ปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรภายในโรงงานอุตสาหกรรมนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะระบบไฟฟ้าภายในพื้นที่โรงงานนั้นมีขนาดใหญ่กว่าบ้านเรือนที่พักอาศัยมาก อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในโรงงานแต่ละชิ้นก็มักจะต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าครั้งละมาก ๆ เพื่อให้เครื่องเดินหน้าไปได้ ทำให้เมื่อเกิดกรณีไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นภายในโรงงานอุตสาหกรรมก็มักกลายเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลได้ ร้านไทยจราจร จึงขอแนะนำวิธีป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในโรงงานอุตสาหกรรมตามรายละเอียดต่อไปนี้
1. การตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า เพื่อให้การควบคุมระบบไฟฟ้าภายในโรงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขอแนะนำให้จัดทำเป็นผังเส้นทางของกระแสไฟฟ้าภายในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า ระบบการวางสายไฟ และเส้นทางของสายดิน ซึ่งหากทำให้ละเอียดและครบถ้วนก็จะทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ละเอียดและครบถ้วนมากขึ้น เป็นการลดโอกาสการเกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรที่มีประสิทธิภาพ
2. การตรวจสอบระบบแสงสว่างภายในโรงงาน ระบบแสงสว่างในโรงงานก็นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะต้องตรวจสอบให้ดี ทั้งระบบแสงสว่างทั่วไป และ ไฟฉุกเฉิน โดยขั้วของหลอดไฟแสงสว่างเหล่านี้จะต้องแน่นสนิท ไม่มีเสียงดังจากบัลลาสต์ หรือแบตเตอรี่ที่ให้พลังงานไฟฟ้าสำรอง ไม่มีลักษณะของไฟที่กระพริบหรือทำงานที่ผิดปกติ ซึ่งหากตรวจพบจะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขทันที
3. การตรวจสอบระบบฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนจะต้องได้รับการห่อหุ้มในบริเวณที่เสี่ยงจะเกิดความร้อนสะสมอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณเครื่องปรับอากาศ สายไฟที่ใช้พลังงานสูง หรือสายไฟที่อยู่ใกล้เปลวความร้อน และหากครบอายุการใช้งานแล้วฉนวนเหล่านี้จะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามกำหนด เพื่อให้มั่นใจว่าฉนวนกันความร้อนเหล่านี้จะยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน
4. การดูแลรักษาตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า เนื่องจากการใช้งานไฟฟ้าภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น มีปริมาณสายไฟ และแผงวงจรควบคุมระบบไฟฟ้ามากกว่าไฟฟ้าในบ้านเรือนเป็นอย่างมาก โรงงานอุตสาหกรรมส่วนมากจึงต้องนำตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่มาใช้งาน โดยมีลักษณะคล้ายกับ ตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร แต่บางแห่งตู้ควบคุมนี้ก็อาจมีขนาดใหญ่มาก ขึ้นอยู่กับปริมาณ และลักษณะของเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้า และเพราะตู้ควบคุมไฟฟ้าเหล่านี้ถือเป็นจุดใหญ่ในการรวบรวมวงจรไฟฟ้าภายในโรงงานทั้งหมด พื้นที่บริเวณดังกล่าวจึงควรได้รับการควบคุมเป็นพิเศษ มีการถ่ายเทความร้อนที่ดีเพื่อป้องกันความร้อนสะสม และได้รับการตรวจสอบสภาพการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดอายุการใช้งาน
5. การเลือกใช้เครื่องจักรให้เหมาะสมกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน ในการนำเครื่องจักรแต่ละชนิดมาใช้งานภายในโรงงานนั้น จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบความเหมาะสมของขนาดสายไฟ กำลังของหม้อแปลงไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้าที่รองรับได้ของโรงงานนั้น ๆ เสียก่อน เพื่อให้เกิดปัญหาการใช้กำลังไฟเกิดอัตราที่นำไปสู่ปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรในภายหลังได้นั่นเอง ถือเป็นการป้องกันปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรตั้งแต่ต้นทางที่สำคัญ และจำเป็นต้องทำอย่างถี่ถ้วน
6. การติดตั้งสายดิน สายดิน คือระบบไฟฟ้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดกระแสไฟฟ้าส่วนเกินไม่ให้ลัดเข้าไปในวงจร จนเกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้ ดังนั้นในการติดตั้งหรือใช้งานเครื่องจักร รวมถึงปลั๊กไฟทุก ๆ แห่งภายในโรงงานอุตสาหกรรมควรดำเนินการติดตั้งสายดินเอาไว้ด้วย และต้องมีการตรวจสอบประจุไฟฟ้าของสายดินด้วยว่ายังสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่
7. การควบคุมการทำงานที่ทำให้เกิดประกายไฟ การทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น มักหลีกเลี่ยงที่จะเกิดประกายไฟ หรือเปลวความร้อนได้ยาก ผู้ปฏิบัติงานเหล่านี้จึงควรได้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น หน้ากากป้องกันฝุ่น N95 แว่นตาป้องกันสะเก็ดไฟ หรือถุงมือป้องกันความร้อน เพื่อป้องกันอันตรายจากการทำงาน และในส่วนของการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรนั้นคือการนำวัสดุหรืออุปกรณ์อย่างฉนวนมาป้องกันไม่ให้เปลวไฟหรือความร้อนต่าง ๆ เหล่านั้นมีโอกาสสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
8. การแยกพื้นที่จัดเก็บสารไวไฟ หรือวัตถุไวไฟออกจากพื้นที่อื่น ๆ สารไวไฟไม่ว่าจะอยู่ในรูปของก๊าซ ของเหลว หรือของแข็งก็ล้วนแต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายขึ้นภายในโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่าย ดังนั้นหากจัดเก็บภายในพื้นที่การทำงานทั่วไปที่เสี่ยงในการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ก็ยิ่งง่ายที่จะส่งผลเสียต่อโรงงานได้ พื้นที่ในการจัดเก็บสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้ จึงควรมีลักษณะที่เฉพาะ มีระบบการถ่ายเทอากาศที่ดี ผนัง พื้นและเพดานห้องควรมีลักษณะที่ทนไฟเพื่อลดโอกาสความเสียหายที่มาจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรให้ลดน้อยลง
ด้วยวิธีการดังที่กล่าวมานี้ หากโรงงานอุตสาหกรรมใดนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ร้านไทยจราจร ก็เชื่อว่าจะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ