มาตรฐานการติดตั้งทางเท้า สำหรับ คน พิการ

              เนื่องจากกฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. ๒๕๕๖ ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้บาทวิถีของทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทานต้องมีทางเท้าสำหรับคนพิการ ร้านไทยจราจรจึงขอนำมาตรฐานการติดตั้งทางเท้าสำหรับคนพิการมาเล่าสู่กันฟัง

พื้นทางเท้า

               กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่กล่าวไปข้างต้นได้กำหนดมาตรฐานทางเท้าคนพิการเอาไว้ว่าจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร กล่าวคือกว้างพอที่รถเข็นคนพิการจะเข้าได้อย่างสบาย ๆ นอกจากนี้พื้นจะต้องเรียบแต่ไม่ลื่น ควรมีพื้นผิวที่ทำให้เกิดแรงเสียดทานได้
             หากพื้นทางเท้าที่สร้างเสร็จแล้วลื่นเกินไป มีแรงเสียดทานน้อย ย่อมผิดกฎกระทรวงดังกล่าวและอาจถูกสั่งให้รื้อถอนได้ แต่คุณอาจแก้ปัญหานี้ได้ง่าย ๆ ด้วยการติดเทปกันลื่น เพราะตัวเทปจะช่วยเพิ่มแรงเสียดทานระหว่างพื้นกับล้อรถเข็นคนพิการ เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นอีกด้วย

ทางลาด

            ตามกฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนดให้ต้องมีทางลาดจากทางเท้าสู่พื้นถนน หรือบริเวณทางข้ามถนน (ทางม้าลาย) และทางเข้าซอย พื้นผิวจากทางเท้าสู่ทางลาดและจากทางลาดลงสู่พื้นถนนจะต้องเรียบไม่ขรุขระเกินไปและต้องไม่เรียบจนไม่มีแรงเสียดทานด้วย
สำหรับมาตรฐานทางลาดนั้น กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้เมื่อวางเทียบกับกับพื้นถนน (ด้านเตี้ยสุดของทางลาด) ต้องมีความลาดชัดไม่มากไปกว่า 1:3 ในแนวตั้งต่อแนวราบ เมื่อเทียบกับทางเท้า (ด้านสูงสุดของทางลาด) ต้องมีความลาดชันไม่มากไปกว่า 1:8 ในแนวตั้งแต่แนวราบ นอกจากนี้ทางลาดต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 ซม. มีความยาวสุทธิเกินกว่า 120 ซม. ถ้าสั้นกว่า 120 ซม. จะต้องมีระบบป้องกันไม่ให้รถเข็นตกจากทางลาด เช่น ราวจับ ราวกันตก เป็นต้น
             ในทางสถาปนิก มาตรฐานทางลาดแตกต่างจากในกฎหมาย กล่าวคือ ความกว้างสุทธิไม่ควรน้อยกว่า 0.90 เมตร ในกรณีที่มีผู้เข็นให้ต้องมีความลาดชันไม่เกิน 1:12 แต่ถ้าคนพิการเข็นรถเอง ทางลาดต้องมีความลาดชันไม่เกิน 1:20

ป้ายเขตคนข้ามและทางม้าลาย

              จากทางเดินคนพิการลงสู่พื้นถนนในบริเวณทางข้าม ควรมีป้ายเขตคนข้ามและทางม้าลาย โดยป้ายเขตคนข้ามควรมีไฟกระพริบเพื่อทำให้รถที่สัญจรไปมามองเห็นได้ในระยะไกล และทราบว่าเป็นป้ายทางข้ามไม่ใช่ป้ายจราจรธรรมดา ๆ เมื่อมีระบบไฟกระพริบก็ต้องมีแหล่งพลังงานในป้ายด้วย ที่ร้านไทยจราจรเรามีป้ายเขตคนข้ามพร้อมแผงโซล่าเซลล์จำหน่าย หมดปัญหาการเปลี่ยนแบตเตอรี่เพราะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับทางม้าลายถ้าไม่ต้องการทาสีทับบ่อย ๆ คุณอาจติดตั้งเป็นยางทางม้าลายสำเร็จรูปก็ได้

พื้นผิวต่างสัมผัส

               ในการติดตั้งทางเท้าสำหรับคนพิการที่มีมาตรฐานจะต้องปูกระเบื้องทางเดินคนตาบอดด้วย โดยกระเบื้องดังกล่าวมีสองลาย ลายทางคือการบอกว่าเป็นทางเดินหรือให้เดินไปข้างหน้า ส่วนลายปุ่มหรือลายจุดเป็นการบ่งบอกว่าให้หยุด ในกฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนดมาตรฐานเอาไว้ว่าจะต้องมีพื้นผิวต่างสัมผัสที่เป็นลายปุ่มบริเวณจุดรับ-ส่งคนพิการ บริเวณที่มีสิ่งกีดขวาง บริเวณที่มีการหักมุม รวมถึงบริเวณก่อนถึงทางแยก ทางลาดและทางต่างระดับ

ราวกันตก

                   กฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดให้ต้องมีราวกันตกในบริเวณที่เป็นอันตรายเช่น ทางลาด หรือขอบทางเท้า และต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการลื่นไถลของรถเข็น สำหรับอุปกรณ์ป้องกันการลื่นไถลนี้ อาจติดตั้งเป็นยางชะลอความเร็วสำหรับทางลาดที่มีความชันสูงและมีความยาวน้อย
                  มาตรฐานการติดตั้งทางเท้าสำหรับคนพิการนี้แม้ตามกฎหมายจะกำหนดให้เฉพาะทางหลวงเท่านั้นที่ต้องมี แต่ร้านไทยจราจรหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพื้นที่ของเอกชน เช่น ในลานจอดรถ จะยึดมาตรฐานเดียวกันนี้ เพื่อความสะดวกปลอดภัยของคนพิการที่เข้ามาใช้บริการพื้นที่ของคุณ

Block "content-bottom" not found