7 วิธีบริหารอาคารอย่างไร ให้มีความปลอดภัยมากที่สุด

          การบริหารความปลอดภัยภายในอาคารนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าของอาคารทุก ๆ แห่งควรให้ความสำคัญ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยทุก ๆ คน ทั้งต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน ซึ่งอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นภายในอาคารนั้นมีหลากหลายที่มาและสาเหตุไม่ว่าจะเป็นจากเพลิงไหม้ ไฟฟ้าลัดวงจร โอกาสการตกจากที่สูง และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำให้หายไปหรือลดลงได้ด้วยการบริหารจัดการที่ดี ซึ่ง ร้านไทยจราจร มีวิธีที่จะขอนำเสนอเพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุตามรายละเอียดต่อไปนี้
          1. การกำหนดทางออกฉุกเฉิน เนื่องจากเหตุฉุกเฉินอย่างเพลิงไหม้นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ซึ่งเมื่อเหตุการณ์ฉุกเฉินในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นมาจริง ๆ ก็มักก่อให้เกิดความวุ่นวายจากอาการตื่นตระหนกของผู้ที่อยู่ภายในอาคารได้ ยิ่งมีผู้อยู่ภายในอาคารเป็นจำนวนมาก ๆ อาการตื่นตระหนกย่อมทำให้พวกเขาเหล่านั้นไม่สามารถหาทางออกจากอาคารได้ง่าย ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ง่าย ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดทางออกฉุกเฉินเอาไว้ให้ชัดเจน และมีปริมาณเพียงพอกับผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร โดยหากอาคารมีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 50 คน จะต้องมีทางออกฉุกเฉินไม่น้อยกว่า 2 ทาง และมีการติดตั้ง ป้ายทางออกฉุกเฉิน ที่สว่างตลอดเวลาแม้ไฟฟ้าจะดับเพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในอาคารสามารถมองเห็นได้ และหาทางออกได้สำเร็จในสถานการณ์ฉุกเฉิน
           2. การติดตั้งสายดิน ไฟฟ้าถือเป็นองค์ประกอบที่อาคารทุก ๆ แห่งจำเป็นต้องนำมาใช้งาน แต่การใช้งานกระแสไฟฟ้าก็จำเป็นต้องมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร หรือกระแสไฟฟ้ารั่วไหลมาทำอันตรายต่อผู้ที่อยู่ภายในอาคารได้ รวมถึงการติดตั้งสายดิน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกมาจากวงจร อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร และกระแสไฟฟ้ารั่วไหล เป็นการเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่อยู่ในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ
          3. การติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อน ปัจจัยที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้นั้นก็คือความร้อน อากาศ และเชื้อเพลิง ดังนั้นการเกิดความร้อนสะสมภายในอาคารเป็นระยะเวลานานมาก ๆ ย่อมส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจึงเป็นวิธีการบริหารอาคารให้เกิดความปลอดภัยจากความร้อนได้เป็นอย่างดี โดยควรพิจารณาการใช้ฉนวนกันความร้อนที่เพดานและผนังของอาคารตามความเหมาะสมและจำเป็น และฉนวนควรมีลักษณะทนไฟเพื่อลดความเสียหายต่อโครงสร้างอาคารในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ขึ้น
          4. การติดตั้งระบบแสงสว่างฉุกเฉิน อันตรายหนึ่งที่มักเกิดกับผู้อยู่อาศัยนั้นก็เนื่องมาจากการมองไม่เห็นสภาพรอบข้างเมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ หรือเกิดเพลิงไหม้จนกระแสไฟฟ้าไม่สามารถทำงานได้ ยิ่งหากเหตุฉุกเฉินเหล่านี้เกิดในเวลากลางคืน หรือลักษณะของอาคารมีลักษณะปิดทึบไม่ได้รับแสงสว่างจากภายนอกก็ยิ่งทำให้ง่ายที่จะเกิดอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยในอาคารมากยิ่งขึ้น การติดตั้ง ไฟฉุกเฉิน จึงนับว่าเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะบริเวณทางออก หรือบันไดขึ้นลงอาคาร ก็ยิ่งเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี
          5. การติดตั้งอุปกรณ์ระงับเหตุเพลิงไหม้ เหตุเพลิงไหม้หลายครั้งสามารถพบเห็นได้ก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งหากอาคารมีการติดตั้งอุปกรณ์ระงับเหตุฉุกเฉินเอาไว้ก็ย่อมลดอันตรายที่มาจากเพลิงไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างการติดตั้งระบบหัวจ่ายน้ำอัตโนมัติที่ทำงานทันทีที่เกิดควัน หรือความร้อนที่ผิดปกติขึ้นภายในอาคาร หรือถังดับเพลิงสำหรับระงับเหตุจากผู้เห็นเหตุการณ์ ซึ่งควรมีการนำ ป้ายตั้งถังดับเพลิง มาใช้งานด้วยเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในอาคารสามารถมองเห็นตำแหน่งที่ตั้งถังดับเพลิงได้ชัดเจน
          6. การติดตั้งระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เพราะอากาศถือเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยโดยตรง เพราะการที่อากาศไม่ไหลเวียนอาจทำให้เกิดภาวะอับอากาศ จนผู้ที่อยู่อาศัยภายในอาคารไม่มีอากาศหายใจจนรู้สึกอึดอัดหรือเสียชีวิตได้ ภายในอาคารจึงควรมีการติดตั้งระบบระบายอากาศที่เพียงพอ ทั้งโดยการติดตั้งหน้าต่างเพื่อการระบายอากาศตามธรรมชาติ หรือใช้เครื่องมืออย่างพัดลม หรือ Air flow มาช่วยให้การไหลเวียนของอากาศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
           7. การติดตั้งระบบเตือนภัย กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ที่อยู่อาศัยภายในอาคารนั้น สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ควรทำอย่างเร่งด่วนนั้นก็คือการแจ้งเตือนภัยที่อยู่อาศัยภายในอาคารทราบ เพื่อทำการอพยพออกจากพื้นที่ได้ทันท่วงที หรือเข้าระงับเหตุได้ทันก่อนจะลุกลามใหญ่โต ระบบเตือนภัยอย่างสัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติที่ทำงานทันทีที่ตรวจจับพบความร้อน หรือปริมาณควันผิดปกติ รวมถึง ไซเรนมือหมุน ที่สามารถพบพกไปยังจุดที่ต้องการแจ้งเตือนภัยได้ ก็จะช่วยลดความสูญเสียที่เกิดจากเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

การดำเนินการเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่อยู่ภายในอาคารนั้นถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมาก ถือเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดให้เจ้าของอาคารต้องปฏิบัติตามกฎหมายการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ที่อยู่ภายในอาคาร และลดอัตราการสูญเสียหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมาจริง ๆ แต่ ร้านไทยจราจร ขอแนะนำว่าควรเลือกใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยกับร้านที่ได้มาตรฐาน พร้อมอำนวยความสะดวกในการให้บริการหลังการขายอยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นจะยังคงใช้งานได้ดีตลอดอายุการใช้งาน

Block "content-bottom" not found