1. ต้องเลือกพื้นที่การติดตั้งให้เหมาะสม – มาตรฐานแรกก่อนการติดตั้งคือต้องมีการเลือกพื้นที่การติดตั้งอย่างเหมาะสม โดยต้องดูว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นพื้นที่ประเภทไหน เช่น เป็นพื้นที่ทางยาวที่ต้องการติดตั้งเพื่อให้ผู้พิการรู้ว่าสามารถเดินได้ในช่องทางนี้ เป็นต้น ไม่ใช่ว่าอยากเลือกติดตรงไหนก็ได้เพราะแบบนั้นผู้พิการจะไม่สามารถรู้ว่าเขาเดินได้ถูกต้องกับทิศทางที่ต้องการจะไปหรือเปล่า
2. ลักษณะของพื้นที่จะใช้ติดตั้ง – ลักษณะของพื้นที่ใช้ติดตั้งต้องมีความคงทนแข็งแรง เพราะหากหลุดร่อนง่าย การติดตั้ง ปุ่มทางเดินคนพิการสแตนเลส เข้าไปก็แทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย พอติดไปแล้วไม่นานเมื่อพื้นหลุดออกไปก็เท่ากับว่าการบอกทางสำหรับคนพิการก็หายไปด้วย ดังนั้นต้องตรวจสอบลักษณะพื้นที่ดังกล่าวให้ดีว่าแข็งแรง ทนทาน เมื่อติดตั้งไปแล้วสามารถใช้งานได้อย่างนาวนานแน่นอน
3. ตรวจสอบคุณภาพของปุ่มทางเดินให้ดี – เมื่อเลือกซื้อปุ่มทางเดินมาเรียบร้อยให้ตรวจสอบว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการหรือไม่ โดยคุณภาพมาตรฐานของปุ่มประเภทแสตนเลสคือต้องทำจากสแตนเลส 304 เพราะแข็งแรง ไม่เป็นสนิม หากไม่ใช่เกรดนี้อาจทำให้งานออกมาไม่ดีพอ คุณภาพของงานที่ได้ต่ำจนกลายเป็นงานที่ไม่มีประสิทธิภาพไปเลยก็ได้
4. เมื่อเจาะน็อตเพื่อยึดลงไปต้องให้ระดับความลึกพอดี – การเจาะน็อตเพื่อใส่ตัวปุ่มทางเดินนี้ลงไปต้องมีขนาดความยาวพอดีคือให้เหลือแค่หัวด้านบนเท่านั้น สมมุติว่าตัวน็อตมีความยาว 5 mm. ก็ต้องเจาะรูให้ลึก 5 mm. เช่นกัน หากเจาะไม่ถึงก็ใส่เข้าไปได้ไม่เต็มแท่ง กลายเป็นทางสะดุดจนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุเอาได้ง่าย ๆ หรือถ้าเจาะลึกเกินไปก็จะทำให้หลวมและหลุดออกมาง่าย
5. วัดขนาดพื้นที่ในการติดตั้งให้ดี – ต้องมีการวัดขนาดพื้นที่ที่จะใช้ติดตั้งปุ่มทางเดินนี้ด้วยว่ามีความกว้างเท่าไหร่ เนื่องจากผู้พิการแต่ละคนรูปร่างไม่เท่ากัน ลักษณะท่าทางการเดินไม่เหมือนกัน ดังนั้นพื้นที่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้พวกเขาสัมผัสได้ถึงช่องทางเดินจนสุดเส้นทาง นอกจากความกว้างแล้วความยาวของพื้นที่ก็ต้องทำจนสุดด้วย ไม่ใช่ทำแล้วปล่อยค้างเอาไว้ไม่ทำต่อให้เสร็จ
6. เลือกติดตั้งประเภทปุ่มให้ถูกตามความหมาย – หากมีการติดตั้งประเภทปุ่มเป็นแนวนอนไปเรื่อย ๆ หมายถึงสามารถเดินไปตามเส้นทางนั้นได้ตลอด ส่วนรอยนูนจุดจะใช้ติดตั้งเพื่อบอกจุดสิ้นสุด เรื่องนี้สำคัญจริง ๆ เพราะถ้าหากติดตั้งผิด นั่นหมายถึงผู้พิการอาจเดินผิดจนเกิดอุบัติเหตุได้ เมื่อเป็นเช่นนี้พอรู้ความหมายแล้วก็อย่าติดผิดเป็นอันขาด คนทั่วไปอาจมองเป็นเรื่องเล็กแต่สำหรับคนพิการมันคือเรื่องซีเรียสของพวกเขามาก
7. เมื่อติดตั้งแล้วต้องมีการทดสอบใช้งาน – เมื่อทำการติดตั้ง ปุ่มทางเดินคนพิการสแตนเลส เรียบร้อยแล้ว ต้องมีการทดสอบด้วยว่าปุ่มที่ติดตั้งลงไปมีความแข็งแรง ทนทาน สามารถใช้งานได้ ไม่ใช่ติดตั้งแล้วก็ปล่อยผ่านไปไม่ได้สนใจว่าคุณภาพงานที่ออกมาจะเป็นอย่างไร หากบางจุดติดได้ไม่ดีพอก็อาจทำให้หลุดและกลายเป็นรูโหว่จนทำให้ผู้พิการที่ใช้งานเกิดความสับสนขึ้นได้
8. หากพบว่าชิ้นไหนยังไม่ดีก็ให้รีบแก้ไข – เมื่อทดสอบการใช้งานเรียบร้อยแล้วพบว่าบางปุ่มยังไม่แน่นมากพอหรือติดตั้งได้ไม่ดีพอก็รีบจัดการแก้ไขให้เรียบร้อยจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลังเมื่อคนพิการต้องมาใช้งานจริง
9. หากติดตั้งตามบันไดหรือจุดสิ้นสุดทางต้องติดตั้งให้ครบทั้งแถบ – เนื่องจากการติดตั้งบริเวณนี้เป็นการติดตั้งที่สำคัญ หากผู้พิการสัมผัสไม่ได้แล้วเดินต่อไปอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันขึ้น ดังนั้นพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีอยู่เท่าไหร่ก็ต้องติดตั้งให้เต็มพื้นที่ อย่าคิดเว้นว่างเอาไว้จุดไหนแค่จุดเดียวเพียงอันขาด ทำนองความคิดว่าติดตั้งเยอะขนาดนี้แล้วคงไม่มีใครเดินมาริม ๆ นี้หรอก เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอโดยที่เราไม่คาดคิด
10. ติดตั้งให้สวยงามด้วย – การติดตั้งปุ่มทางเดินไม่ใช่แค่ติดตั้งเพื่อการใช้ประโยชน์เพียงอย่างเดียว หากมีการติดตั้งให้สวยงามก็จะทำให้คนที่เดินผ่านไปมาได้เห็นและรู้สึกประทับใจกับการทำงานที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน บางครั้งอาจกลายเป็นจุดน่าสนใจของพื้นที่บริเวณนั้นไปอีกด้วยความแปลกใหม่ ความสะดุดตาที่ไม่ใช่จะหากันได้ง่าย ๆ บนท้องถนนทั่วไป
Block "content-bottom" not found