ถ้าให้คุณผู้อ่านพูดถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการที่คุณเคยเห็นในสถานที่สาธารณะ คิดว่าหลายท่านน่าจะบอกได้ไม่เกิน 3 อย่าง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดให้ต้องมี และมีสิ่งอำนวยความสะดวกอีกมากมายที่กฎกระทรวงไม่ได้กำหนดไว้ แต่ควรจะมีในประเทศไทย ร้านไทยจราจรจึงขอนำ 8 สิ่งที่ประเทศไทยควรมีบนท้องถนนเพื่อคนพิการมาเล่าสู่กันฟัง
1. ป้ายช่องจอดรถคนพิการ
ป้ายช่องจอดรถคนพิการ คือป้ายสัญลักษณ์ที่ติดตั้งบนฟุตบาทบริเวณช่องจอดรถคนพิการ ป้ายช่องจอดรถคนพิการเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยควรมี เพราะช่องจอดทาสีเป็นเครื่องหมายคนพิการบนพื้นราบอาจทำให้ผู้ขับขี่ไม่อาจมองเห็นได้ในระยะไกล ในกรณีที่ลานจอดกว้าง ผู้ขับขี่อาจหาที่จอดสำหรับคนพิการไม่พบ ป้ายช่องจอดรถคนพิการที่ดีควรมีความสูงประมาณ 2.5 เมตร จะไม่เตี้ยหรือสูงเกินไป พอดีกับสายตาของผู้ขับขี่ในระยะไกลนั่นเอง
2. ทางลาด
ทางลาดเป็นสิ่งที่ต้องมีในอาคารสาธารณะและส่วนราชการ โดยกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดให้ต้องมีทางลาดในบริเวณต่างระดับ พื้นผิวจะต้องทำจากวัสดุกันลื่น มีราวกั้นหรือยกขอบสูง และต้องมีราวจับที่แข็งแรง นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ร้านไทยจราจรนำมาฝาก คือ หากทางลาดที่มีบาทวิถีเข้ามาตัดแบบหักศอก ควรมีกระจกโค้งให้คนพิการมองเห็นบาทวิถีด้านนอกด้วย โดยกระจกโค้งจะต้องอยู่ในระดับต่ำพอที่คนนั่งรถเข็นจะมองเห็น
3. พื้นผิวต่างสัมผัสสำหรับผู้พิการทางสายตา
พื้นผิวต่างสัมผัสมีไว้เพื่อให้คนพิการทางสายตาได้ทราบว่าพื้นที่มีความเปลี่ยนแปลง โดยบริเวณที่จะต้องมีผิวสัมผัสแตกต่าง คือ ทางขึ้น-ลงบันได ทางขึ้น-ลงทางลาด พื้นก่อนเข้าหรือออกประตูอาคาร ประตูห้องน้ำ และประตูลิฟต์ พื้นทางออกฉุกเฉินและทางแยกหรือทางเลี้ยวมุมอาคาร ในการก่อสร้างคุณอาจเลือกใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นสำหรับคนพิการหรือปุ่มทางเดินสำหรับคนพิการที่ทำจากสแตนเลสก็ได้
4. พื้นที่จอดรถเข็นสำหรับคนพิการ
สำหรับคนพิการบางคนที่สามารถเดินได้บ้างเล็กน้อย เช่น ผู้ที่เส้นเลือดในสมองแตก ทำให้เป็นอัมพาตครึ่งซีก อาจเดินได้ 4-5 ก้าว เขาย่อมต้องการที่จอดรถเข็นสำหรับคนพิการในบางช่วงบางโอกาส นอกจากนี้คนพิการที่เดินไม่ได้ แต่ต้องการนั่งบนเก้าอี้สาธารณะ เช่น นั่งเก้าอี้ของร้านอาหาร ก็ต้องการที่จอดรถเข็นเช่นกัน ในประเทศยุโรปหลายประเทศ มีการจัดที่นั่งสาธารณะสำหรับคนพิการและมีที่จอดรถเข็นคนพิการไว้ใกล้กับที่นั่งเหล่านั้นด้วย โดยที่นั่งจะต้องมีราวจับให้คนพิการยกตัวจากรถเข็นมานั่งบนที่นั่งสาธารณะได้สะดวก
5. ทางเลื่อนในแนวราบ
ทางเลื่อนในแนวราบจะต้องมีพื้นที่พอให้รถเข็นคนพิการเข้าไปได้ ตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดเอาไว้เลยว่าทางเลื่อนต้องมีความกว้างสุทธิ (วัดเฉพาะพื้นที่ภายใน ไม่รวมราวเลื่อน) ไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร รองรับน้ำหนักได้ 200 กิโลกรัมขึ้นไป และต้องมีพื้นผิวรองรับล้อรถเข็นและรถเข็นที่ใช้มอเตอร์
6. ราวกันตก
ราวกันตกเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้คนพิการสามารถใช้พื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย บริเวณที่ต้องใช้ราวกันตก เช่น ทางลาด และผนังของสถานทำกายภาพบำบัดสำหรับคนพิการ โดยกฎกระทรวงที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นได้กำหนดให้ราวกันตกจะต้องสูงจากพื้น 110 เซนติเมตรเป็นต้นไป ระหว่างราวกันตกจะมีช่องว่างระหว่างกันได้แค่ 10-15 เซนติเมตร ถ้าทำเป็นลูกกรง ระยะห่างของลูกกรงมีความกว้างได้แค่ 10-15 เซนติเมตรเท่านั้น
7. ทางสัญจรสำหรับคนพิการ
ประเทศไทยของเราแทบไม่มีทางสัญจรสำหรับคนพิการเลย ในขณะที่ต่างประเทศมีทางสัญจรสำหรับคนพิการแยกต่างหากจากทางสัญจรของคนปกติ สำหรับประเทศไทย ตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดไว้ว่าทางสัญจรของคนพิการจะต้องมีความกว้างสุทธิไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร กล่าวคือ ต้องกว้างพอให้รถเข็นเข้าได้
ทางสัญจรสำหรับคนพิการจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง พวกถังขยะหรือต้นไม้ ควรอยู่นอกทางสัญจรให้หมด ควรมีจุดรับส่งคนพิการขึ้นลงถนน ซึ่งต้องมีพื้นผิวต่างสัมผัสด้วย แต่ถ้ามีสิ่งกีดขวาง เช่น มีกระถางต้นไม้ กฎกระทรวงที่กล่าวไปแล้วข้างต้นก็กำหนดให้ต้องมีอุปกรณ์ล้อมรอบ ซึ่งอุปกรณ์ที่ว่านี่ หากเป็นตระแกรง ความกว้างของตระแกรงแต่ละซี่จะต้องไม่กว้างไปกว่า 1.30 x 1.30 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้เท้าหรือล้อรถเข็นเข้าไปติดได้ ถ้ามีท่อน้ำก็จะต้องมีฝาครอบระดับเดียวกับพื้นผิวทางสัญจร ถ้าต่างระดับก็จะต่างระดับได้ไม่เกิน 1.30 ซม.
7 สิ่งที่ร้านไทยจราจรนำเสนอนี้คือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการที่ประเทศไทยควรมีและต้องมีตามกฎหมาย อาคารห้างร้านใดเล็งเห็นในความสำคัญเหล่านี้ ก็อย่ามองข้าม โปรดรีบติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกทั้ง 8 เพื่อคนพิการกันเถอะ