คงต้องยอมรับว่า ในประเทศไทย ผู้คนใช้จักรยานกันไม่มาก อาจเพราะจักรยานไม่มีเลนตัวเองและจำเป็นต้องใช้ถนนร่วมกับรถยนต์ทำให้ไม่มีความปลอดภัยในการขี่ ด้วยเหตุนี้ที่จอดรถจักรยานจึงมีน้อยไปด้วย แต่ถ้าหากคุณอยากจะทำที่จอดรถจักรยานภายในสถานที่ของคุณแล้วละก็ ร้านไทยจราจรขอนำ 9 สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนทำที่จอดรถจักรยานมาบอกเล่าต่อคุณผู้อ่าน ดังนี้
1. ความนิยมในการใช้จักรยานในพื้นที่ ก่อนการทำที่จอดจักรยาน สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งก็คือความนิยมในการใช้จักรยานในพื้นที่นั้น ๆ ความนิยมในการใช้จักรยานจะเป็นตัวกำหนดว่า คุณจะต้องการพื้นที่สำหรับจักรยานมากน้อยแค่ไหน และควรที่จะซื้อที่จอดรถจักรยานมาวางไว้กี่ช่อง ถ้าคุณคิดจะทำที่จอดรถจักรยานให้เช่า ความนิยมในการใช้จักรยานจะเป็นตัวกำหนดว่าคุณควรจะต้องลงทุนจ้าง รปภ. ดูแลเฉพาะส่วนของลานจอดจักรยานหรือไม่ ถ้าจ้างจะต้องจ้างจำนวนกี่คน
2. พื้นที่ที่ทำเป็นลานจอด ในกรณีที่บริเวณนั้นมีความนิยมในการขี่รถจักรยานน้อย คุณอาจติดตั้งที่จอดรถจักรยานเอาไว้บนบาทวิถี ใกล้ทางเข้าอาคารก็ได้ แต่ถ้าเป็นสถานที่ที่มีความนิยมในการขี่จักรยานสูง คุณควรทำลานจอดรถจักรยานแยกต่างหาก หรือกันพื้นที่บางส่วนจากลานจอดรถยนต์ไว้เป็นลานจอดรถจักรยานโดยเฉพาะ โดยช่องจอดจักรยานควรมีความลึก 1.8 เมตร ระยะห่างทางด้านข้างของจักรยานเมื่อจอดแล้ว แต่ละคันควรห่างกัน 0.6 เมตร
3. ที่จอดจักรยานหรือแร็ค ที่จอดจักรยานหรือแร็คมีมากมายหลายขนาด หลายรูปแบบ หากบริเวณที่ติดตั้งเป็นบาทวิถีหรือเป็นการแบ่งพื้นที่ลานจอดรถยนต์มาทำเป็นลานจอดรถจักรยาน คุณควรเลือกที่จอดรถจักรยานแบบติดตั้งบนพื้น ในขณะที่ถ้าเป็นอาคารจอดรถ คุณอาจเลือกที่จอดรถจักรยานแบบติดฝาผนัง และจัดฝาผนังด้านนั้นให้เป็นที่สำหรับจอดรถจักรยานโดยเฉพาะไปเลย นอกจากนี้ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือรูปแบบของที่จอดรถจักรยาน โดยคุณควรเลือกแบบที่สามารถล็อกแกนกลางของจักรยานกับที่จอดได้ หากใช้แบบที่ล็อกล้อหน้าหรือล้อหลังอาจเกิดปัญหาจักรยานถูกขโมยโดยถอดจักรยานออกไปเหลือแต่ล้อถูกล่ามกับแร็คเอาไว้ให้ดูต่างหน้าได้
4. ควรเก็บค่าเช่าที่จอดหรือไม่ เนื่องจากในประเทศไทยมีความนิยมในการใช้จักรยานน้อย ที่จอดรถจักรยานจึงมักจะทำไว้ให้บริการฟรีมากกว่า อย่างไรก็ดีถ้าคุณอยู่ในพื้นที่ที่มีความนิยมในการจอดรถจักรยานสูง เช่น สถานที่ท่องเที่ยวที่มีจักรยานให้เช่า ก็อาจทำที่จอดรถจักรยานให้เช่าได้ โดยคุณจะต้องมีป้อมยามและไม้กระดกเพื่อทำการแจกและรับบัตรด้วย
5. ระบบรักษาความปลอดภัย ถ้าคุณตัดสินใจจะทำที่จอดรถจักรยานให้เช่า เรื่องถัดไปที่คุณจะต้องคำนึงถึงก็คือระบบรักษาความปลอดภัย โดยคุณจะต้องคิดระหว่างการจ้าง รปภ. หรือใช้กล้องวงจรปิดต่อภาพมายังมอนิเตอร์ในป้อมยาม ซึ่งหากคำนวณค่าใช้จ่ายในระยะยาวแล้วการจ้าง รปภ. จากบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า
6. การแบ่งเลนจักรยาน เพื่อความปลอดภัย ไม่ควรให้ผู้ขี่จักรยานต้องขี่บนถนนร่วมกับรถยนต์ สิ่งที่คุณจะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งก่อนการทำที่จอดรถจักรยาน คือ การแบ่งเลนสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ คุณอาจใช้เสาแบ่งเลนจักรยาน ติดเรียงกันไปบนถนน เพื่อแบ่งเส้นทางสัญจรสำหรับจักรยานออกจากทางสัญจรของรถยนต์โดยเฉพาะ หรือคุณอาจใช้กรวยจราจรแทนเสาแบ่งเลนจักรยานก็ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าบนพื้นภายในเลนจักรยาน จะต้องทาสีหรือใช้เทปติดถนนเป็นรูปจักรยานเอาไว้ รวมถึงติดป้ายเครื่องหมายจักรยานเพื่อบอกให้ผู้ขับขี่รถยนต์ทราบว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่สำหรับจักรยานโดยเฉพาะด้วย
7. ทางข้ามจักรยาน นอกจากคุณจะตัดเลนสำหรับจักรยานแล้ว ในกรณีที่ที่จอดรถจักรยานไม่ได้อยู่บนบาทวิถี หรือไม่ได้อยู่ริมถนนฝั่งเดียวกับทางเข้าอาคาร คุณควรจะจัดทางข้ามสำหรับจักรยานเอาไว้ด้วย วิธีทำทางข้ามจักรยานก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้เทปติดถนนสะท้อนแสงกันลื่นติดบนพื้นขนานไปกับทางม้าลาย โดยติดทั้งหมด 2 เส้นแต่ละเส้นให้ห่างกันพอที่จักรยานจะขับขี่สวนกันได้ ภายในช่องระหว่างเทปแต่ละเส้นให้ทาสีหรือติดเทปสัญลักษณ์รูปจักรยาน เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ทางข้ามสำหรับจักรยานแยกต่างหากจากทางม้าลายซึ่งเป็นทางข้ามสำหรับคนเดินเท้าแล้ว
และนี่คือสิ่งที่คุณควรคำนึงถึงก่อนทำที่จอดรถจักรยานภายในอาคารสถานที่ของคุณ เมื่อคุณคิดถี่ถ้วนดีแล้วก็ลงมือทำที่จอดรถจักรยานได้เลย และถ้าหากคุณคิดไม่ออกว่าจะซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ที่ไหน ร้านไทยจราจรยินดีต้อนรับทุกท่าน เพราะที่นี่มีอุปกรณ์จราจรคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นที่จอดรถจักรยานหรือแร็ค ป้อมยาม ไม้กระดก เสาแบ่งเล่นจักรยาน กรวยจราจร เทปติดถนนสะท้อนแสงกันลื่น และอื่น ๆ อีกมากมาย