การใช้จักรยานเป็นที่นิยมกันมากในหลายประเทศทั่วโลก เพราะนอกจากการขี่จักรยานจะเป็นการออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นการประหยัดพลังงาน และไม่สร้างมลภาวะอีกด้วย ถึงกระนั้นปัญหาใหญ่ของลานจอดหรืออาคารจอดรถทั่วประเทศไทยก็คือการจัดที่จอดรถจักรยานให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดระเบียบที่จอดรถจักรยาน และนี่คือ 8 มาตรฐานการทำที่จอดรถจักรยาน ให้จัดระเบียบง่าย ที่ร้านไทยจราจรจะขอนำมาเสนอในวันนี้
1. ควรจัดไว้เป็นสถานที่แยกต่างหากจากรถยนต์
เพื่อความเป็นระเบียบของลานจอด ที่จอดรถจักรยานไม่ควรปะปนกับรถยนต์ แต่ควรกันพื้นที่แยกต่างหาก เช่น ลานจอดมุมใดมุมหนึ่ง หรือรอบลานจอดทั้งหมด ในลักษณะที่รถยนต์จอดด้านในลานจอดส่วนรถจักรยานจอดริมฟุตบาทติดกำแพงหรือรั้วรอบลานจอด
2. ระยะห่างจากที่จอดสู่ประตูทางเข้า
รศ.ดร. วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้กล่าวไว้ในบทความการจัดการที่จอดรถจักรยาน (Management of bicycle parking) ว่าที่จอดรถจักรยานควรอยู่ใกล้ทางเข้าอาคาร สำหรับผู้ที่เข้าไปทำธุระไม่นานเกิน 2 ชั่วโมงควรจอดห่างจากประตูไม่เกิน 15 เมตร ผู้ที่ใช้เวลานานกว่านั้นควรจอดไม่ไกลจากประตูเกิน 225 เมตร เพื่อความสะดวกในการใช้สอยและเพื่อความปลอดภัย
ดังนั้นในทำที่จอดรถจักรยานให้จัดระเบียบง่าย ควรแยกที่จอดไว้ 2 ประเภท คือ 1. ที่จอดสำหรับผู้จอดไม่นานเกิน 2 ชม. และ 2. นานเกิน 2 ชม. เพราะช่องจอดประเภทแรก ผู้จอดจะเปลี่ยนหน้าเข้า-ออกบ่อยกว่านั่นเอง
3. ควรมีกล้องวงจรปิด
กล้องวงจรปิดไม่ได้มีไว้เพื่อความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังมีไว้เพื่อการจัดระเบียบลานจอดอีกด้วย เพราะที่จอดรถจักรยานควรมีไว้เพื่อจักรยานเท่านั้น หากมองเห็นในกล้องวงจรปิดว่ามีการนำที่จอดรถจักรยานไปใช้ผิดประเภท เช่น ใช้จอดรถจักรยานยนต์ รปภ. ก็จะแจ้งเจ้าของรถให้เคลื่อนย้ายออกไปได้อย่างทันท่วงที
4. มีทางสัญจรของจักรยานต่างหาก
การจัดระเบียบลานจอดที่ได้มาตรฐานควรมีทางสัญจรสำหรับจักรยานแยกต่างหากจากรถยนต์ ระหว่างทางสัญจรจักรยานกับรถยนต์จะต้องมีเสาแบ่งเลนจักรยาน เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าพื้นที่นี้เป็นเลนสำหรับจักรยานและป้องกันไม่ให้รถยนต์เข้ามาในบริเวณนี้ด้วย เสาแบ่งเลนจักรยานของเราเป็นเสาล้มลุก ไม่ก่อความเสียหายให้รถยนต์ที่ขับทับ ที่สำคัญคือแข็งแรงไม่แตกหักง่าย ในทางสัญจรจักรยานควรจะต้องมีการทางสีหรือติดยูโรเทปเพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นเลนของจักรยาน รวมถึงติดป้ายจราจรรูปจักรยานด้วย
5. ที่จอดรถจักรยาน
บริเวณที่เป็นช่องรถจักรยานจะต้องมีที่จอดรถจักรยานลักษณะเป็นโลหะที่สามารถนำจักรยานเข้าจอดและล็อกกุญแจคล้องกับล้อได้ ทางลานจอดสามารถจัดระเบียบที่จอดรถจักรยานได้โดยเลือกใช้ที่จอดรถจักรยานแบบตั้งพื้นกรณีเป็นลานจอดกลางแจ้ง หรือที่จอดรถจักรยานแบบติดกำแพงกรณีเป็นอาคารจอดรถในร่มได้ โดยคุณอาจเลือกแบบ 5, 7 และ 10 ช่องจอดให้เหมาะสมกับลานหรืออาคารจอดรถของคุณ สำหรับมาตรฐานที่จอดรถจักรยาน (แร็ค) ควรมีความสูงจากพื้นอย่างน้อย 27 ซม. ขึ้นไป พื้นที่สำหรับการจอดรถจักรยานแต่ละคัน ควรมีขนาดประมาณ 0.60 x 1.80 เมตร
6. ทางม้าลายในลานจอดควรมีทางสัญจรจักรยาน
เนื่องจากทางม้าลายเป็นทางเดินคนข้ามเท่านั้น รถจักรยานไม่ควรใช้ทางม้าลายร่วมกับคนเดินเท้า เพื่อความเป็นระเบียบและเพื่อความปลอดภัยในการข้ามถนนทั้งของคนเดินและของผู้ขับขี่จักรยาน ควรทำทางสัญจรจักรยานขนานกับทางม้าลาย เพื่อที่ผู้ขี่จักรยานจะได้ขี่จักรยานข้ามถนนได้เมื่อสัญญาณข้ามแจ้งเตือนขึ้น ทั้งนี้คุณอาจใช้สัญญาณไฟจราจรรูปคนข้ามและคนหยุดเดิน บริเวณทางม้าลายและทางข้ามสำหรับจักยานได้
7. ตู้เก็บเงินอัตโนมัติ
สำหรับลานจอดรถที่เก็บค่าเช่า หากเก็บเฉพาะรถยนต์ไม่เก็บจักรยานก็ดูจะสองมาตรฐานมากเกินไป แต่ถ้าให้จักรยานรับ-คืนบัตรที่ป้อมยามร่วมกับรถยนต์ก็จะทำให้ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยได้ ดังนั้นคุณอาจแก้ปัญหาด้วยการกั้นลานจอดสำหรับจักรยานต่างหากแล้วตั้งตู้เก็บเงินอัตโนมัติ เมื่อแตะบัตร (สมาร์ทการ์ดเติมเงิน) หรือหยอดเงินสด ไม้กระดกจะเปิดออกให้รถจักรยานเข้าไปจอดในพื้นที่ภายในได้ ในกรณีที่คุณไม่สะดวกซื้อตู้เก็บเงินอัตโนมัติ ร้านไทยจราจรมีไม้กระดกแบบแตะบัตรสมาร์ทการ์ดจำหน่าย คุณสามารถให้ผู้ขับขี่จักรยานซื้อบัตรสมาร์ทการ์ดโดยเก็บเงินเป็นรายเดือนก็ได้
8. ตู้จอดรถจักรยานอัจฉริยะ
ตู้จอดรถจักรยานอัจฉริยะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ใช้ในบางพื้นที่ของญี่ปุ่น เหมาะกับสถานที่แคบ แต่ต้องการที่จอดรถจักรยานจำนวนมาก ตู้ดังกล่าวมีลักษณะเป็นตู้กระจกทรงกระบอกฐานมีเส้นรอบวงเพียง 4-5 เมตร สูงจากพื้นขึ้นไปเท่ากับตึก 2 ชั้นหรือ 3 ชั้นแล้วแต่ความต้องการที่จอด วิธีจอดคือเกี่ยวจักรยานกับคันเกี่ยวแล้วกดปุ่ม คันเกี่ยวจะเลื่อนขึ้น นำจักรยานไปเก็บไว้ข้างบน เวลารับจักรยานคืนต้องหยอดเหรียญจ่ายค่าจอดแล้วกดเลขคันเกี่ยว คันเกี่ยวจะหมุนลงมา นำจักรยานที่เก็บไว้ด้านบนลงมายังพื้นด้านล่าง ตู้เดียวสามารถเก็บจักรยานได้ 200 คันขึ้นไป
8 มาตรฐานการทำที่จอดรถจักรยานให้จัดระเบียบง่ายที่ร้านไทยจราจรนำเสนอในวันนี้ ในบางประเทศได้นำบางข้อไปบัญญัติเป็นกฎหมายทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับประเทศมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการจัดที่จอดรถจักรยานแยกต่างหากจากที่จอดรถยนต์, การแบ่งที่จอดสำหรับผู้จอดนานและจอดไม่นาน หรือทางสัญจรและทางข้ามสำหรับจักรยาน ทว่าในประเทศไทยยังเป็นเพียงอุดมคติกันอยู่ บางที่อาจถึงเวลาแล้วที่เราควรปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างจริงจังทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน