่ได้แล้ว คุณจะเป็นอีกคนที่ได้รับอันตรายไปด้วย จากนั้นโทรหาสายด่วนตามข้อสี่ เมื่อทำการตัดไฟแล้วจึงเข้าช่วยตามวิธีที่เห็นสมควร ความเป็นไปได้ที่สุดคือการรีบนำส่งโรงพยาบาลซึ่งใกล้ที่สุด เพราะผู้ประสบอันตรายประเภทนี้มักเป็นผู้ซึ่งถูกไฟดูดมาเป็นเวลานาน เนื่องจากเมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านน้ำ อันตรายจะขยายวงกว้าง ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะพาตัวเองออกไปให้พ้นจากบริเวณนั้นได้
           7. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ถูกไฟฟ้าช็อต ควรทำอย่างระมัดระวัง เริ่มจากการใช้ผ้าแห้งห่อหุ้มบริเวณที่มีแผลซึ่งจะช่วยทำให้บาดแผลนั้นไม่ได้รับการสัมผัสเพิ่มเติม ลดความเสี่ยงจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อในส่วนนั้นได้ จากนั้นจึงนำส่งโรงพยาบาลต่อไป
           8. กรณีได้รับอันตรายจนถึงขั้นหัวใจหยุดเต้น หรือหมดสติ ควรดำเนินการปั๊มหัวใจอย่างถูกวิธีในเบื้องต้น ก่อนนำส่งโรงพยาบาล
           9. หากคุณผ่านไปพบเห็นผู้ได้รับอันตราย แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรทำอย่างไร หรือลังเลว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี การโทรศัพท์ไปที่สายด่วนช่วยชีวิต 1669 เป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะเมื่อรู้พิกัดของเหตุการณ์แล้ว เจ้าหน้าที่จะมาถึงจุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง มั่นใจได้เลยว่าผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยในเบื้องต้นก่อนถึงมือแพทย์แน่นอน
             10. สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจราจร หากพบว่าบริเวณใดมีอันตรายจากไฟรั่ว แม้ว่าดำเนินการตัดไฟแล้ว แต่ก็ควรกั้นเขตไว้ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไป เพราะอาจเกิดอันตรายเพิ่มเติมขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่ง ร้านไทยจราจร ของเรามี เทปกั้นเขต หรือ ยูโรเทป ที่ได้มาตรฐานให้คุณเลือกถึงสองขนาด (ขนาด 50 และ 70 มิลลิเมตร) โดยแต่ละขนาดมีให้เลือกสองสีคือสีเหลืองดำ และสีขาวแดง รับรองว่ากั้นเขตแล้วผู้ที่ผ่านไปมาจะมองเห็นได้ชัด ไม่มีใครได้รับอันตรายเพิ่มเติมแน่นอน
             หลังจากได้รับรู้วิธีที่ถูกต้องแล้ว นับจากนี้ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพบผู้ที่ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้า คุณจะเข้าช่วยเหลือได้อย่างมีสติ และด้วยวิธีที่เหมาะสม ลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ประสบภัย บุคคลใกล้ตัว หรือแม้แต่ตัวคุณเองที่อาจได้รับอันตรายจากการช่วยเหลืออย่างไม่ถูกวิธี

Block "content-bottom" not found